Food Sector - ใครได้ใครเสียจากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง

Food Sector - ใครได้ใครเสียจากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง

เราคาดว่าต้นทุนข้าวโพด หรือ ข้าวสาลีที่ลดลง 10% จะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นของ CPF, GFPT, SNNP และ TFM เพิ่มขึ้น 0.40-0.96% อย่างไรก็ตาม อุปทานถั่วเหลืองและข้าวโพดที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบด้านลบกับ TVO และ TWPC เพราะจะทำให้อุปสงค์สินค้าของทั้งสองบริษัทลดลง

สำหรับหุ้นในกลุ่มนี้ เราชอบ CPF (แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 31.50 บาท)


ราคา soft commodities ลดลงอย่างมาก

ราคาข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่วเหลืองในตลาดโลกลดลงมาแล้ว 38%, 25% และ 13% จากระดับสูงสุดของปี FY22 ตามลำดับ เนื่องจาก (1) การปรับขึ้นดอกเบี้บของธนาคารกลางหลัก ๆ ทั่วโลกทำให้เกิดความกังวลว่าจะทำให้เศรษฐกิจถดถอย และอุปสงค์ลดลง และ (2) อุปทานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีการประกาศออกมาจากรัสเซียและยูเครนว่าตัวแทนของทั้งสองประเทศจะลงนามในข้อตกลงที่จะกลับมาส่งออกธัญพืชจากท่าเรือที่ทะเลดำ ซึ่งถูกระงับไปตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ นอกจากนี้สหรัฐจะไม่ใช้มาตรการคว่ำบาตรการส่งออกธัญพืชและปุ๋ยจากรัสเซียเพื่อคลายความกังวลเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร  ในขณะเดียวกัน USDA คาดว่าผลผลิตถั่วเหลืองในปีเก็บเกี่ยว 2022/23 จะเพิ่มขึ้น 11% เป็น 391.4 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 2021/22 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย (ทำให้ผลผลิตจากการเพาะปลูกสูงขึ้น) ในทวีปอเมริกา

 

 

 

ต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทอาหารจะลดลง 

อาหารสัตว์เป็นต้นทุนหลักของผู้ผลิตไก่และหมู ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 55-65% ของต้นทุนการผลิตรวมของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยข้าวโพดและกากถั่วเหลืองเป็นถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์สำหรับธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของ CPF และ GFPT ในขณะที่ SNNP และ TFM ใช้แป้งสาลีเป็นวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งเมื่ออิงตามแบบจำลองของเรา ต้นทุนข้าวโพด และข้าวสาลีที่ลดลง 10% จะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 0.40-0.96%
 

รายได้จากธุรกิจการเกษตรอาจจะลดลง 

ราคาน้ำมันถั่วเหลืองอาจจะลดลงเนื่องจาก (1) อุปทานถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น และ (2) ราคาน้ำมันปาล์มลดลง นอกจากนี้ เมื่อผลผลิตและการส่งออกข้าวโพดจากยูเครนฟื้นตัวขึ้น จะทำให้อุปสงค์แป้งมัน (สินค้าแทนกันของแป้งข้าวโพด) ลดลง ดังนั้น รายได้ของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น TVO และ TWPC อาจลดลงได้

 

เราเลือก CPF เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มนี้ 

เราชอบ CPF (แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 31.50 บาท) เนื่องจากเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) อัตรากำไรขั้นต้นจะดีขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง (2) ราคาหมูในประเทศจะยังคงสูงต่อเนื่องในปี FY22F-23F เนื่องจากวัฎจักรการเลี้ยงหมูที่ยาว (300 วัน) และ (3) ราคาหมูในจีนฟื้นตัวขึ้น