บล.กสิกรไทย ฟันธงหุ้นไทยหลุด 1,600 จุด หลังเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งแรง กระตุ้นเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย

บล.กสิกรไทย ฟันธงหุ้นไทยหลุด 1,600 จุด หลังเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งแรง กระตุ้นเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย

บล.กสิกรไทย ฟังธงหุ้นไทยเสี่ยงหลุด 1,600 จุด หลังเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งแรงเกินคาด กระตุ้นเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย ขณะเดียวกันคาดกนง. ขึ้นดอกเบี้ยในไตรมาส 3 นี้ เป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นแบงก์ขนาดใหญ่ BBL, KBANK, SCB

บล.กสิกรไทย ระบุว่า หลังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐเดือนพ.ค. พุ่งแตะ 8.6% สูงกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ จะยิ่งทำให้ตลาดกลับมากังวลเรื่องดอกเบี้ย และยังไม่ปิดโอกาสที่ Fed อาจจะขึ้น 0.75% ซึ่งน่าจะส่งผลให้ Bond Yields สหรัฐในระยะสั้นปรับขึ้นต่อ กลายเป็น Sentiment บวกต่อ หุ้น BLA , แต่จะเป็นปัจจัยลบต่อหุ้นกลุ่ม Growth Stock และหุ้น High Valuation รวมถึงกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ 

ขณะเดียวกันคาดว่าจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่ากลายเป็นปัจจัยบวกต่อหุ้นส่งออก  KS แนะนำเน้นไปที่ กลุ่มส่งออกอาหาร ASIAN, CPF, GFPT, TU ส่วนผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย SET Index มีแนวโน้มปรับฐานต่ำกว่า 1,600 จุด (คาดแนวรับสำคัญของ SET Index 1,585 จุด)   

ขณะที่อัตราดอกเบี้ยไทยอาจจะมีการปรับขึ้นในช่วง 3Q65 ถือเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นธนาคารขนาดใหญ่ BBL, KBANK, SCB ฯลฯ  พร้อมกันนี้ต้องรอติดตามการประชุม ศบค. วันที่ 17 มิ.ย.นี้ จะพิจารณายกเลิกระบบ Thailand Pass  สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีผลวันที่ 1 ก.ค. คาดเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มเปิดเมือง อาทิ ท่องเที่ยว,โรงแรม, สายการบิน

KS ยังคงคำแนะนำทยอยสะสมเพื่อหวังผลในระยะกลาง 1.) กลุ่มการเงินแนะนำสินเชื่อจำนำทะเบียน อาทิ MTC, SAWAD  2.) กลุ่มโรงไฟฟ้า แนะนำ BGRIM, GPSC  3.) กลุ่ม ICT แนะนำ TRUE,  DTAC 

 

ส่วน Sector หุ้นที่แนะนำชะลอลงทุนในช่วงนี้ คือ 1.) กลุ่ม High Valuation หรือ High PER  2.) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์, ปืโตรเคมี  3.) กลุ่มค้าปลีก

หุ้น Top pick

- DTAC (ราคาพื้นฐาน 57.50 บาท) ยังคงมุมมองเชื่อมั่นว่าการควบรวมกิจการของ TRUE กับ DTAC จะเกิดขึ้นในปีนี้  ราคาหุ้นที่อ่อนตัวลงจะเป็นโอกาสในการเข้าซื้อที่ดี DTAC และยังคงเป็นหุ้นเด่นของเราเนื่องจาก 1.) คาดการณ์ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง 2.) EV/EBITDA ที่ดึงดูดใจและ 3.) Swap Ratio ที่เอื้อประโยชน์

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

- 13 มิ.ย. : รายงานผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษ เดือน เม.ย. และติดตาม ดุลการค้าของอังกฤษ เดือน เม.ย.

- 14 มิ.ย. : รายงานประจำเดือนของ OPEC, ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดเล็กจากองค์กร NFIB ของสหรัฐ เดือน (พ.ค.), ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core CPI) ของสหรัฐ (เดือน พ.ค.) ตลาดคาด 0.6%MoM , 8.9%YoY

- 15 มิ.ย. : การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ของจีน (Fixed Asset Investment) (ปีต่อปี) เดือน พ.ค. ตลาดคาด 7%YoY, ดัชนียอดขายปลีกพื้นฐาน (Core Retail Sales) (เดือนต่อเดือน) (พ.ค.) ตลาดคาด 0.8% MoM

- 16 มิ.ย. : การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50%, ดัชนีราคาบ้านในจีน (ปีต่อปี) เดือน (พ.ค.), รายงานจำนวนใบอนุญาตก่อสร้างในสหรัฐ เดือน (พ.ค.) ตลาดคาด 1.81 ล้านหลัง

- 17 มิ.ย. : รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) (ปีต่อปี) ของยุโรป (พ.ค.) อยู่ที่  7.5%YoY ชะลอจาก  8.1% ในเดือน เมย., ดัชนีภาคการผลิตอุตสาหกรรม (เดือนต่อเดือน) (พ.ค.) ของสหรัฐ