Competitive Identity (2)

Competitive Identity (2)

ต่อเนื่องจากทฤษฎี Competitive Identity 6 หลักการสร้างอัตลักษณ์เพื่อการแข่งขันของประเทศ ครั้งนี้จึงขอต่อเนื่อง 3 ด้านที่เหลือ

*ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์

Operations Management DepartmentThammasat Business School

Facebook / Twitter: karndee

www.karndee.com

ต่อเนื่องจากทฤษฎี Competitive Identity 6 หลักการสร้างอัตลักษณ์เพื่อการแข่งขันของประเทศ ครั้งก่อนได้กล่าวถึง 3 ด้านแรก ครั้งนี้จึงขอต่อเนื่อง 3 ด้านที่เหลือสืบเนื่องจากครั้งก่อน ที่กล่าวถึงทฤษฎี Competitive Identity จากหนังสือ Competitive Identity – The New Brand Management for Nations, Cities, and Regions โดย Simon Anholt

ซึ่งหนังสือนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2007 Simon Anholt สรุปในหนังสือของเขาว่า การสร้างอัตลักษณ์เพื่อการแข่งขันของประเทศ มีที่มาจาก 6 ด้านหลักๆที่เรียกว่า The Hexagon of Competitive Identity คือ การท่องเที่ยว สินค้าส่งออก นโยบายการบริหารประเทศและผู้นำประเทศ การลงทุนในประเทศ ศิลปะและวัฒนธรรม และพลเมืองในประเทศนั้นๆ

ครั้งก่อนได้กล่าวถึง 3 ด้านแรก ครั้งนี้จึงขอต่อเนื่อง 3 ด้านที่เหลือ

“การลงทุนในประเทศ” สำหรับมุมมองของภาคธุรกิจ แต่ละประเทศก็มีทิศทางการส่งเสริมการลงทุนที่แตกต่างกัน นโยบายส่งเสริมการลงทุนในประเทศและนโยบายการลงทุนจากประเทศไม่ได้หมายถึงการมีปริมาณเงินทุนไหลเข้าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง การเปิดกว้างและต้อนรับทักษะและพรสวรรค์ใหม่เข้ามาในประเทศ และสื่อถึงทิศทางการรับรู้ของอัตลักษณ์ของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ครั้งหนึ่งประเทศไทยเปิดกว้างต้อนรับการลงทุนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ เรียกตัวเองว่าเป็น Detroit of Asia ถ้ามองในเรื่องปริมาณการผลิตรถยนต์ในเมือง Detroit รัฐมิชิแกนในอดีตที่ผ่านมาก็พอเข้าใจได้ แต่ในทัศนคติของคนที่รู้จักเมืองนี้ในปัจจุบันจะรู้ดีว่าเป็นเมืองที่ไม่น่าอยู่ที่สุด โรงงานผลิตเริ่มปิดตัว อากาศดำก็ดำ เหม็นก็เหม็น อาชญากรรมมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศ ในขณะที่ประเทศมาเลเซียส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และดิจิตัลคอนเทนท์ ผลักดันนโยบายสร้าง Cyber Jaya ใช้เวลาร่วม 10 ปี กว่าจะเห็นผล เรียกตัวเองว่าเป็น Silicon Valley of the East …

ถามท่านผู้อ่าน ตอนนี้ท่านมองเห็นภาพลักษณ์ของไทยและมาเลเซียต่างกันอย่างไร..

“ศิลปะและวัฒนธรรม” ถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถสร้างอัตลักษณ์ให้กับประเทศ โดยทั่วไปประเทศอื่นๆจะชูจุดแข็งทางด้านนี้ผ่านศิลปิน นักแสดง นักดนตรี หรือแม้แต่นักกีฬา สำหรับประเทศไทยนับมีจุดแข็งทางด้านนี้ เช่น ความถนัดด้านกีฬาอย่างมวยไทย ได้กลายมาเป็นกีฬายอดฮิตสำหรับคนรุ่นใหม่ทั้งในประเทศตะวันตก

และในไทยเอง เป็นการออกกำลังกายแบบ Kick Boxing ในยิมหรูๆ นอกจากนี้เรามีศิลปะและวัฒนธรรมที่สวยงามและมีความหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค เรื่องของศิลปะและวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษบางครั้งก็มีความละเอียดอ่อนในการสื่อสารเหมือนกัน บางประเทศมีนโยบาย simplified culture และ commercialized culture เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร หรือแม้แต่การใช้สื่อที่เข้าถึงคนทั่วไปเช่น เกมส์ และแอนนิเมชั่น ซึ่งก็เป็นการสื่อสารอัตลักษณ์ของประเทศสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

“พลเมือง” ชาวญี่ปุ่นมีความชัดเจนเรื่องความเป็นระเบียบเนียบในเรื่องการกินการอยู่ เรามีภาพชาวสแกนดีเนเวียร์รสนิยมดีแบบเรียบง่าย ส่วนภาพลักษณ์ของคนไทยที่เราเข้าใจอาจไปเองคือ “ยิ้มสยาม” ในขณะที่ฝรั่งมองเราว่าคนไทยคือ “คนสบายๆ” มากกว่า

คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อว่า แล้วแนวคิด 6 ด้านนี้ ประเทศอื่นๆเอามาสร้างเป็นอัตลักษณ์ตัวเองและสร้างแบรนด์ผ่านนโยบายระดับประเทศ หรือ Brand-informed policy กันอย่างไร