Utilities Sector - หนึ่งในปัจจัยบวก (26 ก.ค. 65)

Utilities Sector - หนึ่งในปัจจัยบวก (26 ก.ค. 65)

กฟผ. แบกรับภาระ 8.3 หมื่นล้านบาทจากราคาก๊าซที่แพง โดย กฟผ. เสนอให้ปรับขึ้นค่า Ft อีก 2.122 บาท/kwh (เป็น 2.3697) เพื่อปลดภาระดังกล่าวออกไป เราคิดว่ากรณีศึกษาที่ 3 (ปรับขึ้นค่า Ft อีก 0.6866 บาท) มีโอกาสมากที่สุด ซึ่งจะได้ข้อสรุปภายในเดือนกรกฎาคม

เราคาดว่า BGRIM และ GPSC จะได้อานิสงส์มากที่สุด แต่กำไร/margin จะยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติพลังงานอย่างมาก

 

กฟผ. แบกรับภาระ 8.3 หมื่นล้านบาทจากราคาก๊าซที่แพง

วิกฤติพลังงานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงแพงขึ้น และทำให้ ต้นทุนเชื้อเพลิงกับค่าไฟฟ้าที่คิดจากผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรมไม่สอดคล้องกัน โดย กกพ. ได้ปรับขึ้นค่า Ft อีก 0.1671 บาท/kwh (เป็น 0.0139) สำหรับช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. 22 และปรับขึ้นอีก 0.2338 บาท/kwh (เป็น 0.2477) สำหรับช่วงเดือนพ.ค.-ส.ค. 22 แต่ไม่ทันกับราคาก๊าซที่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ อุปสงค์ที่ฟื้นตัวขึ้นจาก COVID-19 ทำให้ กฟผ. ต้องนำเข้า LNG ผ่านตลาด spot เพื่อชดเชยก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ลดลง ส่งผลให้ราคาก๊าซเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 235-315 บาท/mmbtu ในช่วงเดือนก.ย.-ธ.ค. 21 เป็น 384-450 บาท/mmbtu ในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย. 22 เงินบาทที่อ่อนค่ายังดันให้ราคา LNG นำเข้าแพงขึ้นไปอีก ต้นทุนเชื้อเพลิงจึงเพิ่มขึ้นมากกว่าค่า Ft ในช่วงเดือนก.ย.-ธ.ค. 21 และ ม.ค.-เม.ย. 22 (ดู Exhibit 5) ทำให้ กฟผ. ต้องแบกรับภาระ 8.3 หมื่นล้านบาท หรือ 1.4354 บาท/kwh

Utilities Sector - หนึ่งในปัจจัยบวก (26 ก.ค. 65)

 

 

กฟผ. เสนอให้ปรับขึ้นค่า Ft อีก 2.122 บาท/kwh (เป็น 2.3697) เพื่อปลดภาระ

ข้อเสนอของ กฟผ. ค่า Ft ในช่วงเดือนก.ย.-ธ.ค. 22 จะเพิ่มขึ้นอีก 2.122 บาท/kwh (เป็น 2.3697) ตามต้นทุนก๊าซที่เพิ่มขึ้น กกพ. คาดสัดส่วนของก๊าซจากอ่าวไทยจะลดลงเหลือ 39% ของปริมาณก๊าซทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ และสัดส่วนก๊าซที่นำเข้าจากเมียนมาร์จะลดลงเหลือ 19% ในเดือนพ.ย. จาก 43% และ 22% ในเดือนมิ.ย. 22 ราคา LNG ในตลาด spot ที่อยู่ในระดับสูงที่ 900 บาท/mmbtu ทำให้ราคาก๊าซในช่วงเดือนก.ย.-ธ.ค. 22 เพิ่มขึ้นเป็น 420-487/mmbtu โดยค่า Ft ข้างต้นอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ 34.40 บาท/USD และเนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงไปอีกเป็น 36.8 บาท/USD ในขณะที่สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังไม่มีทีท่าจะจบลง ราคา LNG จะยังสูงต่อตลอดปีนี้

 

กรณีศึกษาที่ 3 (ปรับขึ้นค่า Ft อีก 0.6866 บาท) มีโอกาสมากที่สุด

เราคิดว่า กกพ. ไม่น่าจะอนุมัติให้ขึ้นค่า Ft เต็มที่ 2.122 บาท/kwh เพราะจะทำให้ค่าไฟฟ้าที่คิดจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นถึง 53% เป็น 6.15 บาท/kwh ทั้งนี้ กกพ. ได้จัดทำกรณีศึกษาของการปรับขึ้นค่า Ft สำหรับช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2022 เอาไว้สามกรณี (ดู Exhibit 6) โดยเป็นการศึกษากรณีการปรับค่า Ft ขึ้น 1.1436 บาท, 0.9151 บาท และ 0.6866 บาท ซึ่งหาก กกพ. ตัดสินใจขึ้นค่า Ft ตามกรณีศึกษา 1-3 จะทำให้ กฟผ. ต้องแบกรับภาระ 5.66 หมื่นล้านบาท, 6.98 หมื่นล้านบาท และ 8.30 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ (ดู Exhibit 7)

Utilities Sector - หนึ่งในปัจจัยบวก (26 ก.ค. 65)

Utilities Sector - หนึ่งในปัจจัยบวก (26 ก.ค. 65)

 

 

 

BGRIM และ GPSC ได้อานิสงส์ แต่กำไรยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติพลังงาน

เราเชื่อว่า margin ของผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า SPP อย่างเช่น BGRIM และ GPSC จะเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากการปรับขึ้นค่า Ft ใน 2H22 แต่ margin จะเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และยังไม่พอที่จะชดเชยต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจาก BGRIM และ GPSC ใช้ ก๊าซ 75% และ 51% ของกำลังการผลิตไฟฟ้า เราคาดว่าค่า Ft ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 สตางค์ จะทำให้กำไรสุทธิของ BGRIM เพิ่มขึ้นปีละ 21 ล้านบาท และของ GPSC เพิ่มขึ้นปีละ 63 ล้านบาท เรายังคงคำแนะนำถือ BGRIM และ GPSC