การแก้ไขหนี้นอกระบบที่ไร้ระบบของประเทศไทย (6)

การแก้ไขหนี้นอกระบบที่ไร้ระบบของประเทศไทย (6)

ความสำเร็จในการช่วยเหลือคนจน ทำให้ Grameen Bank ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพตั้งแต่ปี 2006 บทเรียนจาการทำงานที่แตกต่าง ธนาคารกระแสหลักทำแบบไหน Grameen Bank ทำตรงข้าม

ธนาคารกระแสหลักมักดูตัวเลขผลกำไรเป็นเป้าหมาย Grameen Bank มีวิธีคิด และวิธีดำเนินธุรกิจที่สวนกระแส ธนาคารกระแสหลักให้เงินกู้กับลูกค้ารายใหญ่ แต่ Grameen Bank ให้เงินกู้ขนาดเล็ก Small Loan & Micro Credit โดยไม่มีหลักประกัน เพื่อให้คนจนเริ่มธุรกิจอย่างมีวินัย เห็นคุณค่าของเงิน ค่อย ๆ สร้างความสามารถ ความสำเร็จบนบันไดขั้นเล็ก ๆ ก้าวขึ้นไปอย่างช้า ๆ ขยายตัวอย่างมั่นคง ให้เงินกู้กับกลุ่มสตรีที่เป็นผู้ประกอบการ เพราะผู้หญิงมีความรับผิดชอบ อดทน มีวินัย ขยัน มีความสามารถในการจัดการ

Grameen Bank เน้นเป้าหมายทางสังคม มากกว่าการสร้างกำไรสูงสุด ให้กู้แบบกลุ่ม ที่แต่ละคนรวมตัวกัน มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบชัดเจน ทำงานเป็นทีม ธนาคารสนับสนุนการศึกษา พัฒนาความรู้พื้นฐาน ความรู้ทางธุรกิจให้ชุมชน พร้อมดูแลสุขภาพคนยากจน และสร้างชุมชนสุขสภาวะ พัฒนาให้เกิดความยั่งยืน (Sustainable Development) สนับสนุนโครงการที่เป็นนวัติกรรม (Innovation & Scale Up) สร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เชื่อมโยงนโยบายของรัฐ ประสานงานกับ NGO ที่ทำงานในพื้นที่ อาจารย์มหาวิทยาลัย สื่อมวลชน ร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อขยายตลาดและเพิ่มทุน

ปัจจุบัน Grameen Bank ดำเนินการในสำนักงาน Zone 40 แห่ง สำนักงานสาขา 2,568 แห่ง ณ เดือนเมษายน 2024 มีพนักงาน 22,153 คน ให้บริการแก่ผู้คน 45 ล้านคน สามารถสร้างผลกำไรในทุกเขตพื้นที่

Grameen Bank ให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG ในโครงการปลูกต้นไม้ โดยพนักงานและสมาชิกผู้กู้ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ 260 ล้านต้น เมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2023 นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ในด้านเท็คโนโลยี่ ให้ความรู้เรื่องดิจิทัล

แด่คนยากจน ปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ครบครัน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความชำนาญในเรื่องดิจิทัล เพื่อให้บริการแก่คนยากจนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำเร็จในการช่วยเหลือคนจน ทำให้ Grameen Bank ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพตั้งแต่ปี 2006 บทเรียนจาการทำงานที่แตกต่าง ธนาคารกระแสหลักทำแบบไหน Grameen Bank ทำตรงข้าม ได้มีนักวิชาการและปราชญ์ชาวบ้านของประเทศไทยได้ผลิตโมเดล “สถาบันการเงินชุมชน” ดร ปัทมาวดี ซูซุกิ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่าแทบทุกภาคของประเทศไทยมีการจัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน ทั้งรูปแบบของสัจจะออมทรัพย์ หรือรูปแบบอื่น ๆ

อาจารย์จำนงค์ สมประสงค์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้ริเริ่มนำโมเดลของ Grameen Bank มาใช้ตั้งแต่ปี 2532-2534 โดยได้ทดลองจัดตั้งธนาคารหมู่บ้าน ในหมู่บ้าน 10 แห่ง ใน 7 จังหวัด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการสานต่อ

ในส่วนที่ผมได้สัมผัสโดยตรงในช่วงที่เป็นผู้จัดการธนาคารกรุงไทยในชนบท สมัยที่ มีชัย วีระไวทยะ เป็นประธานธนาคารกรุงไทย ได้มีการจัดตั้งธนาคารประชาชน รับสมัครพนักงานที่ไม่ถนัดกับเท็คโนโลยี่ใหม่ ๆ ออกไปคลุกคลีให้คำแนะนำชาวบ้านในการประกอบธุรกิจ ทั้งในแง่ของการจัดการ การตลาดและการผลิต ตามชุมชนต่างจัหวัดหลายแห่ง แต่ก็มีการยกเลิกโครงการนี้ในเวลาต่อมา และไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้อีกแล้ว เพราะธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นองค์กรทีมีศักยภาพที่จะทำได้ และเคยมีบทบาทในการกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจมาหลายครั้ง กลายเป็นธนาคารพาณิชย์เอกชนที่ต้องแสวงหากำไรสูงสุดแข่งกับธนาคารพาฌิชย์อื่น ๆ เช่นกัน

ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในประทศไทย โชว์ผลประกอบการที่แสดงผลกำไรเป็นแสนล้านบาท จากข้อมูลที่เปิดเผยขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ไทยมีความมั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค แต่ก็ไม่ได้มีส่วนในการแก้ไขหนี้นอกระบบ คนยากจนเพิ่มขึ้นทุกปี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่มีวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนให้การแก้ไขหนี้นอกระบบประสความสำเร็จ เรายังมีทางออกในการแก้ไขหนี้นอกระบบที่มีประสิทธิผลอีกหรือไม่ คงต้องรออัศวินม้าขาวที่ไม่รู้ว่าเมือไหร่จะมา….