ลุ้นรับบาลอัดงบต่อมาตรการเพิ่ม หวังพยุงค่าไฟประชาชน

ลุ้นรับบาลอัดงบต่อมาตรการเพิ่ม หวังพยุงค่าไฟประชาชน

ลุ้นรับบาลจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อมาต่อมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยูอาศัย-กิจการขนาดเล็กที่มียอดใช้ไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือนที่จะหมดโปรสิ้นเดือน ก.ค. 65

ทั่วโลกต้องประสบกับปัญหาภาระค่าพลังงานที่พุ่งสูงมากขึ้น ภายหลังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นผลกระทบมาจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณการผลิตไม่ทันต่อความต้องการ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างสงครามรัสเซีย-ยูเครน เกิดวิกฤตซ้อนวิกฤต เมื่อราคาน้ำมันทั่วโลกขยับตัวสูงขึ้น ราคาพลังงานอื่นๆ ก็พุ่งตามไปด้วย โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่นำมาผลิตไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติถึง 35% โดยราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2564 ราคาอยู่ที่ 18.40 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ต่อมาไตรมาสที่ 1/2565 ราคาขยับมาที่ 30.76 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 28.83 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ใช้งบประมาณตั้งแต่เกิดโควิด-19 พยุงราคาค่าไฟฟ้าไปแล้วกว่า 100,000 ล้านบาท โดยการปรับลดและตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ตลอดจนลดค่าไฟฟ้าให้กับครัวเรือน และกิจการขนาดเล็กรวม 22 ล้านราย และคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้ารวม 8 ล้านราย โดยดูแลผู้ที่ใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 300 หน่วยต่อเดือนที่ถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง 80% ของครัวเรือนทั้งประเทศให้ยังสามารถใช้ไฟฟ้าที่ไม่เพิ่มขึ้นจากรอบเดือนไตรมาสที่ 1/2565 จนถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยืนยันว่าจะยังคงช่วยเหลือราคาพลังงานที่เน้นเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเปราบางอย่างต่อเนื่อง ด้วยการขยายมาตรการดูแลค่าไฟฟ้าสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยตามบ้านโดยลดค่า Ft ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยูอาศัยและกิจการขนาดเล็กที่มียอดใช้ไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน (พ.ค.-ก.ค. 2565) และมีแนวโน้มที่จะดูแลต่อไปตามนโยบายรัฐบาลควบคู่กับเร่งมาตการลดต้นทุนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ

นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลจะยังคงให้การช่วยเหลือประชาชนเปราะบางอย่างต่อเนื่อง จึงอยากให้มั่นใจว่าหากบ้านไหนใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน จะยังคงจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตราเดิมแน่นอน ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการร่วมมือร่วมใจกันประหยัดพลังงาน เพราะนอกจากจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้วยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของครอบครัวตนเองด้วย

ทั้งนี้ การประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2565 สำนักงานกกพ.ได้มีมติให้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพ.ค. – ส.ค. 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กกพ. อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวน และปรับเพิ่มค่าเอฟที งวดเดือน ก.ย.- ธ.ค. 2565 โดยมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100  สตางค์ต่อหน่วย และอาจทำให้ค่าไฟฟ้าต้องปรับเพิ่มสูงถึงเกือบ 5 บาทต่อหน่วย ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ.จะประกาศค่าเอฟทีงวดดังกล่าวอย่างเป็นทางการประมาณปลายเดือนก.ค. หรือต้นส.ค. 2565

สำหรับปัจจัยที่ค่าเอฟทีงวดใหม่สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นำเข้าเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ยังมีแนวโน้มราคาแพงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน.ค. 2565 จนถึงปัจจุบัน โดยราคาLNG นำเข้าตอนนี้พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนพุ่งสูงแตะระดับ 30 กว่าดอลลาร์ต่อล้านบีทียูแล้ว จากเดิมอยู่ที่ 20 กว่าพดอลาร์ต่อล้านบีทียู รวมถึงภาระต้นทุนจากการอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยประมาณการค่าเฉลี่ยเดือนพ.ค. 2565 อยู่ที่ 34.40 บาทต่อดอลลาร์ ถือเป็นปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม

ทั้งนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แบกรับแทนประชาชนอีกกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งการดูแลความมั่นคงทางด้านไฟฟ้าในการประกาศค่าเอฟทีตั้งแต่ต้นปี 2565 นั้น กกพ. ได้ทยอยปรับเพิ่มค่าเอฟทีโดยขอให้ กฟผ. แบกรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแทนประชาชนเป็นจำนวนเงินที่สูงดังกล่าว ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อเสริมสภาพคล่องจำนวน 25,000 ล้านบาท ในช่วงที่มีการแบกรับภาระต้นทุนเชื้อเพลิง และหากให้ กฟผ.แบกรับภาระต้นทุนต่อโดยไม่มีการทยอยคืนให้ผ่านการปรับเพิ่มค่าเอฟทีก็อาจทำให้ กฟผ. ต้องแบกรับค่าเอฟ