เศรษฐกิจเริ่มฟื้น ‘จ้างงาน’ เพิ่มขึ้น 3%

สถานการณ์แรงงานมีแนวโน้มดีขึ้น การจ้างงานที่ขยายตัวได้ดีทั้งใน และนอกภาคเกษตร ชั่วโมง
การทำงานปรับตัวเพิ่มขึ้น การว่างงานในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับการว่างงานในระบบ

สถานการณ์แรงงานไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 ภาพรวมการจ้างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 38.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งใน และนอกภาคเกษตรกรรม โดยการจ้างงาน
ภาคเกษตรกรรม มีจำนวน 11.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากการเพิ่มการผลิตสินค้าเกษตรในกลุ่มพืชสำคัญ
ส่วนนอกภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงาน 27.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาการผลิต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.6 จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงสุดในช่วง COVID-19 และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สำหรับสาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ขยายตัวได้ร้อยละ 5.8 และ 16.2 ตามลำดับ ขณะที่ สาขาก่อสร้าง และสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร มีการจ้างงานลดลงที่ร้อยละ 1.1 โดยการลดลงของจ้างงานสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ส่วนหนึ่งเกิดจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงขึ้นในไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีจำนวนไม่มาก โดยมีเพียง 5.0 แสนคน จากปกติที่มี 9 - 10 ล้านคน

การทำงานปรับตัวดีขึ้นทั้งในภาพรวมและภาคเอกชนที่ 40.8 และ 43.8 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อน COVID-19 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้เสมือนว่างงานที่ในไตรมาสหนึ่งปี 2565 มีจำนวนถึง 3.8 ล้านคน ขณะที่ผู้ทำงาน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป หรือกลุ่มทำงานล่วงเวลามีแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่าช่วงปกติ โดยมีจำนวนผู้ทำงานล่วงเวลา 5.7 ล้านคนในไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 จากช่วงปกติประมาณ 6-7 ล้านคน 

การว่างงานปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ว่างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 6.1 แสนคน ลดลงจาก 7.6 แสนคนในช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงจาก 6.3 แสนคนในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 1.53 ต่ำที่สุดในช่วง COVID-19 เช่นเดียวกับการว่างงานในระบบที่ลดลงต่อเนื่อง โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน มีจำนวน 305,765 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานในระบบที่ร้อยละ 2.7 อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนยังคงเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวน 2.6 แสนคน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สวนทางกับผู้ว่างงานที่มีประสบการณ์ทำงานที่เริ่มปรับตัวลดลง 2) ผู้ว่างงานระยะยาวยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โดยมีจำนวนถึง 1.7 แสนคน และ 3) การว่างงานในกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษาสูงยังอยู่ในระดับสูง โดยอัตรา
การว่างงานของผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 3.10

การว่างงานปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ว่างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 6.1 แสนคน ลดลงจาก 7.6 แสนคน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงจาก 6.3 แสนคนในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 1.53 ต่ำที่สุดในช่วง COVID-19 เช่นเดียวกับการว่างงานในระบบที่ลดลงต่อเนื่อง โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน มีจำนวน 305,765 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานในระบบที่ร้อยละ 2.7 อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนยังคงเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวน 2.6 แสนคน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สวนทางกับผู้ว่างงานที่มีประสบการณ์ทำงานที่เริ่มปรับตัวลดลง 2) ผู้ว่างงานระยะยาวยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โดยมีจำนวนถึง 1.7 แสนคน และ 3) การว่างงานในกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษาสูงยังอยู่ในระดับสูง โดยอัตรา
การว่างงานของผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 3.10

 

 

 

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์