‘ท็อป จิรายุส’ เผย ไทยควรตั้งเป้าเป็น ‘ดิจิทัลฮับ’ ของอาเซียน

‘ท็อป จิรายุส’ เผย ไทยควรตั้งเป้าเป็น ‘ดิจิทัลฮับ’ ของอาเซียน

‘ท็อป จิรายุส’ เผย ไทยควรตั้งเป้าเป็น ‘ดิจิทัลฮับ’ ของอาเซียน ด้วยการสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล จากการเข้าถึงทางการเงิน - การศึกษา - การให้บริการด้านสุขภาพ สู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจดิจิทัลในอีก 10 ปีข้างหน้า

ในงานแถลงข่าว  5 Game Changing: โลกเปลี่ยนต้องเรียนรู้ สู่ 5 เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก “ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้บรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของ Digital Transformation”

โดยได้หยิบยกเอาไฮไลท์และเทรนด์ธุรกิจทั่วโลกที่กำลังก้าวไป และ มุมมองจากได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum ของงานมาถ่ายทอดให้ฟัง ซึ่งเป็นเวทีที่มีความน่าสนใจ เพราะเป็นเวทีที่มีทั้งผู้นำโลก ผู้นำทางความคิด และ ผู้นำทางเศรษฐกิจจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมงาน

ท็อประบุว่า ประเทศไทยควรตั้งเป้าอีก 10 ปีข้างหน้า สู่ “Digital Inclusion” หรือความเท่าเทียมทางดิจิทัล ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ไกลกว่าการเข้าถึงทางการเงิน หรือ financial inclusions  ที่กำลังพัฒนาในปัจจุบัน

เนื่องจากไม่มีประเทศใดมองข้ามเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้ง China econamic outlook Station และ US econamic outlook Station แต่กลับมองว่าจะเป็นการสร้างความมั่งคั่งให้กับโลกในอนาคตซึ่งจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า 

ในหลาย ๆ ประเทศมีสัดส่วน GDP ที่มาจากเศรษฐกิจดิจิทัลเพิ่มขึ้น เช่น เศรษฐกิจดิจิทัลจีนมีมูลค่าเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของ GDP จากการใช้อินเตอร์เน็ตยูสเซอร์ และการเข้าถึงความเท่าเทียมทางดิจิทัล ด้วยการใช้จ่ายออนไลน์ ของกลุ่ม Chinese Middle Class ซึ่งคาดว่าจะเป็นกลุ่มที่ทำธุรกรรมจ่ายเงินออนไลน์มากที่สุดในโลก

ขณะที่ประเทศไทยยังคงพึ่งพา ‘อเมซิ่งไทยแลนด์’ ซึ่งมี GDP 20% มาจากการท่องเที่ยว และการส่งออก ทำให้ประเทศไทยควรจะมองอนาคตในอีก 10 ปีข้างหน้า ว่าความมั่งคั่งจะอยู่ที่ใด 

หากประเทศไทยเดินตามประเทศที่พัฒนาแล้ว ในอนาคตเศรษฐกิจดิจิทัลจะมีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นในGDPของไทย และประเทศไทยจะสามารถเป็นดิจิทัลฮับ หรือศูนย์กลางเทคโนโลยีและดิจิทัลของอาเซียนได้

ประเทศไทยตั้งเป้าหมายที่จะเป็น “ศูนย์กลางเทคโนโลยีและดิจิทัลของอาเซียน” จะต้องเร่งสร้างคุณสมบัติ 3 ข้อ

1.ไฟแนนเชียล อินคลูชั่น คือ การเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างเท่าเทียม

2.การศึกษา ที่เทคโนโลยีและดิจิทัลทำให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างไม่ต้องลงทุนเพิ่ม และการพัฒนาคนในประเทศให้มีทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัล

3.เฮลท์ แคร์ ที่ทำให้คนเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ถ้าหากทำให้ผู้คนเข้าถึง 3 อย่างนี้ จะเป็นการเข้าถึงดิจิทัลอย่างเท่าเทียม ในอนาคตการบริการทางการเงินจะเข้าถึงผู้คนด้วยเทคโนโลยี จากการที่ทุกคนมีอินเตอร์เน็ตและดิจิทัลไอดี ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการ เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงในงาน WEF

“หากใครทำธุรกิจที่คลอบคลุม 3 สิ่งนี้ จะสามารถสร้างความมั่งคั่งมหาศาล” ท็อประบุ

 เนื่องจากเทคโนโลยีสามารถขยายขนาดให้กับธุรกิจได้ และเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในเศรษฐกิจดิจิทัล สังเกตได้จากช่วงโรคระบาดโควิด-19 ที่ผ่านมาธุรกิจใดที่ทำเกี่ยวกับดิจิทัล จะมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้ใช้ระบบการเงินแบบดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 350 ล้านคน จาก 280 ล้านคนในอาเซียน ในระยะเวลา 2 ปี