เปลี่ยนภาษีเป็นเงินออม...พร้อมเกษียณ

เปลี่ยนภาษีเป็นเงินออม...พร้อมเกษียณ

จิดาภา สีม่วง CFP® นักวางแผนการเงิน บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต

ภาษีเรื่องใกล้ตัวของผู้มีรายได้ การจะบริหารรายจ่ายภาษีอย่างมีความสุข คือ การเปลี่ยนภาษีเป็นเงินออมและสามารถเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ นอกจากนั้นการใช้กลยุทธ์วางแผนเพื่อบริหารภาษีให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินก็เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง หนึ่งกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันมากคือ “การเพิ่มค่าลดหย่อน” ให้สูงขึ้น ซึ่งควรเลือกประเภทค่าลดหย่อนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของผู้มีรายได้ ค่าลดหย่อนที่นิยมอันดับต้นๆ ในการวางแผนลดหย่อนภาษีของผู้มีเงินได้มีดังนี้ภาษีเรื่องใกล้ตัวของผู้มีรายได้ การจะบริหารรายจ่ายภาษีอย่างมีความสุข คือ การเปลี่ยนภาษีเป็นเงินออมและสามารถเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ นอกจากนั้นการใช้กลยุทธ์วางแผนเพื่อบริหารภาษีให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินก็เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึง หนึ่งกลยุทธ์ที่นิยมใช้กันมากคือ “การเพิ่มค่าลดหย่อน” ให้สูงขึ้น ซึ่งควรเลือกประเภทค่าลดหย่อนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของผู้มีรายได้ ค่าลดหย่อนที่นิยมอันดับต้นๆ ในการวางแผนลดหย่อนภาษีของผู้มีเงินได้มีดังนี้


1. RMF กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณอายุ มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ได้หลายประเภทเลือกได้ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เงื่อนไขการได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี• ลงทุนต่อเนื่องทุกปีจนครบอายุ 55 ปีบริบูรณ์ ( เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี )

• ขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท

• ขั้นสูง 15% ของเงินได้ไม่เกิน 500,000 บาท (รวมกับ กบข.บำนาญและ PVD)

• ขายคืนได้เมื่อถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์และอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

2. LTF กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) คือกองทุนที่รัฐส่งเสริมเพื่อสร้างเสถียรภาพตลาดทุนไทยมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 65%เงื่อนไขการได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี

• เงินลงทุนสูงสุดไม่เกิน 15%ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท

• ไม่กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำ,ไม่จำเป็นต้องลงทุนทุกปี เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ

• เงินลงทุนแต่ละจำนวนต้องถือไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน

3. ประกันชีวิต นอกจากเป็นการโอนความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตและสุขภาพ เพื่อปกป้องความมั่งคั่งแล้วยังสามารถนำมาใช้สิทธิในการหักลดหย่อนภาษีได้อีกเงื่อนไขการได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี

• เบี้ยประกันชีวิตสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป)

• เบี้ยประกันสุขภาพหักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000บาทแต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

• เบี้ยประกันบำนาญ สูงสุด 15% ของเงินได้ ที่นำมาเสียภาษีแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทและเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(PVD), กบข, RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท


ตัวอย่าง คุณ น่ารัก (นามสมมุติ) ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท แผนกฝ่ายขาย ที่มีรายได้ 40(1) เดือนละ 17,200 บาท และคอมมิชชั่นจากการขาย 40(2) ปีละ 1,000,000 บาท มีสวัสดิการประกันสังคม ปัจจุบันสถานะโสด อายุ 43 ปี  ชอบท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ไม่มีภาระหนี้สิน คาดว่าจะสามารถรักษายอดขายรับคอมมิชชั่นประมาณนี้จนถึงวันเกษียณอายุ 60 ปี คุณพ่อเสียชีวิต คุณแม่อายุ 68 ปี รับบำนาญราชการ คุณน่ารักมีความกังวลใจเสียดายภาษีที่ทำให้รายได้ลดลง ต้องการใช้เงินหลังเกษียณเดือนละ 50,000 บาท ปรึกษาปัญหาดังกล่าวกับนักวางแผนการเงิน


สรุปเป้าหมายทางการเงินของคุณน่ารัก    1. ลดค่าใช้จ่ายภาษี    2. เกษียณอายุ 60 ปี คาดว่าจะมีอายุขัยถึง 80 ปี จากการคำนวณต้องเตรียมเงิน 10.9 ล้านบาท (สมมติฐานอัตราเงินเฟ้อ 3%) และอัตราผลตอบแทนคาดหวังหลังเกษียณ 4%

1_22


จากตาราง เปรียบเทียบการเพิ่มค่าลดหย่อน หลังจากวางแผนภาษีโดยการลงทุนใน RMF 120,000 บาท LTF 120,000 บาท และประกันชีวิตแบบทั่วไป เพื่อคุ้มครองความสามารถในการหารายได้ 100,000 บาท ทำให้ คุณ น่ารัก ประหยัดภาษีได้ ปีละ 67,240 บาท อัตราภาษีแท้จริงของรายได้พึงประเมินเท่ากับ 5.58% ซึ่งในการวางแผนบริหารจัดการภาษียังสามารถวางแผนลงทุนจัดพอร์ตให้เหมาะสม การลงทุนเพื่อเพิ่มค่าลดหย่อนดังกล่าวทุกปี รวมกับเงินคืนภาษีที่ได้รับจำนวน 67,240 บาททุกปี นำมาลงทุนต่อเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเกษียณอายุในปีที่อายุ 60 ปี ทำให้มีเงินใช้เดือนละ 50,000 บาทถึงอายุ 80 ปี ได้อย่างไม่มีกังวล

2_13


จากการใช้กลยุทธ์การเพิ่มค่าลดหย่อน ใช้สิทธิถูกต้องตามกฏหมายทำให้เสียภาษีน้อยลง การวางแผนภาษีควบคู่การลงทุนที่เหมาะสมความเสี่ยงที่รับได้ สอดคล้องกับสถานการณ์และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้รับคำปรึกษา ทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนวัยเกษียณสามารถทำได้ง่ายๆผ่านการวางแผนการเงินกับนักวางแผนการเงิน   BLA FA 3B “ ความสุขไม่มีเกษียณอายุ” จะเป็นของทุกท่าน