สังคมไร้เงินสด รู้แล้วต้องรีบปรับตัว

สังคมไร้เงินสด รู้แล้วต้องรีบปรับตัว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็คทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment)

เพื่อปฎิรูปโครงสร้างพื้นฐานของระบบธนาคาร โดยได้เปิดตัวบริการโอนเงินและรับเงินที่เรียกว่า Prompt Pay อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยใช้แค่เลขบัตรประชาชน หรือเบอร์โทรศัพท์ทำธุรกรรมการเงินกับธนาคารได้ ในปีที่ผ่านมา และเมื่อวันที่ 30 ส.ค.2560 ได้เปิดตัวมาตรฐาน QR Code (Quick Response Code) กลางของประเทศเพื่อชำระเงิน

แบบง่าย ๆ แค่สแกนสมาร์ทโฟนอ่าน QR Code ในการชำระเงิน ไม่ต้องควักเงินสด ไม่มีการถามชื่อนามสกุล เบอร์บัญชี หรือแม้แต่เบอรโทรศัพท์มือถือ โดยหวังว่า QR Code จะเป็นเครื่องมือยกระดับและผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเหมือนหลายประเทศชั้นนำทั่วโลก

Cashless Society เป็นแนวคิดสังคมเศรษฐกิจไร้เงินสด เป็นวิสัยทัศน์ที่มองว่า ความสำคัญของเงินสดในอนาคตจะน้อยลง โดยจะถูกแทนที่โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมในการทำธุรกรรมทางการเงินแทน มีการพูดถึงเป็นครั้งแรกในวงการ ธนาคารพาณิชย์ตั้งแต่ช่วงยุค 1950s และในช่วงต้นยุค 1960s เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับธนาคาร John Diebold ได้กล่าว

สนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะจะช่วยลดต้นทุนของธนาคารจากธุรกรรมเงินสด เช็คเงินสด และภาระด้านเอกสารธุรกรรมทางการเงินที่เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจ

สวีเดน เป็นประเทศแรกของโลกที่จะก้าวเข้าสูสังคมไร้เงินสดโดยสมบูรณ์ ปัจจุบัน 80% ของธุรกรรมการเงินในสวีเดนเป็นธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัลทั้งผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นมือถือ ด้วยความสะดวกสะบาย การใช้งานที่ง่ายและปลอดภัย ทำให้สวีเดนแทบจะไม่ต้องพกเงินสดกันแล้ว

ตั้งแต่การชำระเงินค่ารถเมล์ ไปจนถึงการจ่ายเงินค่าเข้าห้องน้ำสาธารณะ ร้านค้าสามารถปฏิเสธการรับเงินสดได้อย่างถูกกฎหมาย รัฐบาลสวีเดนได้ตั้งเป้าหมายที่จะก้าวสู่สังคมไร้เงินสดเป็นประเทศแรกในโลกโดยทำธุรกรรมผ่านแอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า Swish เป็นธุรกรรมแบบ real-time ไม่มีการกำหนดยอดขั้นต่ำ

ผู้ใช้งานสามารถโอนเงินตรงจากบัญชีธนาคารของตัวเองให้กับคนอื่นที่มีบัญชีธนาคารได้ทันที เป็นแอพที่คนสวีเดนนิยมมาก มีธนาคารชั้นนำหลายแห่งปฏิเสธที่จะรับเงินสดแล้ว โดยสถิติในปีที่แล้ว การจับจ่ายสินค้าในสวีเดน 4 จาก 5 ครั้ง เป็นการจับจ่ายผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์

สำหรับประเทศไทยปัจจุบันพฤติกรรมการใช้เงินอิเลกส์ทรอนิกส์มีเพียง 20% คนไทยมีบัญชี ธนาคารประมาณ 70-80% ของจำนวนประชากร จึงมีโอกาสที่จะติบโตได้มากอีกถึง 80% ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งตื่นตัวกับระบบการชำระเงินผ่าน QR Code โดยได้เข้าร่วมโครงการ Regulatory Sandbox (โครงการทดสอบและพัฒนานวัตรกรรมที่นำเท็คโนโลยี่ใหม่มาสนับสนุนการให้บริการทางการเงิน) ของธปท.ซึ่งเป็นโครงการที่กำกับดูแลและทดสอบระบบให้เกิดความเชื่อมั่นของผู้ใช้งาน ธนาคารแต่ละแห่งช่วงชิงฐานลูกค้ากันอย่างหนักหน่วงให้ลูกค้าตื่นตัวกับระบบ QR Code

การเข้าสู่สังคมไร้เงินสดต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมถึงธุรกิจรายย่อย และประชาชน ในประเทศสวีเดนผู้ประกอบการ SMEs ต่างปรับตัวโดยใช้แอพที่ชื่อว่า

iZettle รับการชำระเงิน ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 30% ในประเทศไทยผู้บริโภคจำนวนมาก ที่ทดลองใช้เงินอิเลกทรอนิกส์ แล้วเห็นว่า มีความปลอดภัย ช่วยลดต้นทุน มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกขณะ ตามแนวโน้มการใช้สมาร์ตโฟนที่เพิ่มขึ้น อัตราการใช้โทรศัพท์มือถือของประเทศไทยที่สูงถึง 44 ล้านราย จึงเป็นโอกาสที่ท่านผู้ประกอบการจะเพิ่มยอดขายจากลูกค้ากลุ่มนี้

สังคมไร้เงินสดในประเทศไทยอาจจะมีปัญหาอุปสรรคอีกมาก ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี่ที่ยังไม่เสถียร100% และยังมีผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี่อีกเป็นจำนวนมาก แต่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก รีบปรับตัวแสวงหาโอกาสจากสังคมไร้เวินสดที่จะมาถึงอย่างแน่นอนครับ...