TISCO - ซื้อ

TISCO - ซื้อ

ปรับกำไรเพิ่มจากคุณภาพสินเชื่อที่ดีขึ้น

ประเด็นการลงทุน

TISCO สามารถลดสัดส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม เหลือเพียงแค่ 2.4% เนื่องจากนโยบายการปล่อยสินเชื่อแนวอนุรักษณ์นิยมขณะที่สัดส่วนการตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญในปัจจุบันอยู่ที่ 172%ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่ม ทำให้เราคาดว่า บริษัทจะปรับลดการตั้งสำรองหนี้สูญในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 และ ปี 2561 ดังนั้นเราปรับลดสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯลง 12% ในปี 2560 มาอยู่ที่ 2.8 พันล้านบาท และ 10% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 3.5 พันล้านบาท ทั้งนี้หากตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญลดลงนั่นหมายความว่าผลประกอบการจะปรับเพิ่มขึ้น 5% ในปี 2560มาอยู่ที่ 6.3 พันล้านบาท และ 3% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 6.7 พันล้านบาท ทั้งนี้เราปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย ณ สิ้นปี 2560 ขึ้น 5% มาอยู่ที่ 82 บาท อ้างอิงจากการปรับค่า PBV ที่ 1.9 เท่า เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ

คาดสินเชื่อที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 กอปรกับการซื้อพอร์ต SCBT

สินเชื่อตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันลง 4% ในครึ่งปีแรก เราคาดว่า TISCO จะสามารถฟื้นพอร์ตสินเชื่อในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 หนุนโดยสินเชื่อบรรษัทและสินเชื่อส่วนบุคคล (สมหวัง เงินสั่งได้) สินเชื่อรถยนต์มือสอง โดยสินเชื่อส่วนบุคคลเติบโตจาก 7.2 พันล้านบาท ณสิ้นปี 2559 มาอยู่ที่ 8.3 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2560 และคาดว่าจะแตะ 10 พันล้าน
บาท ณ สิ้นปี 2560 นอกจากนี้การเข้าซื้อกิจการสินเชื่อรายย่อยของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) (SCBT) กว่า 4 หมื่นล้านบาท ในเดือนก.ย. 2560 ทำให้การเติบโตของสินเชื่อจะอยู่ที่ 17 % ตามประมาณการของเรา ทั้งนี้อัตราส่วนความพอเพียงของทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของ TISCO อยู่ที่ 20.5% สูงที่สุดในกลุ่มและมากพอที่จะซื้อกิจการ
สินเชื่อรายย่อยโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการเพิ่มทุน รวมถึงนโยบายการจ่ายปันผล

การลดสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯส่งผลให้ประมาณการกำไรปรับตัวสูงขึ้น

TISCO ปรับลดการตั้งค่าสำรองเพื่อหนี้สูญจาก 1.3% ของสินเชื่อ โดยรวมมาอยู่ที่ 1% ในปีนี้ หลังจากอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้สูญเป็น 172% ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และสัดส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อ อยู่ที่ 2.41% ทั้งนี้เราปรับลดคาดการณ์การตั้งสำรองเพื่อหนี้สูญอยู่ที่ 12% ในปี 2560 มาอยู่ที่ 2.8 พันล้านบาท และ 10% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 3.5 พันล้านบาท ( นั่นหมายความว่าแนวโน้มการตั้งสำรองหนี้ฯของ TISCO จะอยู่ที่ 1.1% จากสินเชื่อโดยรวมในปี 2560 และ 1.3% ในปีถัดไป ซึ่งยังสูงกว่าตัวเลขของคาดการธนาคารเล็กน้อย)

มีโอกาสเพิ่มประมาณการกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่าคาด

หากนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธปท.อยู่ที่ 1.50% ตลอดทั้งปีไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปี 2560 ของ TISCO จะปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากปี 2559 เนื่องจากธนาคารมีแผนระดมเงินฝากเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำหรับการเข้าซื้อสินเชื่อรายย่อยของ SCBT จำนวน 4 หมื่นล้านบาทในเดือน ก.ย ซึ่งทำให้ต้นทุนเงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราประมาณการส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเชิงอนุรักษ์นิยมอยู่ที่ 3.9% สำหรับปี 2560 และ 2561 ทั้งนี้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยครึ่งปีแรกอยู่ที่ 4.26% เกิดจาก TISCO หันมามุ่งเน้นการขยายสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง (สินเชื่อรายบุคคล และชินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง) แทนที่จะเป็นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือหนึ่ง หากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยดีกว่าที่คาด เรามองว่าจะเป็นโอกาสในการเพิ่มประมาณการกำไร นอกจากนี้สังเกตว่าสินเชื่อ SCBT ส่วนใหญ่ประกอบด้วยสินเชื่อที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง อาทิ เช่น สินเชื่อรายบุคคล (อัตราดอกเบี้ยสูงสุดอยู่
ที่ 28%) และสินเชื่อบัตรเครดิต (อัตราดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ 18%)