อสังหาฯชะลอตัว แนะรัฐบาลกระตุ้นนักลงทุนลุยอีสาน

อสังหาฯชะลอตัว แนะรัฐบาลกระตุ้นนักลงทุนลุยอีสาน

อสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว แนะรัฐบาลกระตุ้นนักลงทุนหันมาทางภาคอีสาน

ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ยังคงขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ยังมีการชะลอตัวในเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ในเขตภาคอีสาน ขณะที่ภาครัฐต้องกระตุ้นนักลงทุนเอกชนเพิ่มมากขึ้น

ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายชาญชัย บุรถาวร ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แถลงข่าว เศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ในช่วงนี้เรื่องของการลงทุนของภาคเอกชน ด้านอสังหาริมทรัพย์ติดลบน้อยลงจากช่วงเดือน มกราคม ถึงมีนาคม 2558 เนื่องจากภาคการก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ สอดคล้องกับยอดขายวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น สำหรับเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติ การส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ชะลอลง โดยการลงทุนบางอุตสาหกรรมยังขยายตัวดี

ขณะที่นักลงทุนในท้องถิ่น ยังมีการลงทุนต่อเนื่อง และยังมีการกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดใหญ่ ๆ เช่น นครราชสีมา และขอนแก่น ยังพอมีประปราย จากโครงการในแนวราบยังดีขึ้นอยู่เรื่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กๆ อย่างบ้านหลังละ 2.5-3.5 ล้านบาท แต่ระยะเวลาในการขายจะใช้เวลามากขึ้นมากกว่าที่ผ่านมา ทำให้สะท้อนถึงการชะลอตัวของกำลังซื้อ

เวลานี้ที่พบเห็นอีกส่วนหนึ่ง คือ บริเวณแถบชายแดน อย่าง จ.หนองคาย จ.มุกดาหาร ซึ่งอาจจะเป็นมุมมองของนักลงทุนที่อาจจะพยายามมองไปข้างหน้าเรื่องของการเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในระยะต่อไปที่ค่อนข้างจะชัดเจน และก็เริ่มมีคนลงทุนไปบ้างแล้ว ยกตัวอย่างที่ จ.หนองคาย มีการลงทุนการทำ ดิวตี้ฟรี ไปแล้ว และยังมีแนวโน้มจะไปลงทุนลักษณะนี้ที่ จ.มุกดาหารเพิ่มเติมด้วย จากสถานการณ์ทำให้เห็นว่า การลงทุนยังมีความชะลอตัวอยู่ แต่มีให้เห็นบ้างในบางพื้นที่

ส่วนสถานการณ์การก่อสร้างในช่วงไตรมาสแรกถึงไตรมาสที่สอง เริ่มชะลอตัวลง เพราะเกิดการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจอีกทั้ง นักลงทุนอยู่ในช่วงรอดูสถานการณ์ รอดูเรื่องโครงการของภาครัฐ ดูทิศทางนโยบายภาครัฐที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจว่า จะไปในทิศทางใด แต่ก็ไม่ได้เป็นทั้งหมด แต่เป็นการกขยายการก่อสร้างเป็นจุดๆมากกว่า เช่น ในจังหวัดใหญ่ๆจะมีบ้านแนวราบก็ยังมีทยอยลงมาอยู่ แต่เป็นโปรเจ็คเล็กๆ ซึ่งจะเห็นเป็นจุดๆ อย่าง จ.ขอนแก่น ก็ยังมีการทำอยู่ ที่ จ.อุดรธานีก็ยังพบเห็นอยู่บ้าง

อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะเป็นแรงส่งของเศรษฐกิจภาคอีสาน คือ การใช้จ่ายของภาครัฐซึ่งจะเป็นแรงส่งที่สำคัญต่อเศรษฐกิจภาคอีสาน ต่อเนื่องจากเดือน มกราคมถึงเดือนมีนาคม 2558 โดยมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสู่ระบบเศรษฐกิจกว่า 66,000 บาท ตามการใช้จ่ายในโครงการสร้างรายได้และพัฒนากาเกษตรแก่ชุมชน เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับฐานเงินเดือนข้าราชการที่เริมทยอยจ่ายในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐก็ยังเป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนเพิ่ม ทั้งในแถบจังหวัดชายแดน และจังหวัดใหญ่ๆ ในภาคอีสาน