ผันผวนรอปัจจัย (วันที่ 11 พฤษภาคม 2565)

ผันผวนรอปัจจัย (วันที่ 11 พฤษภาคม 2565)

ตลาดหุ้นวานนี้ SET พุ่งแรง 18 จุด ดัชนีมี Technical Rebound หลังจากที่ร่วงแรงกว่า 100 จุดในช่วง 10 วันที่ผ่านมา นักลงทุนเข้าช้อนซื้อและดักเก็งกำไรในกลุ่ม SET100 ที่ราคาลดลงแรงและ Indicator

ทาง Technical เข้าสู่ภาวะขายมาก (Oversold) อาทิ กลุ่มไฟแนนซ์ โรงไฟฟ้าสื่อสาร และ กลุ่มธนาคาร

 

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

ประเมิน SET แกว่งตัว 1,615 - 1,635 จุด เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่ โดยดัชนียังคงถูกกดดันจากความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวตามคาดการณ์ FED เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ การ Lockdown บางมณฑลของจีน รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงแรงเป็นลบต่อกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตามคาดว่าแรงซื้อ Cover short และหุ้นงบ Q1/65 เติบโตจะช่วยหนุนให้ดัชนีสลับรีบาวด์ขึ้นได้  

 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

          กลุ่มเดินเรือ PSL TTA ค่าระวางเรือเทกองฟื้นตัวขึ้น

          หุ้นที่คาดว่างบ Q1/22 เติบโต IVL  TOP SPRC BCP ESSO EPG CPALL CENTEL MINT BDMS JMT SINGER JMART TH FORTH GFPT 

 

หุ้นแนะนำวันนี้

ASIAN (ปิด 16.60 ซื้อ/เป้า 23 บาท) ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าล่าสุดแตะระดับ 34.61 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่ามากสุดในรอบกว่า 5 ปี งบ 1Q22 ออกมาดีตามคาดทำได้ 248 ล้านบาท +15yoy ปลายปีเตรียม IPO บริษัทลูกในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (AAI) เข้าตลาดฯ

EPG (ปิด 10.2 ซื้อ/เป้า 16 บาท) แนวโน้มงบ 4Q22 (ม.ค.-มี.ค.) ไม่ได้แย่อย่างที่กังวล ขณะที่ไตรมาสนี้ (1Q23) จะได้ผลบวกจากค่าเงินบาทอ่อนค่าเนื่องจาก EPG มีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศคิดเป็น 60% ของรายได้รวม และวันนี้ได้ผลบวกจากราคาน้ำมันดิบร่วงแรง

 

 

 

บทวิเคราะห์วันนี้

         ADVANC, AP, BANPU, BCPG, IRPC, OR, SPALI, TU

 

ประเด็นสำคัญวันนี้

(-) น้ำมันดิบ WTI หลุด 100$/bbl กังวลดีมานด์ชะลอตัวยังกดตลาด: ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงอีก 3.33 ดอลลาร์ (-3.2%) ปิดที่ระดับ 99.76 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักลงทุนยังกังวลกับภาวะดีมานด์ชะลอตัวโดยเฉพาะจีนซึ่งได้รับผลกระทบจากมาตรการ Zero Covid นอกจากนี้ตลาดยังถูกกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง

(-) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน: ม. หอการค้าฯ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.ลดลงสู่ระดับ 40.7 จาก 42 ในเดือน มี.ค. ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และ เป็นการลดลงทำสถิติต่ำสุดในรอบ 8 เดือน เนื่องจากประชาชนกังวลกับแนวโน้ม ศก. ,ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น และ ราคาพลังงานพุ่งสูง

(+/-) คืนนี้ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐหากลดลงจะช่วยดึง Sentiment ของตลาด: เบื้องต้น Consensus คาดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐในเดือน พ.ค.จะลดลงสู่ระดับ 8.1%-8.2% จาก 8.5% ในเดือน เม.ย. และคาดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 6-6.2% จาก 6.5% ในเดือน เม.ย.หากตัวเลขลดลงจริงเชื่อว่าจะช่วยคลายกังวลต่อการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดได้แต่หากตัวเลขสูงกว่าที่ตลาดคาดแรงกดดันต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะกลับมากดดันตลาดอีกครั้ง