ดัชนี“นวัตกรรม”ไทยขยับ อันดับที่ 43 ของโลก

ดัชนี“นวัตกรรม”ไทยขยับ อันดับที่ 43 ของโลก

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกท่าน เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือNIAกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เผยผลการจัดทำดัชนีนวัตกรรมระดับโลก (Global Innovation Index – GII) ในปี2562 ภายใต้ธีมด้านนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ (Creating Healthy Lives - The Future of Medical Innovation)ซึ่งจัดโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (World Intellectual Property Organization)หรือWIPOเพื่อรายงานความสามารถด้านนวัตกรรมของแต่ละประเทศ และปีนี้ถือเป็นปีที่12พบว่าในปีนี้ ประเทศไทยอยู่อันดับที่43ขยับขึ้นจากเดิม1อันดับจากปีที่ผ่านมา ติดอันดับ4กลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับบน พร้อมตั้งเป้าดันไทยติดท็อป30ในปี2030

โดยดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า ในปี2019 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมอยู่อันดับที่ 43 ขยับอันดับขึ้น 1 อันดับ จากปี2018โดยในปีนี้ประเทศไทยมีการปรับตัวดีขึ้นทั้งทางด้านปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Innovation input sub-index)จากเดิมอันดับที่52เลื่อนขึ้นเป็นอันดับที่47และปัจจัยย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index)ที่ปรับขึ้นจากอันดับที่45เลื่อนขึ้นเป็นอันดับที่43ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน (upper middle-income economies)ประเทศไทยอยู่ในอันดับ4รองจากจีน มาเลเซีย และบัลแกเรีย จากจำนวน34ประเทศ ที่ประเทศไทยมีอันดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยในทุกปัจจัย ยกเว้นปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับ10จากจำนวน15ประเทศ

ทั้งนี้ในปีนี้ประเทศไทยทำคะแนนได้ดีในหลายตัวชี้วัดจาก5ปัจจัยเสาหลัก อาทิ ประสิทธิการดำเนินดีในด้านเครดิตภายในประเทศที่มีต่อภาคเอกชน (อันดับ12)การคุ้มครองผู้ลงทุน (อันดับ14)การลงทุนในตลาด (อันดับ10)การทำR&Dที่มีแหล่งเงินจากภาคธุรกิจ (อันดับ4)การนำเข้าสินค้าไฮเทค (อันดับ12)สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ (อันดับ20)การเติบโตด้านผลิตภาพแรงงาน (อันดับ14)และการส่งออกสินค้าเทคโนโลยี (อันดับ8)รวมถึงตัวชี้วัดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี และปัจจัยด้านผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่ตัวชี้วัดที่ประเทศไทยยังมีข้อด้อยส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม เช่น สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อัตราส่วนของครูและนักเรียน และการกู้ยืมรายย่อยในระดับไมโครไฟแนนซ์ เป็นต้น

ด้านดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ดัชนีGIIประกอบด้วย ดัชนีย่อย2ด้าน ได้แก่ ดัชนีย่อยปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Innovation input sub-index)และ ดัชนีย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index)โดยภายใต้2ดัชนีย่อยนี้ ได้แบ่งองค์ประกอบออกเป็น7ปัจจัยเสาหลัก (Pillar)ได้แก่1)ปัจจัยด้านสถาบัน2)ปัจจัยด้านทุนมนุษย์และการวิจัย3)ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน4)ปัจจัยด้านระบบตลาด และ5)ปัจจัยด้านระบบธุรกิจ6)ผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี และ7)ผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้GIIนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งดัชนีสำคัญด้านนวัตกรรมที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ซึ่งสะท้อนความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศทั้งในปัจจัยย่อย การเปรียบเทียบเชิงเวลา และการเปรียบเทียบเชิงแข่งขัน

สำหรับประเทศที่มีความสามารถและการพัฒนานวัตกรรมที่ดีที่สุด10อันดับแรกในปีนี้ ได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศสวีเดน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ประเทศฟินแลนด์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเยอรมนี และประเทศอิสราเอล โดยดัชนีนวัตกรรมระดับโลก หรือGIIจัดทำขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่12ทำการสำรวจโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือWIPOซึ่งเป็นหนึ่งในองค์การเฉพาะทางของสหประชาชาติ โดยได้ทำการสำรวจความสามารถด้านนวัตกรรม129ประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วโลก

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวว่า สำหรับผลการจัดอันดับในปีนี้ ถึงแม้ในปีนี้อันดับของประเทศไทยจะขึ้นเพียง1อันดับ แต่จะเห็นได้ว่ามีการปรับขึ้นทั้งในอันดับของปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม และปัจจัยผลผลิตทางนวัตกรรม แสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่ต่อเนื่องและสมดุลมากขึ้น การปรับโครงสร้างเชิงระบบของระบบวิจัย วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของประเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะช่วยเชื่อมโยงปัจจัยเข้าและปัจจัยผลผลิตให้สมดุลมากขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับการทำงานร่วมกันที่ส่งผลต่ออันดับนวัตกรรมของประเทศไทย

โดย NIA จะเร่งพัฒนาและปรับปรุงดัชนีนวัตกรรมของประเทศให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยอยู่ในท็อป30ภายในปี2030 ค่ะ