บล.กสิกรไทย มองหุ้นไทยเสี่ยงถูกหั่น EPS หลังต้นทุนบจ.พุ่ง ตามราคาน้ำมัน-ดอกเบี้ยขาขึ้น

บล.กสิกรไทย มองหุ้นไทยเสี่ยงถูกหั่น EPS หลังต้นทุนบจ.พุ่ง ตามราคาน้ำมัน-ดอกเบี้ยขาขึ้น

บล.กสิกรไทย ประเมินตลาดหุ้นไทยเสี่ยงถูกหั่น Market EPS หลังต้นทุนบริษัทจดทะเบียนพุ่งตามราคาพลังงาน การปรับขึ้นดอกเบี้ยและค่าแรงขั้นต่ำ ประเมินแนวรับที่ 1,530/1,500 จุด หากลงมาให้สะสมหุ้นโรงไฟฟ้า, ไอซีที, โรงพยาบาลและส่งออกอาหาร และชะลอลงทุนกลุ่ม Global Play

บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดหุ้นโลกกลับมากังวลใน 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.) การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่สูง โดย Fed ส่งสัญญาณจะขึ้นอีก 0.75% ในการประชุมรอบ ก.ค.  

ส่วนการประชุม รอบ ก.ย., พ.ย. และ ธ.ค. Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% : 0.25% : 0.25% ตามลำดับ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 3.4% และสิ้นปี 2566 จะอยู่ที่ 3.8% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง และทำให้คาดการณ์สหรัฐจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย  

   

2.) US Real yields หรือ Yield adjusted inflation ปัจจุบันขยับขึ้นมา +0.63% ทำจุดสูงสุดในรอบราว 2 ปี จากก่อนหน้า Real yields ติดลบมากกว่า 1% มา 3 ปีนับตั้งแต่ช่วงโควิด ซึ่งจากสถิติในอดีตหาก Real yields เป็นบวกและขึ้นแรงๆ พบว่าตลาดหุ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ฯลฯ จะปรับลง และจะ Sensitive กว่าประเด็น Inverted Yield Curve

ในส่วนของตลาดหุ้นไทย (SET Index) นับตั้งแต่มีประเด็นการเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนเมื่อช่วงต้นปี  สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นไทย Outperformed มากเทียบประเทศอื่นๆ

 

(โดยนับตั้งแต่ต้นปี SET Index -5.8%ytd ติดลบน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับ ตลาดหุ้นจีน -9.2%ytd, ฮ่องกง-9.8%ytd, อินเดีย -11%,ฟิลิปปินส์ -12.8% และเทียบกับยุโรป  เยอรมนี และฝรั่งเศส  -17%ytd, สหรัฐ -23.2%)

เนื่องจากกำไรบริษัทจดทะเบียนของไทย (โดยกลุ่มพลังงานกำไรคิดเป็นสัดส่วนราว  31% ของกำไรทั้งหมด และกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากราคาพลังงาน ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน แก็สธรรมชาติ ฯลฯ ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น และตลาดมีการปรับเพิ่มคาดการณ์ EPS ขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี)

อย่างไรก็ตามหากประเมินทิศาทางสภาพแวดล้อมดังกล่าว ทั้งจากราคาน้ำมันดิบไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ และมีแนวโน้มลดลงทั้งจากคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนในช่วง 2Q65 ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงาน

ประกอบกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่เห็นสัญญาณจะปรับขึ้นในช่วง 3Q65 และค่าแรงขั้นต่ำของไทยที่มีโอกาสปรับขึ้น  KS ประเมินว่าอาจจะทำให้แนวโน้ม Market EPS จะเริ่มเห็น Trend การ Downgrade ในระยะถัดไป และจะเปิด  Downisde ดัชนีเป้าหมาย (หากอิง Consensus Trend คาดการณ์ EPS มีทิศทางทรงตัว อยู่ที่  96.63 บาทต่อหุ้น)

กลยุทธการลงทุน  

KS  ประเมินแนวรับสำคัญของตลาดในรอบนี้ หากดัชนีปรับลงมา 1,500/ 1,530 จุด เป็นจุดที่ทยอยสะสม

- กลุ่มโรงไฟฟ้า 1.) กำไรของกลุ่มธุรกิจได้แตะระดับต่ำสุดไปแล้วและคาดว่าอัตรากำไรจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการขึ้นค่า Ft สำหรับรอบที่ 2 และ 3 ในปี 2565 2.) ประเมิน Bond yields ผ่านจุด Peak แนะนำ GULF, GPSC, BGRIM,

- กลุ่ม Defensive อาทิ กลุ่ม ICT แนะนำ TRUE, DTAC

- กลุ่มโรงพยาบาล อาทิ BH, BDMS 

- กลุ่มส่งออกอาหาร  อาทิ CPF, TU, ASIAN

ส่วนคำแนะนำ Sector ที่ชะลอลงทุน คือ กลุ่ม Global Play ที่ได้รับความกังวลจากเศรษฐกิจถดถอย อาทิ กลุ่มพลังงาน, กลุ่มปิโตรเครมี, กลุ่มยานยนต์, ธนาคาร, ค้าปลีก และกลุ่มที่เคยได้ประโยชน์จาก Work From home เช่นกลุ่ม Gadget อุปกรณ์ IT

มุมมองตลาดหุ้น SET คาดกรอบการเคลื่อนไหว 1,500-1,580 จุด 

หุ้น Top pick : BEM (ราคาพื้นฐาน 9.99 บาท) เราเชื่อว่า BEM มีแนวโน้มสดใสจาก

1.) การฟื้นตัวของการจราจรจากการกลับมาเปิดประเทศ

2.) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวทางด่วนและเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดิน เช่น โครงการ QSNCC ใหม่ ห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม

3.) การพัฒนาทางด่วนและเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่เพื่อป้อนสินทรัพย์ให้กับ BEM

4.) ระบบ EMV จะลดอัตราค่าโดยสารโดยรวมให้กับลูกค้าของ MRT ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร MRT ให้กับ BEM

5.) โครงการทางด่วนสองชั้นที่จะเพิ่มการจราจรและอาจนำไปสู่การขยายระยะเวลาสัมปทานซึ่งจะเพิ่ม upside ต่อราคาเป้าหมายปัจจุบันของเรา

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

- 20 มิ.ย. : อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีของธนาคารธนาคารกลางจีน (PBoC), รายงานดัชนีผู้ผลิต (PPI) เยอรมนี (เดือนต่อเดือน) (พ.ค.)  ตลาดคาด 1.5%MoM

- 21 มิ.ย. : รายงานการประชุมนโยบายการเงินของออสเตรเลีย, ยอดขายบ้านมือสอง (Existing Home Sales) (พ.ค.) เพิ่มขึ้น 5.41 ล้านหลัง

- 22 มิ.ย. : รายงานการประชุมนโยบายการเงิน, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของอังกฤษ (ปีต่อปี) (พ.ค.) ตลาดคาด 9.1%YoY, คำแถลงการณ์ของพาวเวลล์ (Powell) ประธานธนาคารกลางสหรัฐ 

- 23 มิ.ย. : รายงานสินค้าคงเหลือของน้ำมันดิบประจำไตรมาสจากสหรัฐ (API),  รายงานดัชนี PMI ภาคบริการของญี่ป่น, รายงานประจำเดือนของธนาคารกลางแห่งยุโรป, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต ของสหรัฐ เดือน (มิ.ย.) ตลาดคาด 57.5 จุด จาก 57 จุด, รายงานสินค้าคงคลังน้ำมันดิบของสหรัฐ

- 24 มิ.ย. : ผลการทดสอบภาวะวิกฤติของธนาคารกลางสหรัฐ, ยอดขายบ้านใหม่ ของสหรัฐ (พ.ค.) คาด 6 แสนหลัง