“แอปทิโอ” ชูโซลูชั่นบริหาร 'ธุรกิจ-การเงิน' สมัยใหม่

“แอปทิโอ” ชูโซลูชั่นบริหาร 'ธุรกิจ-การเงิน' สมัยใหม่

“แอปทิโอ” (Apptio) แนะ จากสถานการณ์โควิด-19 'องค์กร' ต้องปรับตัวกับงบประมาณที่จำกัด เร่งวางแผนธุรกิจใหม่เพื่อบริการจัดการเงินทุน พร้อมชะลอโครงการที่ไม่สำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนอย่างต่อเนื่อง ต่อยอดสู่การบริหารจัดการธุรกิจ-การเงินได้อย่างลงตัว

“แอปทิโอ” (Apptio) ในฐานะผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่นเพื่อการบริหารธุรกิจด้วยเทคโนโลยี (Technology Business Management: TBM) จึงนำประเด็นเหล่านี้มาวิเคราะห์พร้อมกับพัฒนาโซลูชั่น และกลยุทธ์ที่จะบริหารจัดการธุรกิจ และการเงิน ได้อย่างลงตัว พร้อมกับนำเสนอผ่านการสัมมนาออนไลน์ทางเว็บบินาร์

160450019474

"ด้วยเทคโนโลยีที่สามารถช่วยองค์กรชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปในปัจจุบัน พร้อมรักษาความยืดหยุ่นในการดำเนินงานเพื่อประสิทธิภาพในการลงทุนในโครงการที่มีการเติบโตต่อไป ผ่านการร่วมมือกับเหล่าพันธมิตรในเมืองไทยส่งเสริมการใช้โซลูชั่นการบริหารการเงินด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Financial Management) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ TBM ให้เกิดการแพร่หลายในไทยมากยิ่งขึ้น โดยโซลูชั่น TBM จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ  สามารถวิเคราะห์ วางแผน และใช้งานเทคโนโลยีที่ลงทุนได้อย่างคุ้มค่า" มร.โอเวน แกน รองประธานกรรมการ แอปทิโอ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

160450036516


โฟกัสบิซิเนสปักหมุดทีบีเอ็ม

แอปทิโอ’ (Apptio) ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2550 ผ่านการพัฒนาโซลูชั่นที่ประกอบด้วยแพลตฟอร์มการทำงานผ่านระบบคลาวด์ และชุดแอปพลิเคชั่นผ่านอินเตอร์เน็ต(SaaS)ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ Cost Transparency, IT Benchmarking, Business Insights, Bill of IT and IT Planning ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทมากกว่า 60% ในรายชื่อ Fortune 100 Companies in The World ให้ความไว้วางใจในการใช้โซลูชั่นของแอปทิโอ  ในการบริหารค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดรวมถึงด้านอื่น ๆ ทำให้ผู้นำองค์กรสามารถทุ่มเทสร้างสรรค์นวัตกรรมในธุรกิจหลักของบริษัทได้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้ ‘แอปทิโอ’ สามารถผสานการทำงานโดยอัตโนมัติและวางโครงสร้างให้แก่วิสาหกิจ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีและข้อมูลการดำเนินงานอย่างชาญฉลาด เพื่อให้ผู้ใช้งานทั้งองค์กรสามารถรายงานผล วิเคราะห์ วางแผน และควบคุมการลงทุนร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งเสริมการแปรรูปองค์กร สู่การเป็นระบบดิจิทัลหลังผ่านพ้นวิกฤตการณ์โควิด-19

มร.โอเวน  กล่าวต่อไปว่า การที่ ‘แอปทิโอ นำเสนอ โซลูชั่นเพื่อการบริหารธุรกิจด้วยเทคโนโลยี (Technology Business Management: TBM) สู่ตลาดเมืองไทย ในช่วงเวลานี้นับว่ามีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากโซลูชั่นการบริหารการเงินผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศของแอปทิโอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ TBM  จะช่วยให้องค์กร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ  และพนักงานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถตัดสินใจลงทุนบนพื้นฐานจากข้อมูลโดยสามารถตรวจสอบต้นทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทั้งหมด นอกจากการร่วมมือกับเหล่าพันธมิตรในประเทศ แอปทิโอจะให้การสนับสนุนแก่บริษัทต่าง ๆ ด้วยการนำเสนอกลยุทธ์การใช้ต้นทุนควบคุมให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายและมีงบประมาณสำหรับโครงการเพิ่มเติมอื่น ๆ  

“ช่วงเวลานี้นับว่ามีความสำคัญยิ่ง ด้วยผู้ที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยีอย่าง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ และผู้นำทางเทคโนโลยี ต้องสร้างความมั่นใจว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ลงทุนไปกับเทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของกรรมการบริษัท และต้องไม่มีการตัดงบลงทุนที่จำเป็นออกไป รวมถึงมีการใช้ระบบคลาวด์อย่างเต็มประสิทธิภาพ และนวัตกรรมดังกล่าวจะถูกนำมาใช้งานในองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล ที่จะอุบัติขึ้นอย่างสมบูรณ์หลังผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19 ซึ่ง ‘แอปทิโอได้นำเสนอบทเรียนแนวทางการปฏิบัติงานที่เยี่ยมจากวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐบาลชั้นนำมากกว่า 1,200 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา

กล่าวโดยสรุปคือ 1.TBM เป็นระบบที่เป็นที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพที่สุดที่สามารถนำมาปรับใช้ในองค์กรเพื่อทำให้มั่นใจขึ้นว่า ระบบ IT investment มีประสิทธิภาพ และ เชื่อมต่อไปยังผลลัพธ์ทางธุรกิจและนวัตกรรม Agile  2.บริษัท Apptio ได้นำระบบมาใช้ในองค์กรเพื่อที่จะได้รับความรู้ในเรื่องของ TBM โมเดล และเค้าโครงในบริบทด้านอุตสาหกรรมและความกดดันด้านการแข่งขัน (กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง)

“3.หลายองค์กรในประเทศไทย เช่น FSI, โทรนาคม, การผลิต, การท่องเที่ยง, การศึกษา และสุขภาพ ในตอนนี้สามารถได้ประโยชน์จากระบบ TBM ผ่านบริษัท Apptio ในระบบนิเวศน์ IT 4.ทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตสามารถทำงานร่วมกับบริษัท Apptio ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่คลาวด์ และการปรับใช้เพื่อโฟกัสในด้านนวัตกรรมใหม่และการเติบโต 5. แอปทิโอ จะเป็นการทำงานร่วมกับพาทเนอร์ในพื้นที่เพื่อให้ประโยชน์แก่คนในชุมชนและองค์กรในชุมชนของประเทศไทย และ 6.เป็นโอกาสที่จะสนับสนุนระบบการทำงานดิจิทัลของภาครัฐ และการริเริ่ม E-Government หรือ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” มร.โอเวน กล่าว

 

ด้าน มร.ไซมอน พิฟฟ์ รองประธานกรรมการ กลุ่มการปฏิบัติงาน ไอดีซี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า ผลการสำรวจของไอดีซีพบว่าการลงทุนในปีนี้ช่วงนิวนอร์มอล 41% ขององค์กรที่ร่วมการสำรวจได้เพิ่มเงินลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันหลายหน่วยงานเริ่มมีการนำแนวคิดการทำงานแบบเวิร์คฟอร์มโฮมสู่รูปแบบถาวรเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยรายงาน IDC Public Cloud Services Tracker 2019H2 Forecast คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตของคลาวด์อยู่ที่ 14% ตามอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้นจากปี ค.ศ. 2563-256

ดังนั้นภาคธุรกิจจึงควรเร่งนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อดึงยอดขาย และการลงทุน อีกทั้งการใช้กลวิธีในการดึงดูดลูกค้า พร้อมปรับปรุงด้านซัพพลายเชน รวมถึงระบบคลังสินค้า ต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถรันต่อไปได้ และที่สำคัญคือ 'ไฮบริดคลาวน์' จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้นทุกธุรกิจจะควรปรับตัวเป็นดิจิทัลบิซิเนสให้มากขึ้น 


160450025580

ทั้งนี้มีใจความสำคัญอีกประการหนึ่งที่ มร.ไซมอน ได้กล่าวเสริมไว้คือ 1.องค์กร APAC ได้มีการเริ่มรื้อโครงสร้างอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของงานเพื่อโฟกัสไปยังเป้าหมายเทคโนโลยี และนำมาใช้ในกรณีการลงทุนเพื่อเร่งให้กลับมาเติบโตและเพื่อแข่งขันกับธุรกิจโมเดลรูปแบบใหม่ 2.ในระดับภูมิภาคก็ได้มีการผลักดันอย่างกว้างขวางในเรื่องของ Digital acceleration องค์กรต่าง ๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงริเริ่มการนำเทคโนโลยีมาใช้ในผลตรวจโควิด-19 3.องค์กรส่วนใหญ่ มีการผสมผสานความเท่าเทียมของงบประมาณด้านเทคโนโลยีที่มีการถูกจัดสรรเพื่อตอบสนองในช่วงวิกฤติ, Core IT, การปรับตัว และ โปรแกรม Acceleration  

4.การลงทุนหลายๆอย่างที่ยังคงอยู่ในปี 2563 เป็นการโฟกัสไปยัง Work-from-home หรือการทำงานจากที่บ้าน, มาตรการการเว้นระยะห่างที่ปลอดภัย และ การริเริ่มรูปแบบกระบวนการการปรับตัว 5.หลายองค์กรกำลังมองหารูปแบบการทำงานที่บ้านอย่างถาวร ในสถานการณ์โควิด-19 ท่ามกลางยุคนิวนอร์มอล (New Normal) และยุคเน็กซ์นอร์มอล (Post Covid-19) ที่จะต้องเพิ่มผลผลิต และยังคงความสามารถให้เป็นประโยชน์หลัก

6.หลายองค์กรเริ่มมีการเตรียมตัวเพื่อรับมือหากเกิดการระบาดระลอกสอง การตกต่ำทางเศรษฐกิจ และความปลอดภัยของพนักงานหากต้องกลับไปทำงานที่ทำงาน อีกทั้งการลงทุนต่าง ๆ  และ 7.โดยทั่วไปองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (APEC) จำนวนมากต้องการมองหาพาทเนอร์และลงทุนในธุรกิจรูปแบบใหม่ และสถานการณ์ที่ทำความก้าวหน้าในวิถีธุรกิจในยุค Next normal  ( อาทิ ภายหลังการได้รับวัคซีน ,การรักษา )  

รองรับโลกดิจิทัลสมัยใหม่

ขณะเดียวกันล่าสุด ‘แอปทิโอ’ ได้ร่วมมือกับ ‘สุวิเทค’ (Suvitech) ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรในประเทศไทย โดยสุวิเทค ถือเป็น วิสาหกิจรุ่นใหม่ผู้ให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (ICT & IoT) ซึ่งจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในประเทศไทย โดยมีพันธกิจในการมุ่งเน้นการนำเสนอโซลูชั่นเทคโนโลยีอันล้ำสมัยแก่ลูกค้าทั้งองค์กรวิสากิจ รวมถึง การขนส่ง การเกษตร การค้าปลีก การผลิตในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม การดูแลสุขภาพ การท่องเที่ยว  และภาครัฐ

160450030473

นายไพโรจน์ เจตนชัย หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และ พาร์ทเนอร์ สุวิเทค กล่าวว่า การร่วมมือกับแอปทิโอในประเทศไทย นำเสนอโซลูชั่นการเปิดใช้งานเทคโนโลยีการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี (TBM) ชั้นนำของตลาดสู่ตลาดไทย เนื่องจากในขณะนี้ CIO และผู้นำด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญมากกว่าที่เคย ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าการใช้จ่ายด้านไอทีนั้นสามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้อย่างเต็มที่ และการใช้จ่ายถูกลดลง เนื่องจาก “คลาวด์” ถูกนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และนวัตกรรมดังกล่าวได้รับการส่งเสริมในองค์กรของตน  เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนในโลกดิจิทัลที่กำลังขยายตัวใหม่

“เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เราจึงได้เห็นว่าองค์กรหลายแห่งต่างกำลังทุ่มเททรัพยากรของบริษัทเพื่อเร่งการแปรรูปธุรกิจของพวกเขาให้เป็นระบบดิจิทัล แอปทิโอถือเป็นผู้นำในด้านนี้ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ มีความเข้าใจว่าการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยสนับสนุนการเติบโตขององค์กรได้อย่างไร  ผ่านการนำเสนอโซลูชั่น TBM สู่ตลาดในประเทศ ทั้งนี้สุวิเทคจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆในประเทศเพื่อหลักสูตรการฝึกอบรมผู้บริหารเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจด้วยเทคโนโลยี (Technology Business Management: TBM) ด้วย เพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้และสร้างภูมิตั้งแต่จุดเริ่มต้น”

นอกเหนือจากธุรกิจโซลูชั่นเทคโนโลยีหลักแล้ว สุวิเทคยังดำเนินการแพลตฟอร์ม Mobile Virtual Network Enabler (MVNE) ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายหลัก CAT Telecom ซึ่งนำเสนอแพลตฟอร์มโซลูชั่น MVNx ระดับผู้ให้บริการระบบคลาวด์แบบพลักแอนด์เพลย์ สำหรับการเปิดใช้งานโซลูชั่นด้วย 3G และ 4G เช่นกัน