ชาวโซเชียล “โหวตทิพย์” ผู้ว่าฯ กทม. “ชัชชาติ” โกยคะแนนเสียงเชิงบวกนำโด่ง

ชาวโซเชียล “โหวตทิพย์” ผู้ว่าฯ กทม.  “ชัชชาติ” โกยคะแนนเสียงเชิงบวกนำโด่ง

นับถอยหลังอีก 1 สัปดาห์ การเข้าคูหาเลือกตั้ง “ผู้ว่าฯกทม.” จะเกิดขึ้น จากนั้นทุกคนจะทราบผลว่าใครจะเป็นพ่อเมืองคนใหม่ที่จะมาบริหารกรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งสิ้น 4.5 ล้านคน ที่น่าสนใจคือคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งมีสิทธิออกเสียงเป็นครั้งแรกกว่า 700,000 คน หรือคิดเป็น 16%

ปัจจุบันเมื่อสื่อดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆมีอิทธิพลมากขึ้น นอกจากเพื่อเสพสื่อ แต่ยังเป็นเสียงสะท้อนความคิดของผู้คนด้วย โดยฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ แล้วก่อนการเลือกตั้ง ยิ่งโค้งสุดท้าย ชาวโซเซียลกล่าวถึงผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.อย่างไร “เรียลสมาร์ท” ดิจิทัลเอเยนซี เผยข้อมูลจาก Social Listening ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 เดือน ผ่านหัวข้อ

“ทัศนคติที่มีต่อผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 10 อันดับแรก”

เทคโนโลยีเอไอของเรียลสมาร์ท เก็บข้อมูลแบบไม่ได้ระบุพื้นที่ จากผู้ใช้งานจากหลายแพลตฟอร์ม เช่น facebook , twitter, website , youtube , Instragram ฯลฯ มีกว่า 1.95 ล้านข้อความ ครอบคลุมการเจาะลึกข้อมูลเสียงสะท้อนและทัศนคติความชอบ ความไม่ถูกใจ และความคิดเห็นเป็นกลางทั่วไป ผู้สมัครที่ถูกกล่าวถึงเมื่อดูเฉพาะข้อความเชิงบวก และข้อความเชิงลบต่างๆ

ข้อความบวก-ลบมีมาก เช่น นโยบายทำได้จริง บุคลิกน่าเชื่อถือ มั่นใจว่าทำงานได้อย่างที่พูด หาเสียงสร้างภาพ นโยบายขายฝัน ไม่ชอบพรรคที่หนุนหลัง ไม่รู้ปัญหาแต่อยากมาแก้ไข กทม.จะไปต่อไม่ได้เพราะย่ำอยู่กับที่นานเกินไป ฯลฯ

หากเอ็นเกจเมนต์เหล่านั้นเปรียบเสมือน “โหวตทิพย์” ผู้ที่ยืนหนึ่งยังคงเป็น “ชัชชาติ สิทธิพันธ์” ผู้ท้าชิงอิสระหมายเลข 8 ขณะที่อันดับสองขับเคี่ยวกันระหว่าง “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ผู้สมัครหมายเลข 6 และ “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ผู้สมัครฯหมายเลข 1 จากพรรคก้าวไกล

“ทัศนคติที่มีต่อผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 10 อันดับแรก”

  • อันดับ 1 “ชัชชาติ” เมื่อเจาะลึกชาวโซเชียลพูดถึงผู้สมัคร “เชิงบวก“ ชัชชาติ ยังรั้งที่ 1 จำนวน 2.3 แสนข้อความ

เช่น เบอร์ 8 เป็นเลขแห่งความเจริญก้าวหน้า ชื่นชมคลิปวิดีโอที่นำเสนอปัญหาและการแก้ไข ให้ความสำคัญกลุ่มหลากหลายทางเพศ ป้ายหาเสียงไม่ขวางการจราจร ยกยอเป็นผู้แข็งแกร่งต่างจากคนอื่น มีความเข้าใจปัญหากลุ่มชนชั้นล่าง เป็นต้น

 

  • อันดับ 2 “พล.ต.อ.อัศวิน” ขึ้นแทนวิโรจน์ จำนวน 9.4 หมื่นข้อความ

เช่น ให้กำลังใจขอให้ประสบความสำเร็จ ชมการสร้างบันไดเลื่อนไม่มีหลังคาไม่บดบังทัศนียภาพ ทำคลองสวยสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ลงพื้นที่ดูปัญหาแออัดกับชาวมุสลิม ยืนยันผลงานเยอะแต่ส่วนใหญ่คนไม่รู้ ฯ

 

  • อันดับ 3 “วิโรจน์” ส่วนภาพรวมที่มาอันดับ 2 แต่การพูดถึงเชิงบวก กลับตกไปอยู่ที่ 3 มีจำนวน 5.8 หมื่นข้อความ

เช่น แสดงจุดยืนสนับสนุนเลือกพรรคก้าวไกล ชื่นชมนโยบายสวัสดิการคนเมือง ป้ายหาเสียงไม่ขวางทางเดิน ทุ่มเทลงพื้นที่จริง ขอบคุณแก้ปัญหาโรงไฟฟ้าขยะอ่อนนุช ชอบวิธีนำเสนอนโยบาย เป็นต้น

 

  • อันดับ 4 น.ต.ศิธา ทิวารี ถูกกล่าวถึง 12,802 ข้อความ

เช่น ชอบนโยบายบำนาญประชาชน มีวิสัยทัศน์ที่เป็นไปได้จริง

 

  • 5.นายสกลธี ภัททิยกุล ถูกกล่าวถึง 10,690 ข้อความ

เช่น ชื่นชมในการทำงานเพราะเข้าใจปัญหาจริงของคนกรุงเทพฯ นโยบายน่าสนใจ

 

  • อันดับ 6 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ถูกกล่าวถึง 4,837 ข้อความ

เช่น นำระบบ AI แก้ปัญหาการจราจร เชื่อว่านโยบายแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ทำได้จริง

 

  • อันดับ 7 น.ส.รสนา โตสิตระกูล ถูกกล่าวถึง 3,450 ข้อความ

เช่น ชื่นชอบนโยบายติดโซลาเซลล์ หาเสียงออนไลน์ไม่ทำป้ายกีดขวางพื้นที่ เห็นด้วยกับนโยบายลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

  • อันดับ 8 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ ถูกกล่าวถึง 36 ข้อความ

เช่น ชอบแนวคิดพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็น Smart City

 

  • อันดับ 9 นายธเนตร วงษา ถูกกล่าวถึง 6 ข้อความ

เช่น ชื่นชอบวิสัยทัศน์พูดจริงทำจริง

 

  • อันดับ 10 นายศุภชัย ตันติคมน์ ถูกกล่าวถึง 5 ข้อความ

เช่น ชอบนโยบายตลาดนัดธงเขียว

ชาวโซเชียล “โหวตทิพย์” ผู้ว่าฯ กทม.  “ชัชชาติ” โกยคะแนนเสียงเชิงบวกนำโด่ง

ด้านบทสนทนา 'เชิงลบ' โซเชียลมีเดียพูดถึงผู้สมัคร 10 อับดับแรก รวม 298,593 ข้อความ ดังนี้

  • อันดับ 1.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จำนวน 200,192 ข้อความ

เช่น หาเสียงสร้างภาพ ไม่เห็นด้วยกับการจำกัดพื้นที่การชุมนุมของประชาชน ล้อเลียนนโยบาย 200 ข้อว่าถูกนำเสนอเกินจริง

 

  • อันดับ 2. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ถูกกล่าวถึง 59,238 ข้อความ

เช่น ไม่เลือกเพราะไม่สนับสนุนพรรคก้าวไกล ไม่เห็นด้วยกับนโยบายทวงคืนสนามหลวง ไม่พอใจการตอบคำถามในเชิงเหน็บแนม นโยบายไม่ชัดเจนมุ่งเน้นการเมืองเกินไป ไม่พอใจที่นำประเด็นการชุมนุมมาเป็นเครื่องมือหาเสียง มุ่งหาเสียงแต่ประเด็นที่สร้างความแตกแยกให้สังคมไทย

 

  • อันดับ 3.พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ถูกกล่าวถึง 29,253 ข้อความ

เช่น หากได้กลับมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.ก็จะไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาขึ้น ตำหนิป้ายหาเสียงกีดขวางทางเดิน ขาดวิสัยทัศน์เพราะปฏิบัติหน้าที่ตามคำวิจารณ์ของประชาชน ตอนเป็นผู้ว่าฯ ไม่ฟังปัญหาประชาชนแต่มารับฟังตอนหาเสียง เป็นต้น

 

  • ลำดับ 4. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ถูกกล่าวถึง 3,547 ข้อความ

เช่น ลอกเลียนแบบป้ายหาเสียงของผู้สมัครรายอื่น ไม่พอใจที่ไม่เคยรับทราบถึงปัญหาทางเท้าในกรุงเทพฯ มาก่อน ไม่สนับสนุนเพราะสังกัดพรรคประชาธิปัตย์

 

  • อันดับ 5. นายสกลธี ภัททิยกุล ถูกกล่าวถึง 2,936 ข้อความ

เช่น ไม่รู้จริงถึงปัญหาต่างๆ ในกรุงเทพฯ ไม่เคยเห็นผลงานในสมัยที่เป็นรองผู้ว่าฯ

 

  • อันดับ 6.น.ส.รสนา โตสิตระกูล ถูกกล่าวถึง 2,710 ข้อความ

เช่น ยกคุณจำลอง ศรีเมืองเป็นต้นแบบผู้ว่าฯ ทำให้หมดความน่าเชื่อถือ นโยบายขายฝัน ไม่เชื่อว่าจะปราบทุจริตได้จริง

 

  • อันดับ 7. น.ต.ศิธา ทิวารี ถูกกล่าวถึง 665 ข้อความ

เช่น นโยบายหวังคะแนนเสียง นโยบายเชื่อมต่อคนต่างรุ่นไม่มีทางเกิดได้จริง

 

  • อันดับ 8. นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ ถูกกล่าวถึง 32 ข้อความ

เช่น ตำหนินโยบายไม่ระบุเนื้อหาไม่มีรายละเอียด

 

  • อันดับ 9. นายศุภชัย ตันติคมน์ ถูกกล่าวถึง 10 ข้อความ

เช่น คัดลอกนโยบายของคนอื่นมาดัดแปลงเล็กน้อยแล้วนำไปใช้เป็นของตนเอง

  • อันดับ10 นายธเนตร วงษา ถูกกล่าวถึง 10 ข้อความ

เช่น ไม่เชื่อว่าจะแก้ปัญหารถติดได้ภายใน 21 วัน เป็นต้น

 

ขณะที่เมื่อดูเฉพาะบทสนทนา 'ทั่วไป หรือเป็นกลาง' โซเชียลมีเดียพูดถึงผู้สมัคร 10 คนแรก รวม 1,237,856 ข้อความ ดังนี้

1.นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถูกกล่าวถึง 689,971 ข้อความ

2. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ถูกกล่าวถึง 209,043 ข้อความ

3.พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ถูกกล่าวถึง 173,532 ข้อความ

4. น.ส.รสนา โตสิตระกูล ถูกกล่าวถึง 55,753 ข้อความ

5. นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ถูกกล่าวถึง 42,006 ข้อความ

6. นายสกลธี ภัททิยกุล ถูกกล่าวถึง 35,893 ข้อความ

7. น.ต.ศิธา ทิวารี ถูกกล่าวถึง 20,210 ข้อความ

8. นายศุภชัย ตันติคมน์ ถูกกล่าวถึง 5,019 ข้อความ

9. นายธเนตร วงษา ถูกกล่าวถึง 1,686 ข้อความ

10. นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ ถูกกล่าวถึง 925 ข้อความ