อาหารพม่ากับศานติสุข

อาหารพม่ากับศานติสุข

ตลาดสดทั้งตอนเช้าจนถึงเย็น ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ฯลฯ จะเห็นผู้คนนั่งกินขนมจีนราดน้ำดำๆ กันทั่วไป เมนูโปรดของชาวเมียนมา?

โมฮิงก่า” คือชื่อของอาหารชนิดนี้   เมื่อมองลึกลงไปในชาม “โมฮิงก่า” ก็จะเห็นวัฒนธรรมอื่น  ที่แทรกตัวอยู่อย่างน่าสนใจ    

การเรียนรู้ว่าคนทุกชาติทุกวัฒนธรรมล้วนผูกพันโยงใยกันอย่างไม่อาจตัดขาดกันได้   อาจช่วยให้การ “คลั่งชาติ” “คลั่งวัฒนธรรม” ของผู้คนหลายชาติหลายภาษาลดลงไปบ้างจนอาจช่วยให้การรบราฆ่าฟันกันลดน้อยลงได้บ้างกระมัง

ผู้เขียนขอใช้วัตถุดิบของเรื่องนี้จากข้อเขียนในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่ 8 มิถุนายน 2564 ของ ดร.องค์ บรรจุน  เรื่อง “ข้างสำรับเมียนมา : อาหารพม่ามีสีสัน”  สำหรับ “โมฮิงก่านั้นปรุงจากการนำตะไคร้   ขิง  กระเทียม     พริกมาโขลกกับปลาสุก เช่นปลาช่อน  ปลาดุก   และใส่ลงในน้ำเดือดเติมกะปิและหยวกกล้วยอ่อนหั่น   ลอยหน้าด้วยไข่เป็ดต้ม  กินกับขนมจีน   แนมด้วยผักชี    ถั่วงอก   ถั่วฝักยาว   ฯลฯ    

วัฒนธรรมอาหารเมียนมา เป็นผลพวงจากหลายวัฒนธรรมดังต่อไปนี้   

 (1) วัฒนธรรมปลาร้า   เป็นวัฒนธรรมอาหารของกลุ่มคนที่ใช้ภาษามอญ-เขมร   หรือคนในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic)   คนเมียนมารู้จักกะปิและปลาร้าจากมอญเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่  มอญเป็นอาณาจักรใหญ่ที่สู้กับพม่า  ผลัดกันแพ้ชนะตลอดเวลากว่า 2,000 ปี  จนแพ้พม่าอย่างราบคาบด้วยฝีมือของพระเจ้าอลองพญาใน .. 2300 จนไม่มีแผ่นดินอยู่    อพยพมาไทย  หลายครั้ง   ครั้งล่าสุดใน .. 2357 ในสมัยรัชกาลที่ 2 จำนวนกว่า 40,000 คน  มาอยู่ที่สามโคก ปากเกร็ดและพระประแดง มหาเจดีย์ชเวดากองและองค์เจดีย์อื่น  ที่งดงามล้วนเป็นศิลปะมอญ    อาหารที่คนไทยกินกันทุกวันนี้เช่น  แกงขี้เหล็ก   ข้าวแช่    ขนมจีน    ฯลฯ   ล้วนเป็นอาหารของมอญ   

(2)  วัฒนธรรมขนมจีน     ขนมจีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของ “โมฮิงก่า”  ก็มาจากมอญเช่นกัน    “ขนม” มาจาก         “คะนอม” (ภาษามอญแปลว่า “แป้งเส้น”    ส่วน “จิน”  แปลว่า “สุก”  คนไทยเรียกเพี้ยนไปเป็น “ขนมจีน”) 

พริกนั้นมาจากแดนไกลเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนจากทวีปอเมริกา  เมื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) พบทวีปอเมริกาเมื่อประมาณ 500 ปีก่อน  ลูกเรือเขาคนหนึ่งนำพริกซึ่งคนพื้นเมืองกินมาเป็นเวลานับพัน  ปีติดมือมาและนำมาปลูกจนแพร่หลายไปทั่วเอเชียในเวลา 100 ปีต่อมา (ความจริงนี้แสดงว่าคนไทยสมัยอยุธยาตอนต้นไม่กินเผ็ดเพราะไม่รู้จักพริก จนกระทั่งเมื่อ 400 กว่าปีก่อนประมาณหลังกรุงแตกครั้งแรกสักพักจึงเริ่มกินพริก)

โคลัมบัสและลูกทีมนำพืชพันธุ์มากมายจาก “โลกใหม่” มาแพร่หลาย  และตลอดเวลา 400 กว่าปีที่ผ่านมากลายเป็นพืชเศรษฐกิจของชาวโลก  พืชพันธุ์เหล่านั้นได้แก่   ข้าวโพด    มะเขือเทศ   มันฝรั่ง   พริก  โกโก้     ยาสูบ    ถั่วฝัก   ฟักทอง    ต้นยางพารา               ถั่วลิสง    ฝ้าย    มันเทศ   มันสำปะหลัง    มะม่วงหิมพานต์    ต้นวานิลลา  ฯลฯ    ส่วนผลไม้ได้แก่  ฝรั่ง      มะละกอ  สับปะรด   สตรอเบอรี่  ฯลฯ

(3)  วัฒนธรรมเชลยศึก   สำหรับคนเมียนมาอะไรที่เกี่ยวกับ “โยเดีย” (คำเรียก “อยุธยา”)หรือไทยแล้ว ถือว่าเป็นของดีมีค่าราคาแพง   ที่เรียกว่า “เชลยศึก”  ก็เพราะได้กวาดต้อนผู้คน ช่างศิลป์   ช่างดนตรี    ชาวละคร     พนักงานชาววัง  ฯลฯ   ตอนกรุงแตกครั้งที่สองเมื่อ 250 ปีก่อน   และดัดแปลง โยเดียซุบ” จากคนเหล่านี้   “โยเดียซุบ” รสชาติเปรี้ยวเค็มเผ็ดคล้ายต้มยำแต่น้ำใสมีไข่เป็นฝอยลอยหน้า      

(4)  วัฒนธรรมชา    อาหารจานหลักที่คนเมียนมากินเล่นและกินจริงจนอาจเรียกได้ว่าเป็นอาหารประจำชาติคู่กับ “โมฮิงก่า” คือ  ยำชาหมัก ซึ่งมาจากการเอาใบชาอ่อนที่หมัก (บ้านเราเรียกว่า “เมี่ยง”  คนไทใหญ่ก็นิยม ) มายำกับถั่ว   งา   กะหล่ำปลี      มะเขือเทศ   กระเทียม   พริก   และน้ำมันพืช   

(5)  วัฒนธรรมชาววัง     ตำราอาหารของวังมีการประพันธ์ไว้เป็นอย่างดีและถูกละทิ้งเมื่อสถาบันกษัตริย์ล่มสลายใน .. 2428   อาหารอย่างหนึ่งที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมในวังก็คือ “โมฮิงก่า

(6)  วัฒนธรรมร่วมสมัย  คนเชื้อสายพม่ามีเพียง 2 ใน 3 ของประชากร 54 ล้านคน    (“เมียนมา” หมายถึงคนทุกชาติพันธุ์)  ที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อย    ไทใหญ่เป็นกลุ่มใหญ่สุดประมาณ      ล้านคนอยู่ใกล้ไทย   อาหารใกล้เคียงกับทางภาคเหนือ     ปัจจุบันแรงงานเมียนมาที่เคยทำงานที่ไทยกลับบ้านและนำเอาวัฒนธรรมอาหารไทยไปแพร่หลาย   จะเห็นถาดสี่เหลี่ยมใส่ข้าวแกงวางเรียงกันในร้านเหมือนบ้านเรา  ขายสารพัดแกงฮังเล  หมูทอด  ผัดเผ็ด  ผัดผัก  ยำ ฯลฯ  แม้แต่ส้มตำรถเข็นก็มีให้เห็น

วัฒนธรรมในอุษาคเนย์คล้ายคลึงกันเพราะเป็นผลผลิตของการลอกเลียนกันไปมาอย่างไม่รู้ตัวจากหลากหลายวัฒนธรรมในเรื่องอาหาร   การดำเนินชีวิต  การทำมาหากิน ความเชื่อ ประเพณี    ฯลฯ    ถ้าตรึกตรองได้ว่ามนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์มีที่มาซึ่งผูกพันกับวัฒนธรรมอื่น ๆ มายาวนานดังที่เห็นในเรื่องอาหาร   ทุกวัฒนธรรมล้วนมีของดีของตนเอง  ไม่มีใครเหนือใคร   ทุกคนจึงควรเคารพซึ่งกันและกัน    การคิดอย่างนี้เป็นการสร้างสรรค์ให้มนุษย์เกลียดชังกันน้อยลงซึ่งอาจนำไปสู่ศานติสุขได้.