ตลาดอสังหาฯ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ อินเดีย ที่ไหนระส่ำ

ตลาดอสังหาฯ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ อินเดีย ที่ไหนระส่ำ

“เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว” สรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์กัน สรรพสิ่งล้วนไม่หยุดนิ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละประเทศ

ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนเชื่อมต่อกันไป บ้างก็ขึ้นลงล้อตามกันไป บ้างก็ขึ้นลงสลับกันไป สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง เรามาตรวจดูสุขภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละประเทศมหาอำนาจกันดีกว่า 

จีน นักวิเคราะห์มองว่าบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่ๆ ในจีนมียอดขายตกต่ำลง แต่คาดว่าจะดีขึ้นในอนาคตอันใกล้ การผ่อนผันด้านการเงิน ทำให้การพัฒนาที่ดินได้มีโอกาสที่ดีขึ้นในอนาคต ตลาดที่อยู่อาศัยในจีนยังไปต่อได้อีก อย่างไรก็ตามอนาคตของการแข่งขันก็จะมีมากขึ้นในอนาคต (https://bit.ly/2Y9gg3I) บทวิเคราะห์สำคัญนี้จึงเป็นสิ่งที่พึงตรวจสอบ เพราะในแง่หนึ่ง ก็มีข่าวการลดต่ำลงของราคาที่อยู่อาศัยในจีน

จีนยังหันออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น แต่ก็ได้รับแรงต้าน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่คนซื้อบ้านจากจีนลดลง (https://bit.ly/2SyD0cu) ในประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลย นิวซีแลนด์ แคนาดา ต่างก็ต้านจีน จึนจึงหันมาลงทุนในประเทศที่ผู้นำประเทศ “รักชาติ” น้อยกว่า เช่น ประเทศในอินโดจีน ที่อนุญาตให้ต่างชาติ (โดยเฉพาะจีน) มาซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างแทบจะไม่อั้น อย่างไรก็ตามกำลังซื้ออาจจะแผ่วตามกระแสเศรษบกิจโลก

ญี่ปุ่น ในประเทศนี้ ราคาที่อยู่อาศัยตลอด 20 ปีที่ผ่านมาแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย อย่างไรก็ตามในกรณีห้องชุดพักอาศัย กลับมีการเปลี่ยนแปลงพอสมควร จะเห็นได้ว่า สำหรับที่อยู่อาศัยโดยรวม ราคาเพิ่มขึ้นปีละ 0.6% เท่านั้น ส่วน ราคาที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ราคาลดลงปีละ 0.7% ราคาบ้านเดี่ยว ยังลดลง 0.5% แต่ห้องชุดพักอาศัย ราคากลับเพิ่มขึ้นปีละ 3.5% เลยทีเดียว 

ตลาดอสังหาฯ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ อินเดีย ที่ไหนระส่ำ

               กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงราคาที่อยู่อาศัย [สีแดง] และค่าเช่า[สีฟ้า] ในปี 2541 - 2568 ในญี่ปุ่น

การเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงปัจจุบันจนถึงปี 2568 ปรากฏว่า ราคาขายบ้านจะลดลง ในขณะที่คาเช่าจะคงที่ ไม่ได้ลดลงตามราคา (https://bit.ly/32GZKeK) ทำให้อัตราผลตอบแทนในการลงทุนดูเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปี 2562-2568 นี้ โดยที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นแม้จะแข็งแกร่ง ไม่เปราะบางเช่น เศรษฐกิจไทย แต่แทบไม่มีการขยายตัวมากนัก ทำให้ราคาทรัพย์สินไม่ได้ขยับตัวสูงขึ้นมากนัก

สหรัฐอเมริกา ในรอบ 1 เดือนที่ผ่าน (มีนาคม-เมษายน 2562) ราคาที่อยู่อาศัยทั่วสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 0.4% มีเฉพาะรัฐทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ (ได้แก่มลรัฐนอร์ทและเซาท์ดาโกตา มิเนสโซตรา เนบราสกา เป็นต้น) ที่ราคายังตกถึง 0.6% ในรอบ 1 เดือน ส่วนมลรัฐเทือกเขา เช่น มอนทานา ไอดาโฮ ไวโอมิง เนวาดา ราคากลับเพิ่มขึ้นถึง 1.2% ต่อเดือน (https://bit.ly/2O84xTm)

ตลาดอสังหาฯ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ อินเดีย ที่ไหนระส่ำ

                  กราฟ Monthly House Price Index for U.S. Purchase-Only, Seasonally Adjusted Index, January 1991 - Present

อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่ฟื้นตัวแล้ว ราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นถึงปีละ 6% แต่ก่อนหน้านี้มีช่วงที่ตกต่ำหนักเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงปี 2550-2555 ที่เศรษฐกิจตกต่ำหนัก ราคาอสังหาริมทรัพย์จึงตกต่ำหนักมาก แต่ในขณะนี้เศรษบกิจสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งกว่าแต่ก่อน หนี้เสียต่างๆ ก็แก้ไขได้มากแล้ว 

อินเดีย เราเชื่อว่าจำนวนบริษัทพัฒนาที่ดินในอินเดียลดลงครึ่งต่อครึ่งในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา หรือเทียบระหว่างช่วงปี 2554-5 และช่วง 2560-1 ซึ่งเป็นรายงานของบริษัท PropEquity (https://bit.ly/2JLdzBz) ทั้งนี้เฉพาะในนครใหญ่ๆ ราว 9 แห่ง บางแห่งลดเกินครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามบริษัทใหญ่ เช่น Gurugram และ Noida กลับมีขนาดใหญ่มาก และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่บริษัทเล็กๆ อื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีชื่อเสียง ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ อาจหดตัวลงหรือ “ตาย” ไปจากสนามแข่งขันในวงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของอินเดีย บริษัทใหญ่ๆ ข้ามรัฐจะทวีความสำคัญมากขึ้น และกลายเป็นบริษัทพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ ทำให้บริษัทเล็กๆ ชักจะ “อยู่ยาก” ขึ้นทุกวัน

ตลาดอสังหาฯ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ อินเดีย ที่ไหนระส่ำ

    ตารางจำนวนบริษัทพัฒนาที่ดินอินเดีย

ปัญหาใหญ่สำหรับนักพัฒนาที่ดินรายย่อยก็คือการขาดสภาพคล่องทางการเงิน อุปทานส่วนเกินมากไป (เพราะสร้างไว้มาก) ความสามารถที่จำกัดของบริษัทพัฒนาที่ดิน ปัญหาการขาดแคลนสาธารณูปโภคสำหรับนครใหญ่ๆ ต่างๆ ในอินเดีย เป็นต้น 

อนาคตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลกจะเป็นอย่างไร บางประเทศก็จะขึ้นลงตามประเทศไทย บางประเทศก็จะแตกต่างไปจากไทย แต่ที่แน่ๆ ก็คือตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยเราในขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น (ก่ายหน้าผาก) เราจึงควรรู้ภาวะตลาดให้ทันท่วงที