ไรเดอร์ ที่พึ่ง มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รายใหม่แห่รุกตลาด

ไรเดอร์ ที่พึ่ง มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รายใหม่แห่รุกตลาด

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมให้ใช้งาน แต่การที่รถที่ใช้เครื่องยนต์ พัฒนาจนมีความประหยัดที่โดดเด่น EV จึงไม่จูงใจคนใช้รถแต่ยังมีอีกกลุ่มที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนได้ คือ ไรเดอร์ ทำให้มีผู้เล่นเข้ามาเพิ่มเรื่อยๆ เช่น ล่าสุดคือ ZHI EV และ LYVA

ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีรุ่นรถ และผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ภาพของ อีวี ที่เด่นชัดและได้รับความสนใจ ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีอีวีอีกหลายประเภทที่เกิดขึ้นในไทย ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถสามล้อ แท็กซี่ รถบรรทุก หรือว่ารถโดยสาร แต่รถกลุ่มนี้ยังมีตลาดไม่ใหญ่นัก

แต่ในความเป็นจริงรถหลายๆ ประเภทหากปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาด จะมีผลต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมมากกว่า เพราะเป็นรถที่มีการใช้งานต่อวันยาวนาน และระยะทางไกล ต่างจากรถยนต์ส่วนบุคคลที่ส่วนใหญ่จะจอดเป็นหลัก และใช้งานต่อวันไม่กี่ชั่วโมง และการใช้งานมากๆ ในแต่ละวัน ก็ยังมีผลต่อการประหยัดค่าพลังงานที่ถึงจุดคุ้มทุนกับค่ารถที่แพงกว่าได้เร็วกว่า 

แต่ก็เข้าใจได้ว่าข้อจำกัดของอีวี ที่ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะระยะเวลาในการชาร์จไฟ  หรือ สถานที่ชาร์จไฟ ยังไม่เพียงพอ กลายเป็นปัญหาสำหรับรถที่จำเป็นจะต้องให้ล้อหมุนอยู่เกือบตลอดเวลา

แต่ที่ผ่านมาก็มีความพยายามาโซลูชั่นสำหรับรถกลุ่มนี้ เช่น รถบรรทุก หรือ รถโดยสาร ที่เหมาะกับการใช้งานที่มีระยะทางไม่ไกลนัก มีเส้นทาง ต้นทาง ปลายทางที่ชัดเจน เพื่อการวางแผนชาร์จไฟ เป็นต้น 

ขณะที่กลุ่มรถจักรยานยนต์ ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ภาครัฐต้องการเสริมส่งเสริมการใช้งาน อีวี เช่นกัน โดยมีมาตรการส่งเสริมสำหรับรถนำเข้าปี 2565-2566 และมีแผนผลิตในประเทศภายในปี 2565-2568

ทั้งการลดภาษีสรรพสามิตเหลือ 1% และเงินสนับสนุนคันละ 1,8 หมื่นบาท โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับตัวรถคือ ต้องใช้แบตเตอรี่ประเภทลิเธียมไอออน ความจุ  3 kWh ขึ้นไป หรือใช้งานต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้งได้ไม่ต่ำกว่า 75 กม. (มาตรฐาน WMTC) รวมถึงมาตรการอื่นๆ เช่น ข้อกำหนดยางล้อ และผ่านการทดสบความปลอดภัย 

อย่างไรก็ตามอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของจักรยานยนต์ไฟฟ้า คือ ราคาที่ค่อนข้างสูง ขณะที่ความแตกต่างของอัตราสิ้นเปลืองไม่จูงใจผู้ใช้ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ในปัจจุบันพัฒนาไปมากในด้านอัตราสิ้นเปลือง ทำให้ผู้ใช้รถทั่วไป ไม่รู้สึกว่าความประหยัดที่ได้จากไฟฟ้านั้นจูงใจให้ซื้อ

ดังนั้นปัจจุบัน จักรยานยนต์อีวี จึงเบนเข็มไปที่กลุ่มไรเดอร์เป็นหลักเพราะเป็นกลุ่มที่ใช้งานต่อวันยาวนานและยาวไกล ทำให้เห็นผลต่างของราคาพลังงานมากขึ้น

และเพื่อลดอุปสรรคด้านที่ชาร์จ ผู้ประกอบการหลายราย จึงลงทุนจุดสลับแบตเตอรี (battery swap) ทำให้ไม่เสียเวลาชาร์จ แต่ใช้การถอดเปลี่ยนลูกใหม่ใส่เข้าไปแทน และผู้ประกอบการบางรายก็เพิ่มแรงจูงใจมากขึ้น ด้วยการจำหน่ายเฉพาะตัวรถ ไม่รวมแบตเตอรี ทำให้ต้นทุนการซื้อรถไม่สูงนัก 

ไรเดอร์ ที่พึ่ง มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รายใหม่แห่รุกตลาด

และในช่วงนี้ตลาดเริ่มเห็นการขยายตัวของจักรยานยนต์อีวีที่ชัดเจนมากขึ้น เห็นได้จากข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ระบุว่า 2 เดือนแรกปีนี้ ยอดจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง 296% 

ขณะที่สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ EVAT ระบุว่า ยอดจดทะเบียนสะสมถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 อยู่ที่ 1.8 หมื่นคัน 

ส่วนความเคลื่อนไหวล่าสุด ในงาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ ที่เพิ่งจบไปเมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา ผู้จัดระบุว่ามียอดจองจักรยานยนต์ไฟฟ้าภายในงาน 837 คัน ถือว่าไม่น้อย

ไรเดอร์ ที่พึ่ง มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รายใหม่แห่รุกตลาด

และในช่วงเร็วๆ นี้ ก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการมากขึ้น เช่น การเข้ามาของรายใหม่อย่าง เพ็นทินั่ม อี (Pentinum E) ผู้จัดจำหน่าและประกอบแบรนด์ “LYVA” ที่เปิดตัวใในงานมอเตอร์โชว์ และสามารถสร้างยอดจองได้ 355 คัน 

ธนิศร์ จิรบันดาลสุข ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ กล่าวว่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า มีแนวโน้มการขยายตัวที่น่าสนใจในไทย เห็นได้จากสถิติยอดจดทะเบียนใหม่ 7,302 คันในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดกว่า 100% จากปี 2564 ที่มียอด 3,477 คัน และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจากนี้ไปจากปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ  เช่น 

  • การเติบโตของธุรกิจขนส่งอาหารและพัสดุ
  • ธุรกิจบริการด้านอื่นๆ
  • การสนับสนุนของภาครัฐพื่อให้ราคาจูงใจผู้บริโภค

"นอกจากนี้ในส่วนของผู้ขับขี่มีค่าชาร์จไฟต่อครั้งเพียง 9-15 บาท สำหรับใช้งานในระยะทาง 100-140 กม. ช่วยประหยัดทำให้มีเงินคงเหลือสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้"

สำหรับ LYVA  เป็นรถที่ที่ได้รับความนิยมสูงในจีน โดยได้พัฒนาปรับแต่งให้เหมาะสมกับการใช้งานในไทย โดยโรงงานของ 

เพ็นทินั่ม อี ในไทย ที่มีกำลังการผลิตช่วงแรกเดือนละ 1,000 คัน 

อีกแบรนด์ที่เคลื่อนไหวในชวงนี้  คือ จวื้อ อีวี (ZHI EV) ที่ล่าสุดจับมือ ไมเนอร์ ฟู้ด นำรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามาให้บริการส่งสินค้าให้ลูกค้า เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ให้เป็น “Green Delivery” โดยช่วงแรกให้บริการในพื้นที่ กรุงเทพฯ ก่อน 

วีระพงศ์ อรฤทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทพีเคดี ออพพอร์ทูนิตี้ จำกัด ผู้จัดจำหน่าย จวื้อ อีวี (ZHI EV) เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นโครงการนำร่องร่วมกับ “ไมเนอร์ ฟู้ด” เพื่อทดสอบสมรรถนะของรถ ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน และค่าบำรุงรักษา จากนั้น  จวื้อ อีวี จะนำข้อมูลที่ได้กลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนของตัวรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ตู้ชาร์จแบตเตอรี่ และแอปพลิเคชันต่อไป

ทั้งนี้ จวื้อ อีวี ยังเปิดสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ตามแหล่งชุมชนอย่างทั่วถึงที่กระจายอยู่ในทุกระยะทาง 5 กิโลเมตร และตั้งเป้าเปิด 100 แห่งทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ในอนาคต ก่อนจะขยายธุรกิจไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดต่อไป