Bank Sector ประมาณการ 2Q65F: ตลาดทุนผันผวนกดดันกำไร

Bank Sector ประมาณการ 2Q65F: ตลาดทุนผันผวนกดดันกำไร

เราคาดว่ากำไรสุทธิรวมใน 2Q65 ของกลุ่มธนาคารที่เราศึกษาอยู่จะชะลอตัวลงเนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนลดลง และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อลดลง โดยเราคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียม และค่าบริการสุทธิของ SCB, KTB, TISCO และ KKP จะลดลง 7% YoY

ในขณะที่ของ BBL และ KBANK จะลดลง 4-5% YoY ทั้งนี้ เราคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยหนุนให้ yield และ margin ของธนาคารเพิ่มขึ้น ดังนั้น เราจึงคาดว่า NII จะขยายตัวอย่างช้า ๆ ตามสินเชื่อของธนาคารใหญ่ (BBL, KTB, SCB) ที่ทรงตัว QoQ และเพิ่มขึ้น 7% YoY

 

รายได้ค่าธรรมเนียมจากตลาดทุนยังอ่อนแอ

รายได้จากตลาดทุนของ KBANK (ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์, ค่าธรรมเนียม AM และค่าธรรมเนียม IB) คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 35% ของรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งหมด ในขณะที่ของ SCB คิดเป็น ~25%ของ TTB คิดเป็น 15% ในขณะที่ของ BBL และ KTB <10% ในขณะเดียวกัน ของ TISCO คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดที่ 44% ของรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งหมด

 

กำไรจากธุรกิจหลักทรงตัว QoQ เพิ่มขึ้น 3% YoY ใน 2Q65F และเพิ่มขึ้น 3% ใน 1H65F

เนื่องจากรายได้จากธุรกิจหลักอ่อนแอ เราจึงคาดว่าธนาคารส่วนใหญ่จะหันมาบีบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยเฉพาะ KBANK, BBL, TISCO และ KKP โดยคาดว่ากำไรจากธุรกิจหลัก (ไม่รวมการตั้งสำรอง และการบันทึกมูลค่าการลงทุนแบบ MTM) จะเพิ่มขึ้น 3% YoY ใน 2Q65F และใน 1H65F ซึ่งคาดว่าของ BBL จะเพิ่มขึ้น 16% และของ KKP จะเพิ่มขึ้น 18% จากฐานที่ต่ำใน 2Q64

 

 

 

การขาย NPL ผ่าน JV-AMC ช่วยให้คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น

เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่เตรียมตัว write-off และขายหนี้เสียออกไปตั้งแต่ 4Q64 และโยกหนี้เสียออกไปที่ AMC/JV-AMC ในขณะที่ AMC ต่าง ๆ ก็แข่งกันซื้อสินทรัพย์จากธนาคาร ทำให้ธนาคารสามารถขายหนี้เสียออกไปได้ราคาดี ดังนั้น เราจึงใช้สมมติฐานว่า credit cost จะทรงตัว QoQ แต่ลดลงจากปี 2564 ประมาณ 17%

 

ความเสี่ยงของกำไรจะมาจากผลกำไร/ขาดทุนจากการบันทึกมูลค่าการลงทุนแบบ MTM

ตลาดพันธบัตรที่ผันผวนหนัก และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นอย่างมากในช่วง 2Q65 อาจจะทำให้ธนาคารต้องบันทึกมูลค่าการลงทุนแบบ MTM ในงบกำไรขาดทุน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% ของพอร์ตการลงทุน โดยธนาคารที่มีสัดส่วนสูงที่สุดในกลุ่มธนาคารใหญ่คือ SCB ที่ 26% ส่วนของ KKP อยู่ที่ 54% ทั้งนี้ ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นที่ผันผวนอาจจะทำให้ธนาคารบันทึกผลขาดทุนจาก MTM ได้ ดังนั้น เราจึงปรับลดประมาณการกำไรจากรายงาน FVPL ของการลงทุนของธนาคารส่วนใหญ่ลงจากเดิมมากกว่าครึ่ง โดยเฉพาะ BBL, SCB และ KKP