BBL - ซื้อ

BBL - ซื้อ

ผลประกอบการฟื้นตัวและราคาถูก

ประเด็นการลงทุน

เราได้เข้าร่วมการประชุมกับ BBL เมื่อวานี้ ซึ่งทำให้เรามองว่าผลประกอบการปี 2560 ของ BBL จะเติบโตต่อเนื่องจากปีที่แล้วทั้งด้านสินเชื่อ, การรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจากปีก่อน, และการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ที่ระมัดระวัง เราคาดว่าสินเชื่อธนาคารจะมีแรงหนุนจากโครงการภาครัฐฯ, การท่องเที่ยวที่ดีขึ้น, และการลงทุนของภาคเอกชนที่มากกว่าปีก่อน ดังนั้นเราจึงยังคงประมานการสินเชื่อเติบโตของธนาคารที่ 4% และประเมินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอย่างอนุรักษ์นิยมที่ 2.2% (ลดลง 10 เบสิสพอยท์จากปีที่แล้ว) นอกเหนือจากนี้ เราคาดว่าค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ ของบริษัทในปี 2560 จะอยู่ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งใกลเคียงกับของปีที่แล้วแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจปีนี้จะเริ่มดีขึ้นจากปีก่อนก็ตาม เราคงประมาณการกำไรธนาคารที่ 3.7 หมื่นล้านบาท ในปี 2560, สูงขึ้น 16% YoY จากภาวะกำไรฟื้นตัวจากปีก่อนและ ราคาหุ้น BBL ที่ไม่แพงหรือ อยู่ที่เพียง 0.8x เท่าของมูลค่าทางบัญชีปี 2560, เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ”

คาดสินเชื่อ 2560 โต 4% ... หนุนโดยสินเชื่อภาครัฐและเอกชน

จากสินเชื่อปีที่แล้วเติบโต 4%, เราเชื่อว่า BBL สามารถทำให้สินเชื่อเติบโตได้ใกล้เคียงกับปีที่แล้วเนื่องจากสภาวะเศรฐกิจดูดีขึ้น BBL คาดว่า GDP ปี 2560 เติบโต 3-4%, ขับเคลื่อนโดยโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่กำลังจะมา, การลงทุนของภาคเอกชนที่สูงขึ้น, และแนวโน้มภาค การท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น เราคาดสินเชื่อบริษัทเอกชนและ SME ของ BBL
สูงขึ้น 4% เท่ากัน, ตามมาด้วยสินเชื่อรายย่อยที่ 5%, และสินเชื่อต่างประเทศที่ 3% เราคาด BBL จะมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยปี 2560 ที่ 2.2% ในปี 2560 ลดลงจาก 2.3% ในปี 2559 เนื่องจากการแข่งขันปล่อย สินเชื่อสูงขึ้นมาก เรายังคงประมาณการเติบโต รายได้ค่าธรรมเนียมธนาคารที่ 6.8% หนุนโดย dki-การขายประกันผ่านธนาคาร, ธุรกิจกองทุนรวม, เทรดไฟแนนซ์, และค่าทำเนียมจากธุรกรรมสินเชื่อที่เพิ่มมากขึ้น


คาดอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายจะสูงขึ้นเล็กน้อยปี 2560 และ จะลดลงในปีถัดไป...

จากสถาณการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น, เราเชื่อว่า BBL จะสามารถควบคุมอัตราส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อหนี้ทั้งหมดให้ใกล้เคียงหรือสูงขึ้นเล็กน้อยกับปีที่แล้ว เราคาดการอย่างอนุรักษ์นิยมว่าบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองหนี้สูญได้ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่แล้วแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นก็ตาม สำหรับการเปลี่ยนมาตราฐานบัญชีใหม่ หรือ
IFRS9 จะส่งผลกระทบต่อนโยบายการตั้งสำรองหนี้สูญของบริษัทไม่มากนักเนื่องจาก BBL มีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสะสมต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างแข็งแกร่งที่ 174% ในปี 2559 BBL มีสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อหนี้ทั้งหมดในปี 2559 ที่ 3.2% เรามองว่ามีอัพไซด์ หากธนาคารสามารถลดค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญฯปี 2560 ต่ำ
กว่าที่เราประเมินไว้ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท


เพิ่มประสิทธิภาพจากการใช้เครือข่ายสาขาและการลงทุนพัฒนาระบบดิจิตัลแบงค์กิ้งรับการแข่งขัน

เราเชื่อว่า BBL จะใช้เครือข่ายสาขาเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าบรรษัทและ SME รวมถึงเข้าถึงตลาดลูกค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว มาเลย์เซีย สหภาพเมียนมาร์ และ เวียดนาม) BBL มีสาขาต่างประเทศมากถึง 30 สาขาในตลาด AEC นอกจากนี้ BBL มีการลงทุนระบบดิจิทอลแบงค์กิ้งในระยะยาวเพื่อตอบสนองเทรนใหม่และกิจกรรมทางดิจิทอล (เช่น พร้อมเพย์) ซึ่งเราคาดว่าอาจทำให้ธนาคารต้องลงทุนในระบบดิจิทอล 3 พันล้านบาทในทุกๆปีอย่างต่อเนื่อง เราคาด BBL จะรายงานอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ในปี 2560 ที่ 49% ซึ่งลดลงเล็กน้อยจาก 50% ในปีที่แล้ว (ซึ่งได้มีการรวมค่าใช้จ่ายพิเศษ 3 พันล้านบาทสำหรับหนังสือค้ำประกันให้แก่ลูกค้าในปีที่ผ่านมาและเราคาดว่า BBL จะไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษดังกล่าวอีกในปีนี้)