ส่องประเทศเปิดเสรีสุราโลก แหล่งสร้างรายได้ยุคศก.ขาลง

ส่องประเทศเปิดเสรีสุราโลก แหล่งสร้างรายได้ยุคศก.ขาลง

กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีกระแสข่าวว่า ว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ นำโดยพรรคก้าวไกล ที่ชนะเลือกตั้งจะปลดล็อกให้มีการผลิตสุราได้อย่างเสรี เพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศ ไม่ใช่ผูกขาดอยู่แค่ผู้ผลิตไม่กี่รายอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้

Key Point

*เกาหลีใต้แก้ไขกฎหมายให้ผู้ผลิตรายเล็กร่วมผลิตกับรายใหญ่ได้  ทำให้ผู้ผลิตรายเล็กมีโอกาสลืมตาอ้าปากและอยู่รอด

*รัฐบาลโซลเก็บภาษีการผลิตสุราน้อยลง ปูทางให้ผู้ผลิตรายเล็กแข่งขันกับรายใหญ่ได้มากขึ้น

*ญี่ปุ่นออกแคมเปญกระตุ้นคนรุ่นใหม่ดื่มแอลกฮฮอล์ เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมสุราที่ซบเซาหนัก 

*เยอรมนีเปิดเสรีให้มีการผลิตเบียร์ ทำให้มีเบียร์ที่หลากหลายทั้งคุณภาพและราคา ช่วยให้ผู้ผลิตรายเล็กและรายใหญ่แข่งขันได้อย่างเสรี

*เวียดนาม เปิดกว้างรับการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในอุตสาหกรรมคราฟต์เบียร์ ทำให้อุตสาหกรรมนี้ขยายตัวต่อเนื่องคาดช่วงปี 2564-2568 ขยายตัวเกือบ 7% 
 

กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีกระแสข่าวว่า ว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ นำโดยพรรคก้าวไกล ที่ชนะเลือกตั้งได้รับคะแนนสูงสุดจากประชาชนมากกว่า 14 ล้านสียงจะปลดล็อกให้มีการผลิตสุราได้อย่างเสรี ไม่ใช่ผูกขาดอยู่แค่ผู้ผลิตไม่กี่รายอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ ทำให้ต้องไปค้นหาข้อมูลว่าความเคลื่อนไหวของสุราในประเทศอื่นเขาเป็นอย่างไร มีประเทศไหนบ้างที่เปิดเสรี และเปิดเสรีแล้ว ส่งผลดีอย่างไรต่อเศรษฐกิจของประเทศ

เริ่มจากเกาหลีใต้ ประเทศที่เพิ่งผ่านการแก้ไขกฎหมายภาษีสุรา โดยยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าต้นทุน การผลิต การโฆษณา การตลาด หรืออื่นๆ มาเป็นการเก็บภาษีจากปริมาณที่ขายสุราแทน เมื่อมีการเก็บภาษีน้อยลง ผู้ประกอบการรายเล็กก็สามารถผลิตสินค้าแข่งขันกับรายใหญ่ได้มากขึ้น 

นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้ยังแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับโรงงานสุรา ที่เปิดช่องสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กที่มีความสามารถแต่ไม่มีกำลังผลิตสามารถร่วมการผลิตกับโรงงานสุราของบริษัทใหญ่ได้ ถือเป็นการพึ่งพากันระหว่างภาคเอกชน และทำให้ผู้ผลิตรายเล็กพอจะลืมตาอ้าปากได้

หลังการแก้ไขกฎหมายนี้ ตัวเลขตลาดคราฟต์เบียร์ของเกาหลีใต้ก็ขยายตัวขึ้นถึง 3.3 พันล้านบาท คิดเป็นสองเท่าจากเมื่อปี 2561 และคาดว่าจะขยายตัวขึ้นอีก 10.3 พันล้านบาท ภายในปี 2566
 

 เมื่อตลาดคราฟต์เบียร์ในเกาหลีใต้ขยายตัวมาก อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเกาหลีใต้ก็พลอยตื่นตัวไปด้วย นอกจากจะสร้างโอกาสให้กับผู้ผลิตรายเล็กแล้ว ยังทำให้ประชาชนมีโอกาสมากขึ้นในการเลือกซื้อเครื่องดื่มที่พึงพอใจและมีกำลังซื้อ ขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่ก็ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันกับความต้องการของตลาด เพราะไม่ได้เป็นผู้ผูกขาดตลาดอีกต่อไป เศรษฐกิจของอุตสาหกรรมนี้ก็จะเติบโตตามไปด้วยเพราะปัจจัยทางกฎหมายที่เอื้ออำนวย

ตามมาด้วย ญี่ปุ่น ที่ถือเป็นนักดื่มคอทองแดง น้องๆชาวเกาหลีใต้ มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสนับสนุนให้ประชากรรุ่นใหม่อายุระหว่าง 20-39 ปี ดื่มแอลกอฮอล์ หรือดื่มเหล้าญี่ปุ่นที่เรียกว่า “สาเก”กันมากขึ้น ที่เรียกว่า โครงการ“สาเก วีว่า!” หรือ“มาดื่มสาเกกันเถอะ” 

แต่โครงการนี้ ก็ไม่ได้เน้นที่สาเกของญึ่ปุ่นอย่างเดียว ใครใคร่ดื่มโซจู วิสกี้ เบียร์ หรือไวน์ ก็ได้ทั้งนั้น นี่เป็นวิธีแก้ปัญหาธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่นซบเซาหนักเพราะปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และปัญหาจากการที่ญี่ปุ่นเป็นสังคมสูงวัย 

น้อยลงในช่วงการระบาดของโรคโควิด ขณะที่อีกปัจจัยที่ทำให้ยอดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงเป็นเพราะสังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงวัย

เว็บไซต์ของโครงการรณรงค์นี้ บอกว่า ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่นกำลังหดตัวลงเนื่องจากสัดส่วนประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราเด็กเกิดใหม่ลดลง

ตัวเลขจากกรมสรรพากรของญี่ปุ่น ระบุว่า ตัวเลขการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชาวญี่ปุ่นในปี 2563 ต่ำกว่าตัวเลขในปี 2538 ที่คนญี่ปุ่นเคยดื่มอยู่ที่ 100 ลิตร/ปี ตัวเลขลดลงมาเหลือเพียง 75 ลิตร/ปี

ส่งผลให้รายได้จากการเก็บภาษีลดลงในช่วงที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน โดยข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เจแปนไทมส์ รายงานว่า รายได้จากการจัดเก็บภาษีแอลกอฮอล์เคยมีสัดส่วน 5% ของรายได้ทั้งหมดในปี 2523 แต่สัดส่วนดังกล่าวลดลงมาเหลือเพียง 1.7% ในปี 2563

ต่อมาคือเยอรมนี ที่ถูกพูดถึงในฐานะเป็นประเทศที่เปิดเสรีในเรื่องของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มชนิดนี้ช่วยสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ  

เยอรมนี ถือเป็นประเทศที่อัตราภาษีและการควบคุมจากรัฐต่ออุตสาหกรรมสุราหรือแอลกอฮอล์ถือว่าต่ำมาก จึงทำให้เบียร์เยอรมันถูกกว่าน้ำเปล่าบรรจุขวด และทำให้เกิดโรงงานผลิตเบียร์จำนวนมากที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ของขนาดและปริมาณ โดยมีโรงเบียร์มากถึง 1,500 แห่ง ภายใต้ผู้ผลิตกว่า 900 ราย ภายใต้แบรนด์กว่า 5,500 แบรนด์ที่จำหน่ายทั่วประเทศและทั่วโลก

คาดการณ์ว่าเยอรมนีมีรายได้จากการส่งออกสุราและเบียร์กว่า 37,500 ล้านบาท และหากนับรวมภาษีตั้งแต่ต้นน้ำคือการผลิตจนถึงปลายน้ำที่เบียร์ไปอยู่ในมือของผู้บริโภค รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้มากถึง 6,500 ล้านยูโร หรือประมาณ 236,500 ล้านบาท นี่ยังไม่นับรวมการจ้างงานนับแสนตำแหน่งในระบบห่วงโซ่อุปทานโดยรวม

นอกจากนี้ สุราเสรี ยังช่วยให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้ว หรือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ท้องถิ่นนั้นๆ มี ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะมาเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น สาเกของญี่ปุ่น ที่นำวัตถุดิบท้องถิ่นมาแปรรูปและขายเฉพาะในท้องถิ่นจนกลายเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

ประเทศสุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ เวียดนาม ที่มีกฎหมายการผลิตสุราที่ไม่ซับซ้อนและมีอัตราการเก็บภาษีตามมูลค่า โดยจัดเก็บภาษีจากคราฟต์เบียร์ 65% เทียบเท่ากับเบียร์ทั่วไป ทำให้ตลาดคราฟต์เบียร์ในเวียดนามขยายตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557

นอกจากนี้ เวียดนามยังเปิดรับนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาผลิตและจำหน่ายเบียร์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ตลาดเบียร์ขยายมากขึ้นในปี 2561

มีการคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตต่อปีของการลงทุน (CAGR) ในตลาดเบียร์เวียดนามจะเติบโตประมาณ 6.44% ในช่วงปี 2564-2568 และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 9.5 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 ซึ่งจะทำให้เวียดนามเป็นตลาดที่น่าลงทุนของเหล่านักลงทุนไปด้วย

ที่มา:

ฺฺBBC

vietcetera

vino-joy