อ่อนตัว แนะซื้อ MAJOR BE8 EKH (30 มิ.ย. 65)

อ่อนตัว แนะซื้อ MAJOR BE8 EKH (30 มิ.ย. 65)

คาดดัชนีฯ อ่อนตัว แนวต้าน 1,596 / 1,606 จุด แนวรับ 1,581 (EMA 10 วัน) / 1,575 จุด แนะนำ ซื้อ MAJOR BE8 EKH ทางเทคนิค การปิดลบวานนี้ ทำให้ดัชนีฯ เกิด Reversal Pattern ซึ่งหากวันนี้ปิดลบอีกหนึ่งวัน จะเป็นการยืนยันการจบรอบรีบาวนด์

และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงตามแนวโน้มหลัก ซึ่งยังคงเป็นทิศทางขาลงอยู่ โมเมนตัมลบ คือ 1Q22 US GDP Growth ออกมา -1.6% QoQ ต่ำกว่าที่คาดที่ -1.5% QoQ ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิด Recession เพิ่มขึ้น สำหรับประเด็นที่ต้องติตตามวันนี้ ได้แก่ ผลประชุมกลุ่มโอเปคพลัส การทำราคาปิดก่อนสิ้นงวดบัญชี 2Q22E รายงานภาคการผลิตจีนเดือน มิ.ย. รายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯ PCE / Core PCE Price Index เดือน พ.ค.

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT MEGA MINT KTB MAJOR (ซื้อ JMART และ CPN) และพอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH BAFS SAT WICE PORT TOG (ซื้อ DRT)

+ Window Dressing: COM7 ACE HMPRO LH AMATA BAM CRC TIDLOR RS SINGER BEC WHA GUNKUL BPP RATCH PLANB JMT RBF TTB STEC CPALL

+ 2Q22E Earnings Play: TIDLOR PTT TOP CPALL CRC BEC KCE MINT BDMS VGI SPRC BEM MAJOR PTTEP และ OSP

+ กลุ่มได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาท: TFG GFPT ASIAN TWPC NER SAPPE KCE

+/- เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด: -กลุ่ม Inflation Hedging (Commodities): PTTEP TOP BANPU AGE KSL +กลุ่ม Anti-Commodities Play: SCC SCGP TASCO GULF GPSC KCE DELTA

+/- COVID-19 สายพันธุ์ BA.4, BA.5: +กลุ่มกำรแพทย์ กลุ่มฉีดวัคซีนและเครื่องมือแพทย์: BCH CHG IMH STGT -กลุ่มเปิดเมืองเปิดประเทศ: CRC CPALL MAKRO HMPRO BH BDMS SHR SPA MINT ERW AOT

+/- SET50 / SET100 Index (มีผลวันที่ 1 ก.ค.-30 ธ.ค. 2022): +JMART JMT BLA (SET50) FORTH ONEE PSL TIPH (SET100) –RATCH STGT COM7 (SET50) BPP RS SIRI TVO (SET100)

 

ปัจจัยลบ

- USA: 1Q22 GDP ครั้งสุดท้าย หดตัว -1.6% QoQ แย่กว่าที่ Consensus คาดที่ -1.5% QoQ ขณะที่ประธานเฟดเน้นย้ำในงาน ECB Forum วานนี้ว่า ยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้จะกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ตาม (เพิ่มความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเกิด Recession สูงขึ้น)

 

ปัจจัยบวก

+ Window Dressing: แรงซื้อเก็งกำไรการทำ Window Dressing ของนักลงทุนสถาบันในประเทศก่อนสิ้นงวดบัญชี 2Q22 คาดเป็นโมเมนตัมบวกระยะสั้น โดยคาดว่าจะซื้อหุ้นที่ร่วงแรง แต่กำไร 2Q22E เติบโตสูง รวมถึงยังคงมี Upside สูงกว่า 15% (ดูรายชื่อหุ้นในกลยุทธ์การลงทุน)

 

ประเด็นสำคัญ

          - China: NBS Manufacturing PMI เดือน มิ.ย. คาดที่ 50.5 (Vs เดือน พ.ค. ที่ 49.6)

          - UK: 1Q22E GDP คาดขยายตัว 8.7% YoY และ 0.8% QoQ

          - USA: Personal Income และ Personal Spending เดือน พ.ค. คาดขยายตัว 0.5% MoM และ 0.4% ตามลำดับ

          - USA: PCE Price Index เดือน พ.ค. คาด +6.7% YoY, +0.9% MoM (Vs เดือน เม.ย. +6.3% YoY และ +0.2% MoM ตามลำดับ)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบตามตลาดภูมิภาค: ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดตลาด และแกว่งตัวในแดนลบตลอดทั้งวัน ก่อนปิดตลาดที่ 1,586.18 จุด -8.29 จุด วอลุ่มซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาท นำลบโดยกลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ -1.16% กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -0.83% กลุ่มธนาคาร -0.50% กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค -0.43% หุ้นบวก >4% SELIC ICN INET WPH IRCP TMI MBAX MFEC ACC UBIS CMR SIMAT CEN หุ้นลบ >4% RCL FORTH FSMART WICE AGE TH PRG BWG CPR MOONG PLAT CPL AFC PSG

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ: DJIA +0.27% S&P500 -0.07% NASDAQ -0.03% ปิดผสมผสาน หลังนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงก็ตาม ส่วนหุ้นยุโรปปิดลบ CAC40 -0.90% DAX -1.73% FTSE -0.15% นักลงทุนวิตกเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น หลังประธาน ECB และประธานเฟด ส่งสัญญำณเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ

 

 

- น้ำมันปิดและทองคำปิดลบ: WTI -USD1.98 ปิดที่ USD109.78/บาร์เรล Brent -USD1.72 ปิดที่ USD116.26/บาร์เรล หลังสหรัฐฯ เปิดเผยสต็อกน้ำมันเบนซินและน้ำมันกลั่นพุ่งขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสวนทางกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยสต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น +2.6 ล้านบาร์เรล (Vs คาด -4.5 แสนบาร์เรล) ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล (Vs คาด -5.2 แสนบาร์เรล) ส่วนราคาทองคำปิดลบ -USD3.70 ปิดที่ USD1,817.50/ออนซ์ จากการแข็งค่าของสกุลเงิน USD

 

ประเด็นสำคัญ

- USA: กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ใน 1Q22 โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว 1.6% จากเดิมที่รายงานว่าหดตัวเพียง 1.4% และ 1.5% ในตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวใน 1Q22 เป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงต้นปี 2020

+ USA: นายเจอโรม พำวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวยืนยันว่า เฟดมีความมุ่งมั่นในการสกัดเงินเฟ้อ แม้การใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินจะชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ก็จะไม่สร้างความเสี่ยงที่รุนแรง โดยกล่าวว่าเฟดยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะใช้เครื่องมือทั้งหมดที่เรามีเพื่อทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลง ซึ่งการทำดังกล่าว คือ การลดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งแม้จะมีความเสี่ยง

+ OPEC+: กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) และชาติพันธมิตร หรือโอเปคพลัส เริ่มการประชุมกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมันในวานนี้ (29 มิ.ย.) และจะสิ้นสุดการประชุมในวันนี้ Consensus คาดว่าในการประชุมสัปดาห์นี้ โอเปคพลัสจะหารือกันเกี่ยวกับการยืนยันกำลังการผลิตในเดือน ส.ค. แต่จะยังไม่มีการหารือเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันในเดือน ก.ย

+ Thailand: ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2022 จะขยายตัว 2.9% ลดลงจากประมาณการเดิม (เดือน ธ.ค. 2021) ที่คาดว่าจะ ขยายตัวได้ 3.9% โดยมองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 จะฟื้นตัวได้ดีขึ้น จากแรงกระตุ้นของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังชี้ว่า กนง. สามารถเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ในเร็ว ๆ นี้ แต่ควรเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยหากมีการปรับขึ้นในทุกรอบของการประชุมกนง. ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ดอกเบี้ยนโยบายจะสามารถกลับสู่อัตราใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยปกติได้ในปี 2023 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยค่อนข้างฟื้นตัวได้ดีขึ้น

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: JMT JMART KCE BCH

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: MAJOR BE8 EKH

Derivatives: แนะเปิด Long S50U22 เก็งกำไร