ไทยลงทุนด้านสุขภาพต้นทุนต่ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง?(2)

ไทยลงทุนด้านสุขภาพต้นทุนต่ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง?(2)

จากบทความตอนที่แล้ว ได้อธิบายถึงที่มา บุคลากรระดับต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เอง คือผู้ที่ทำงานในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน

 ให้มีอัตราป่วยและอัตราตายลดลง ไม่ใช่ผลงานของ บอร์ด สปสช.หรือสปสช. แล้วจุดหมายปลายทาง หรือความสำเร็จนั้นคืออะไร ติดตามได้ดังนี้ 

การที่อัตราป่วยและอัตราตายลดน้อยลงนี้ เป็นความจริงหรือไม่ ก็ยังเป็นปัญหาที่ท้าทายสำนักงานสถิติแห่งชาติจะวิเคราะห์ข้อมูลจากอัตราป่วยและอัตราตายของประชาชน ว่าลดลงจริงหรือไม่?  เพราะเคยมีผลการวิจัยของ TDRI ว่าอัตราตายของประชาชนในระบบ 30 บาท สูงกว่าอัตราตายของประชาชนที่มีสิทธิในระบบสวัสดิการข้าราชการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ท่าน ปธ.สปสช. ซึ่งก็เป็นคนคนเดียวกันกับ รมว. สธ. (โดยกฎหมายกำหนด ไม่ใช่ความบังเอิญ) ท่านเองคงจะลืมบทบาทหน้าที่ในฐานะ รมว.สธ. จนปล่อยปละละเลยให้หน่วยงานที่ท่านบริหารนั้นกำลังสุ่มเสี่ยงต่อ การมีหนี้สินล้นพ้นตัว จากการล้มละลายแทนประชาชน เนื่องจากปัญหาเหล่านี้คือ

  1. งบประมาณไม่พอใช้ในการจัดหาเครื่องมือแพทย์ (ไปถามพี่ตูนดูได้)
  2. งบประมาณไม่พอในการหาเตียงไว้รองรับผู้ป่วย (ไปถามผู้ป่วยที่ต้องตระเวณหาเตียงไปหลายๆแห่ง บางทีตายก่อนจะได้เตียงในโรงพยาบาล หรือไปดูสภาพผู้ป่วยที่ต้องปูเสื่อนอนที่ระเบียงโรงพยาบาล)
  3. งบประมาณไม่พอจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาของบุคลากรที่ทำงานบริการประชาชนตลอด ๒๔ ชั่วโมง ๓๖๕ วันต่อปี โรงพยาบาลบางแห่งยังไม่สามารถจ่ายค่าแรงล่วงเวลาได้ถึง ๒๗ เดือน
  4. จำนวนบุคลากรทุกประเภทตั้งแต่คนเข็นเปล พนักงานรปภ. (ไว้ช่วยรักษาความปลอดภัยจากคนโมโหร้าย) หมออนามัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปจนถึงแพทย์พยาบาล ไม่เพียงพอต่อการทำงานให้มีคุณภาพมาตรฐาน และทันอกทันใจประชาชน
  5. เวชภัณณ์ ยารักษาโรคที่ทันสมัยทันกับนวัตกรรม ๔.๐ ไม่สามารถใข้ได้ตามดุลพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือข้อบ่งชี้ตามมาตรฐานโลก เนื่องจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งไม่ใช่ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ เป็นผู้ออกกฎเกณฑ์การใช้ยาให้หมอต้องทำตามข้อกำหนดและข้อห้ามการใช้ยาต่างๆ ทั้งนี้ เพราะตามที่ปรากฎในข่าว ดูเหมือนท่านประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะภาคภูมิใจมากว่า ประเทศไทยมีความสามารถลงทุนด้านสุขภาพต่ำ จนเป็นตัวอย่างที่องค์กรอนามัยโลกยกย่อง
  6. (แต่ดูเหมือนว่า ไม่มีประเทศไหนในโลก ที่ดำเนินรอยตามระบบ ๓๐ บาทของไทยเลยแม้แต่ประเทศเดียวพราะเขาคงมองเห็นข้อบกพร่องต่างๆ ที่ซุกซ่อนอยู่

ท่านศาสตราภิชานนพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง อดีตผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ภาคพื้นเอเขียคชตะวันออกฉียงใต้ ได้บรรยายในการประชุมเรื่อง ระบบธรรมาภิบาลด้านการแพทย์ การสาธารณสุขและการสาธารณสุข ว่า การที่องค์การอนามัญโลก ประกาศให้ประเทศไทยเป็นแบบอย่างของการจัดการประกันสุขภาพถ้วนหน้า นั้น เพื่อกระตุ้นเตือนประเทศอื่นๆว่า ดูแต่ไทยสิ ยังไม่รวยเลย แต่ก็พยายามจัดการประกันสุขภาพถ้วนหน้า (3 ระบบ) แต่เชาไม่ได้บอกว่า “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ของไทยคือแบบอย่างที่ดีแล้ว เขาอยากให้ เอาเยี่ยงแต่อย่า เอาอย่าง

เพราะอาจารย์สำลี เปลี่ยนบางช้างบอกว่า การประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น เขาจะทำเพื่อให้ประชาชนทุกคน มีสุขภาพดี และเมื่อเจ็บป่วยก็สมควรจะได้รับการดูแลรักษาสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน และต้องพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขให้เจริญก้าวหน้าต่อไป เพราะว่าประชาชนที่มีสุขภาพดี คือต้นทุนที่ดีในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ

แต่ดูเหมือนว่า ท่านทั้งหลายจะภาคภูมิใจว่า “จะรักษาสุขภาพของประชาชนด้วยต้นทุนต่ำ ต่ำกว่าทุกประเทศทั่วโลก” จนดูเหมือนว่าประเทศไทยจะสุ่มเสี่ยงต่อการล้มละลายของระบบการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งการเงิน คุณภาพการบริการ คุณภาพชีวิตผู้ป่วย และคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

ทุกวันนี้ ที่ระบบบริการสาธารณะด้านการแพทย์ละสาธารณสุขยังไม่ล้มละลายแทนครัวเรือนต่างๆ นั้น น่าจะเป็นเพราะว่า บุคลากรทางการแพทย์ส่วนมาก ได้อุทิศตนเอง ในการอดทน และเสียสละ ในการทำงานเพื่อบริการประชาชน เพราะยึดถือในพระราโชวาทของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก องค์บิดาแห่งวงการแพทย์ไทยที่ว่า “ให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”  ฉะนั้นในวันที่ระลึกวันประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล” ที่กำหนดไว้ว่าเป็นวันที่ 12 ธ.ค.ของทุกปีนั้น

ก็ขอส่งคำถามไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ท่านจะพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของไทยอย่างไร ไม่ให้มีการล้มละลายทั้งคุณภาพมาตรฐานการแพทย์ ไม่มีการล้มละลายทางการเงิน ของโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข รวมทั้งการป้องกันการล้มละลายของคุณภาพชีวิตประชาชนทั้งประชาชนที่มารับบริการและประชาชนที่ทำหน้าที่บริการเพื่อนประชาชนด้วยกันเอง

 ขอให้ครม.ทุกท่าน “ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ (ประชาชน) เป็นกิจที่หนึ่ง” ทุกท่านทุกคนเทอญ(จบ)

เอกสารอ้างอิง : https://www.thairath.co.th/content/1440740

โดย... 

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง