ยอดโอน ‘พร้อมเพย์’ ทะลุแสนล้าน

ยอดโอน ‘พร้อมเพย์’ ทะลุแสนล้าน

ยอดโอนพร้อมเพย์ทะลุ "แสนล้าน" ธปท.เตรียมขยายบริการสู่ “อีวอลเล็ท-รีเควสท์ทูเพย์”

“แบงก์ชาติ” เผยยอดโอนเงินผ่านพร้อมเพย์สะสมทะลุ 1 แสนล้านบาทแล้ว จากจำนวนผู้ลงทะเบียน 32 ล้านบัญชี และนิติบุคคล 4.5 หมื่นบัญชี เชื่อเติบโตได้อีกมาก พร้อมขยายบริการพร้อมเพย์สู่ “อี-วอลเล็ท” และ “รีเควสท์ทูเพย์” ยังยืนเป้าปีนี้ที่โตแตะ 40 ล้านบัญชี

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ยอดการโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์สะสมล่าสุด ณ วันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมามีมูลค่าเกิน 1 แสนล้านบาทแล้ว หรืออยู่ที่ 1.05 แสนล้านบาท จากจำนวนผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์บุคคลธรรมดา 32 ล้านบัญชี และลงทะเบียนนิติบุคคล 4.53 หมื่นบัญชี โดยมียอดการโอนเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 5,238 บาทต่อรายการ

“ยอดการโอนเงินพร้อมเพย์ถือว่าเพิ่มขึ้นเร็วมาก เทียบกับหลายประเทศ แค่ 6 เดือนก็เกินแสนล้านบาทแล้ว ซึ่งรายงานโอนจะเพิ่มขึ้นมากในช่วงสิ้นเดือน เช่นวันสิ้นเดือนมิ.ย.ยอดการโอนอยู่ที่ 2.3 แสนรายการ และสิ้นเดือนก.ค.ยอดการโอนอยู่ที่ 2.9 แสนรายการ แต่ก็ยังสามารถขยายได้อีกเยอะ เพราะเมื่อเทียบกับการโอนเงินผ่านช่องทางปกติที่ยังมีธุรกรรมจำนวนมาก”

ทั้งนี้ ธปท.ยังคงเป้าหมายการลงทะเบียนพร้อมเพย์ในปีนี้ไว้ที่ 40 ล้านบัญชี โดยปลายเดือนนี้จะมีการเปิดใช้คิวอาร์โค้ดบนบริการพร้อมเพย์ได้ ส่วนค่าธรรมเนียมยังไม่ได้สรุป ขณะที่ในเดือนหน้าจะขยายบริการพร้อมเพย์ไปยังการใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-wallet และในปลายปีนี้จะขยายไปการชำระบิล หรือรีเควสท์ทูเพย์ โดยทางร้านค้าจะแจ้งยอดแล้วให้ลูกค้ากดยืนยันในการชำระเงิน ซึ่งส่วนนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ร้านค้าไม่ต้องเสียเวลาในการเช็คยอด

ด้านนางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงิน และเทคโนโลยีทางการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่านร่างพ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน พ.ศ.2560 แล้ว รอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อบังคับใช้ต่อไป ซึ่งคาดว่าน่าจะประกาศได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 ปีนี้ โดยกฎหมายจะเริ่มมีผลบังคับใช้หลังลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา 180 วัน ซึ่งน่าจะเป็นช่วงปลายไตรมาส 1 หรือต้นไตรมาส 2 ในปีหน้า

กฎหมายฉบับใหม่นี้เป็นการบูรณาการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน จะนำมาใช้แทนกฎหมายที่เดิมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอีเพย์เมนท์ คือ ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 หรือ ปว.58 และ พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ครอบคลุมทั้งผู้ให้บริการระบบชำระเงินและผู้ให้บริการชำระเงิน ทั้งธนาคาร สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (SFI) ซึ่งตามกฎหมายนี้กำหนดให้ผู้บริการทั้งหมดจะต้องมายื่นขอใบอนุญาตและขอขึ้นทะเบียนกับธปท.ใหม่ทั้งหมดภายใน 120 วันหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้

ปัจจุบันมีผู้ให้บริการที่เกี่ยวกับการชำระเงิน ทั้งหมด 111 ราย เป็นสถาบันการเงิน 36 ราย ทั้งหมดนี้จะต้องมายื่นขอใบอนุญาต หรือขึ้นทะเบียนใหม่ทั้งหมด เพราะใบอนุญาตเดิมจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ให้บริการระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับ ซึ่งจะต้องขอใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกลุ่มที่เป็นผู้ให้บริการชำระเงินภายใต้การกำกับ เช่น สถาบันการเงินที่ออกบัตรเดบิต เครดิต และอีมันนี่ จะต้องมาขอขึ้นทะเบียนกับธปท.

"กฎหมายใหม่จะช่วยให้ระบบชำระเงินดำเนินการได้ต่อเนื่อง ไม่สะดุด มีความยืดหยุ่นในการกำกับดูแล เปิดช่องให้สามารถออกกฎหมายเพิ่มเติมรองรับนวัตกรรมการชำระเงินใหม่ๆ ในอนาคต พร้อมกับมีการดูแลคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้ผู้ให้บริการอีมันนี่แยกบัญชีเงินของลูกค้าออกมา และหากผู้ให้บริการมีปัญหาล้มละลายเงินของบัญชี