"พลัสฯ" เสริมจุดแข็งกลยุทธ์ด้วย "The Best Practice ระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล"

"พลัสฯ" เสริมจุดแข็งกลยุทธ์ด้วย "The Best Practice ระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล"

กลยุทธ์ความสำเร็จของ "พลัส พร็อพเพอร์ตี้" เสริมจุดแข็ง สร้างมาตรฐานที่เป็นจุดขายด้วย "The Best Practice มาตรฐานระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล" หัวใจสำคัญในการดูแลอาคารอย่างยั่งยืน ช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารอาคาร

เมื่อพูดถึง "พลัส พร็อพเพอร์ตี้" หรือ พลัสฯ เชื่อว่าหลายคนรู้จักกันดี โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ Property Management ด้วยจุดแข็งด้านการวางมาตรฐานการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ทำให้ พลัสฯ ได้รับการยอมรับในธุรกิจบริหารจัดการโครงการครบวงจร และหนึ่งในจุดแข็งที่นำมาสร้างจุดขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานก็คือ "The Best Practice มาตรฐานระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล" หัวใจสำคัญในการดูแลอาคารอย่างมืออาชีพ ด้วยมาตรฐานระดับสากล ครอบคลุมในอาคารทุกประเภท

ความสำคัญของเรื่องนี้ คุณชาญ ศิริรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายบริหารทรัพยากรอาคารและระบบวิศวกรรม บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันอาคารต่างๆ มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ผู้ดูแลอาคารต้องติดตามข่าวสาร ปรับตัว และปรับมาตรฐานการทำงานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้างและบริหารอาคารอย่างสม่ำเสมอ ด้วยอาคารขนาดใหญ่นั้นมีระบบวิศวกรรมอาคารที่หลากหลาย มีระบบที่ซับซ้อนและต้องการความรู้เฉพาะทาง จึงต้องอาศัยระบบบริหารจัดการอาคารที่มีมาตรฐานเข้ามาช่วยในการดูแล

\"พลัสฯ\" เสริมจุดแข็งกลยุทธ์ด้วย \"The Best Practice ระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล\"

การบริหารและจัดการอาคารสถานที่ที่เราใช้เป็นสถานที่ทำงานและประกอบกิจกรรมต่างๆ ของบุคคลและองค์กร ไม่ได้เพียงเพื่อให้อาคารใช้การได้และมีสภาพเหมาะสมเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งความเสี่ยงและความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร รวมถึงการบริหารค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีแนวโน้มต้นทุนแรงงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้นทุกปี

นอกจากนี้ การดูแลระบบวิศวกรรมอาคารและกายภาพก็มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และมูลค่าของอาคาร ดังนั้น การบริหารจัดการอาคารให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี และเหมาะสมก็ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้อาคารให้สามารถสร้างผลผลิตของหน่วยงานได้เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้อาคารอีกด้วย

\"พลัสฯ\" เสริมจุดแข็งกลยุทธ์ด้วย \"The Best Practice ระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล\"

ที่ผ่านมา พลัสฯ ได้ขยายการดูแลบริหารอาคารให้ครอบคลุมในอาคารทุกประเภท ซึ่งปัจจุบันดูแลอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ของผู้ประกอบการชั้นนำทั้งในกลุ่มของธุรกิจ อาคารสำนักงาน ธนาคารและการลงทุน ธุรกิจโรงพยาบาล ศูนย์การค้า ได้แก่ 

  • อาคารธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักเพลินจิต 
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • อาคาร SCB Park Plaza ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
  • อาคาร WHA Tower 
  • ศูนย์การค้า THE COMMON ทองหล่อ
  • กลุ่มอาคารหอพัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ และอาคารศูนย์โปรตอน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ปัจจุบันธุรกิจบริหารจัดการอาคารเพื่อการพาณิชย์ของพลัสฯ รวมทั้งสิ้นกว่า 30 โครงการ มีพื้นที่บริหารรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000,000 ตารางเมตร โดยพลัสฯ ชูการดูแลอย่างมืออาชีพในมาตรฐานระดับสากลที่เป็นพาร์ทเนอร์เคียงข้างเจ้าของอาคาร ยกระดับมาตรฐานอาคารโดยมุ่งไปสู่เป้าหมายร่วมกัน 

\"พลัสฯ\" เสริมจุดแข็งกลยุทธ์ด้วย \"The Best Practice ระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล\"

หัวใจหลักของการบริหารจัดการอาคารคือความเข้าใจถึงความความซับซ้อน และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในอาคาร จากประสบการณ์ของพลัสฯ กว่า 25 ปี ที่ได้ศึกษาและนำมาตรฐานการปฏิบัติงานและวิทยาการที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการดูแลระบบวิศวกรรมอย่างรอบด้าน ซึ่งได้นำ Internal Standard Practice ที่เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลมาใช้ในการบริหารจัดการ เพราะการบริหารระบบวิศวกรรมอาคารถือเป็นต้นทุนหลักที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอาคาร

โดย พลัสฯ ได้นำมาตรฐานสากลมาใช้ประกอบเป็นแนวทางในการอ้างอิง เพื่อจัดทำเป็น Standard of Operation (SOP)  โดยได้มีการนำแนวคิดอายุการใช้งาน (Life cycle) ของอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์มาพิจารณาและวิเคราะห์เพิ่มเติมผนวกรวมกับแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานที่ดีมีประสิทธิภาพและเป็นการพัฒนาไปสู่มาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีความเป็นมืออาชีพเพิ่มมากขึ้นโดยในปัจจุบันมีมาตรฐานระดับสากลที่นำมาใช้บริหาร ได้แก่ 

  • IFMA International Facility Management Association เป็นสมาคมทางด้านการบริหารจัดการอาคารที่มีชื่อเสียงที่สุด ก่อตั้งในปี 2525 มีสาขาอยู่ในหลายทวีปมีสมาชิกมากกว่า 24,000 องค์กรทั่วโลก ถือเป็นเสาหลักของวงการ สมาคมมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพในการใช้อาคารผ่านการวิจัยมาตรฐานในการปฏิบัติงาน และมีการออกตีพิมพ์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบหนังสือและนิตยสาร รวมทั้งยังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  • ASHARE American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers เป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาระบบทำความร้อน ระบบระบายอากาศ ระบบปรับอากาศ และระบบทำความเย็นในอาคารที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุด ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2438 และเป็นองค์กรที่มีสมาชิกมากกว่า 54,000 สมาชิกทั่วโลก  ด้วยมาตรฐานระบบปรับอากาศภายในอาคาร มีการใช้ : AIoT Command Center มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล หรือ automated fault detection and diagnosis (AFDD) หาสาเหตุของปัญหาที่ถูกต้องตรงจุด ลดการเสื่อมประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศ ลดการสูญเสียพลังงานในอาคาร ควบคุมคุณภาพอากาศในอาคารให้มีความเหมาะสม ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และนำไปสู่การประหยัดพลังงาน

\"พลัสฯ\" เสริมจุดแข็งกลยุทธ์ด้วย \"The Best Practice ระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล\"

  • BOMA Building Owners and Managers Association เป็นองค์กรที่รวบรวมสมาชิกด้านงานอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (Commercial Real Estate) ประกอบด้วยเจ้าของอาคาร ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2450 มุ่งเน้นมาตรฐานในการบำรุงรักษากายภาพ สภาพแวดล้อม และอายุการใช้งานของอาคาร รวมถึงการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นมาตรฐานในการบำรุงรักษากายภาพ สภาพแวดล้อม และอายุการใช้งานของอาคาร โดยคำนึงถึงการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • CIBSE Chartered Institution of Building Services Engineers เป็นสมาคมวิศวกรรมระดับนานาชาติที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นตัวแทนของวิศวกรในหลายสาขาอาชีพได้แก่ วิศวกรอาคาร, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า เป็นต้น ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2519 โดดเด่นด้านมาตรฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า และสถาปัตยกรรมอาคาร มาตรฐานด้านวิศวกรรมเครื่องกลและไฟฟ้าและสถาปัตยกรรมอาคาร 
  • BESA Building Engineering Services Association เป็นองค์กรเอกชนที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ก่อตั้งในปี 2447 ถือเป็นสมาคมที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมทั้งภาคการก่อสร้าง และการบริหารอาคาร มุ่งเน้นการสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติงานด้านงานวิศวกรรม
  • AHA American Hospital Association มาตรฐานด้านการดูแลสำหรับโรงพยาบาล ระบบติดตั้งเครื่องมือแพทย์ การขนย้ายอุปกรณ์ หรือจัดการในสภาวการณ์ต่างๆ ช่วยให้อาคารสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ รวมถึงช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้อาคาร 

\"พลัสฯ\" เสริมจุดแข็งกลยุทธ์ด้วย \"The Best Practice ระบบวิศวกรรมอาคารระดับสากล\"

นอกจากนั้น พลัสฯ มีการนำ Good Practice เป็นแนวทางในการปฏิบัติพร้อมด้วยมาตรฐานสากลมาประกอบเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานขึ้นมาใช้เรียกว่า Standard Operation Procedure (SOP) ใช้เป็นคู่มือแนะนำถึงความสำคัญของระบบงาน รายละเอียดขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ รวมถึงวิธีการที่ดี (Technique) จากผู้เชี่ยวชาญให้เกิดความเหมาะสม ตรงกับความต้องการลูกค้ามากที่สุด

การบริหารจัดการอาคารสถานที่และการดูแลระบบวิศวกรรมอาคารนั้น เป็นงานที่ต้องมีการวางแผนงานที่ดี เพราะการปฏิบัติงานทุกครั้งมีความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ผู้ใช้อาคาร ส่งผลกระทบต่อการใช้อาคารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงค่าใช้จ่ายหรือความเสียหายจำนวนมากที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา

ดังนั้น การมีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน การวางแผนและเตรียมการที่ดี ย่อมสนับสนุนให้การปฏิบัติงานนั้นเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ช่วยลดอุปสรรคต่อการใช้อาคารและการดำเนินธุรกิจ นอกจากนั้นองค์กรต้องมีแผนค่าใช้จ่ายและงบประมาณบำรุงรักษาและการลงทุนตามกรอบระยะอายุใช้งานอาคารแต่ละช่วง เพื่อที่จะไม่สร้างภาระด้านการเงินที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในอนาคต

พลัสฯ ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้ายกระดับมาตรฐานการทำงาน ในงานบริหารอาคารให้ได้รับการยอมรับคุณภาพระดับสากล ที่ครอบคลุมทุกด้าน ตอบโจทย์ทุกมิติ ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้อาคารนั้น ผู้ที่สนใจบริการสามารถดูข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ Plus Property หรือโทร. 02-688-7555