ความอิสระที่พอดี นิยามมารยาทโลกโซเชียล

ความอิสระที่พอดี นิยามมารยาทโลกโซเชียล

ในยุคที่อะไรๆ ก็ดูจะมี อิสระ เป็นของตัวเองในหลากหลายมิติ จุดตรงกลางที่เหมาะสม สิ่งที่พึงกระทำหรือมารยาทที่ควรมี

ดูจะเป็นเรื่องที่ระบุพิกัดกันได้ยาก

โดยเฉพาะในโลกโซเชียลเอง ซึ่งชื่อเองก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นโลกของการติดต่อสื่อสารเข้าถึงกลุ่มเพื่อนและผู้คนใหม่ๆอย่างไร้ขอบเขตของพรมแดนและความเป็นไปได้ของโลกจริง มารยาทในโลกโซเชียล จึงกลายเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้นว่า อิสระที่พอดี นั้นเรานิยามกันได้อย่างไร

จากผลวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจและน่าคำนึงถึงเพื่อไม่ให้ถูกแบนเบาๆ อย่าง delete post หรือ hide feed ยกระดับเป็น unfriend หรือ unfollow และจบกันแบบถาวรด้วยการ block นั้น ค้นพบมี 5ประเด็นที่เป็นสาเหตุหลักๆจบความสัมพันธ์บนโลกโซเชียล

1.คอมเมนท์ โหดสะเทือนใจ ไม่นึกถึงจิตใจคนที่จะผ่านมาอ่าน (Social Bully)

ไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน ความเห็นจิตเห็นใจคนอื่นยังคงเป็นมารยาทระดับต้นๆ ที่พึงมีในมุมมองนี้หลายคนมักมองผ่านถึงประเด็นที่ว่า สิ่งที่เราโพสต์หรือคอมเมนท์นั้นไม่ได้เป็นบทสนทนาแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ใครๆ ก็เห็นได้ ในยุคที่มีทางเลือกการสื่อสารหลายอย่าง การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมเป็นบริบทแรกที่ควรคำนึงก่อนโพสต์ Instagram Direct, Facebook Messenger, LINE Chat ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับข้อความแบบสนิทส่วนตัว

2.เปลี่ยนสถานะในชีวิตจริง ไม่เคยเห็นตัวตนในชีวิตจริงไม่รู้จักกันดีไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดๆในโลกโซเชียล (Nonsense To Be Friend)

การวิจัยระบุคนเราไม่ได้อยากเป็นเพื่อนกับทุกคนในโลกโซเชียลการ unfriend ลักษณะนี้มักเกิดจากผู้ใช้โซเชียลที่รู้สึกว่าเอาเข้าจริงๆ ถือเป็นคนไม่รู้จักกันหรือไม่มีความสนใจเหมือนกัน หรือจบความสัมพันธ์กันแล้วในโลกจริง อย่างใน Facebook ผู้ใช้มักติดต่อและสร้างสัมพันธ์กับคนที่รู้จักกันอยู่แล้วเท่านั้น ผิดจากความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า โซเชียลเป็นความสัมพันธ์แบบผิวเผิน

3.ขี้โม้เป็นที่หนึ่งรักกันเหลือเกินชีวิตตนช่างเลอค่า (Bragging is My Life)

ติดอันดับต้นๆ ของการจบความสัมพันธ์โลกโซเชียล คือ การเอือมระอากับโพสต์ลักษณะโชว์ออฟอย่างเห็นได้ชัด ไม่เน้นประสบการณ์ความเป็นโมเม้นต์หลายๆนักจิตวิทยาออกมาให้แนวคิดสวนกระแสเซลฟ์ฟี่ รณรงค์ชีวิตจะมีความสุขมากขึ้นเมื่อเน้นความสำคัญที่อารมณ์ความรู้สึกที่ตนมีต่อประสบการณ์ในห้วงเวลานั้น มากกว่าการอยากได้รับความสนใจจากการไลค์

4.คอนเทนท์ไม่เหมาะสมเรื่องส่วนตัวแบบสุดโต่ง (Polarizing Subjects)

ไม่ว่าจะเป็นทัศนะทางการเมือง ศาสนา หรือเรื่องส่วนตัวมากๆ เช่น ครอบครัว ความสัมพันธ์ และสุขภาพส่วนตัวมักเป็นหนึ่งในประเด็นที่หลายคนอดรนทนไม่ได้การโพสต์ไร้สาระบ่อยๆ ยังไม่อันตรายเท่าการโพสต์ล่อเป้าครั้งเดียว เข้าลักษณะคอนเทนท์ เป็นเรื่องน่าใส่ใจกว่า frequency ในมุมนี้การเลือกกลุ่มเพื่อนสำหรับการแชร์ ถือเป็นเรื่องที่ควรทำสำหรับคอนเทนท์ที่ค่อนข้างเปิดประเด็น

5.เอะอะเป็นขายของ (Trying to Sell Me Something)

สิ่งหนึ่งที่เป็นที่น่ารำคาญคือการขายของในสิ่งที่ไม่อยากจะซื้อแต่เสียไม่ได้ สาเหตุนี้ใครๆ ก็คงจะเข้าใจได้เมื่อเพื่อนพัฒนากลายเป็นร้านค้า

ในยุคที่การ unfriend ในโลกโซเชียลง่ายกว่า การ unfriend โลกจริง การให้ความสำคัญในความสัมพันธ์ และการใส่ใจในความรู้สึกของคนอื่น เป็นสิ่งที่ต้องยิ่งคำนึงถึงในโลกโซเชียล จริงอยู่ที่ความเป็นเพื่อนโซเชียลต่างจากความเป็นเพื่อนในชีวิตจริง แต่ในขณะที่เราระบายความรู้สึกและแสดงออกความเป็นตัวตนอย่างอิสระ ก็ควรเคารพพื้นที่ส่วนตัวคนอื่น ใส่ใจว่าคนอื่นอยากรับรู้อะไรเกี่ยวกับเราและจะรู้สึกอย่างไรกับเราบ้าง