ทำความรู้จักวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลกระทบวัคซีนโควิด อัปเดตโควิดวันนี้

ทำรู้จักวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลกระทบวัคซีนโควิด อัปเดตโควิดวันนี้

ทำความรู้จักวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลกระทบวัคซีนโควิด พร้อมอัปเดตโควิดวันนี้ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รอบสัปดาห์ ด้านกรมควบคุมโรค เฝ้าระวังสถานการณ์โรคระบาดปี 2567 คาดการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ประมาณ 346,110 ราย

วัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลิตโดยการสังเคราะห์ mRNA ที่เป็นรหัสพันธุกรรมสำหรับการสร้างโปรตีนหนามของเชื้อก่อโรคโควิด-19 หรือSARS-CoV-2 (spike protein) เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกาย mRNA จะทำให้เซลล์สร้างโปรตีนหนามของไวรัส และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ SARS-CoV-2

เนื่องจาก mRNA เป็นรหัสพันธุกรรมเฉพาะส่วนโปรตีนหนามไม่ใช่ไวรัสทั้งตัว จึงไม่ทำให้ผู้ได้รับวัคซีนป่วยเป็นโรคโควิด-19 แต่ร่างกายจะรู้จักส่วนสำคัญที่สุดของไวรัส และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านไวรัสนี้ได้

วัคซีนชนิด mRNA ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO)และกำหนดให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต

 

ผลกระทบวัคซีนโควิด-19 ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อฉีดวัคซีนโควิดชนิด mRNA 

  • อาการปวด บวมบริเวณที่ฉีด เวียนศีรษะ มีไข้ และคลื่นไส้
  • อาการแพ้แบบรุนแรง เช่น หายใจลำบาก ปากบวม หน้าบวม หัวใจเต้นเร็วกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีโอกาสเกิดน้อย

จากการศึกษาพบว่า วัคซีนชนิด mRNA แม้จะกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ได้น้อยลง แต่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดอื่น

 

ทำความรู้จักวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลกระทบวัคซีนโควิด อัปเดตโควิดวันนี้

mRNA คืออะไร?

mRNA คือรูปแบบการสร้างโปรตีนอย่างนึ่งของร่างกาย โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์จะมีผลิต mRNA อยู่แล้ว แต่การสร้างวัคซีน mRNA คือการที่เราต้องการให้ร่างกายสังเคราะห์โปรตีนที่ลักษณะคล้าย ๆ โปรตีนหนาม หรือสไปค์ (spike) โปรตีนของไวรัส เป็นการจำลองลักษณะของไวรัสเข้ามาในร่างกายของเราโดยที่ไม่มีการติดเชื้อ ทำให้ร่างกายเตรียมพร้อมที่จะต่อสู่ หากมีเชื้อไวรัสตัวนั้นเข้าสู่ร่างกาย

 

ทำความรู้จักวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลกระทบวัคซีนโควิด อัปเดตโควิดวันนี้

 

วัคซีน mRNA ย่อมาจาก Messenger Ribonucleic Acid เป็นเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ ที่ลงลึกถึงระดับโมเลกุล จากเดิมที่ใช้โปรตีนของไวรัส หรือใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนแอฉีดเข้าไปร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา แต่สำหรับเทคโนโลยี mRNA จะแตกต่างออกไป

โดยใช้วิธีฉีดพันธุกรรมโมเลกุลที่เรียกว่า mRNA เข้าไปในร่างกาย ซึ่งร่างกายก็จะสร้างโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายหนามของไวรัสโควิด-19 แต่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ขึ้นมา

ซึ่งโปรตีนตัวนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานเพื่อต่อสู่กับไวรัส นอกจากนี้วัคซีนยังมี ไขมันอนุภาคนาโน (lipid nanoparticle) ที่ใช้ห่อหุ้ม mRNA เพื่อป้องกันการ​ย่อยสลายจากเอนไซม์ไรโบนิวคลิเอสซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย

โดยธรรมชาติ สารพันธุกรรม mRNA เหล่านี้จะถูกขจัดออกจากร่างกายภายในระยะเวลาไม่นาน จึงไม่สะสมหรือฝังตัวอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ในร่างกาย

 

ข้อจำกัดของวัคซีน mRNA

 

  • ต้องเก็บรักษาวัคซีนที่อุณหภูมิต่ำมาก เนื่องจาก mRNA ถูกทำลายได้ง่าย
  • ต้องอาศัยนาโนพาร์ติเคิล (Nanoparticle) ซึ่งเป็นสารที่นำมาห่อหุ้มป้องกัน และเป็นตัวนำพา mRNA สารนี้อาจกระตุ้นการแพ้รุนแรงได้
  • การใช้วัคซีนชนิด mRNA ป้องกันโรคโควิด-19
  • ปัจจุบันทั่วโลกฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA มากกว่า 500,000,000 โดส จากการศึกษาพบว่ามีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำประมาณ 3-5 : 1,000,000 โดส ซึ่งใกล้เคียงกับวัคซีนอื่น ๆ ที่กำลังฉีดทั่วโลก โดยภาพรวมถือว่าวัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง และเป็นวัคซีนที่ได้ผลในการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 สูงถึงร้อยละ 95

 

วัคซีน mRNA ประกอบไปด้วย 

วัคซีนไฟเซอร์

ประเทศผู้ผลิต คือ สหรัฐอเมริกา โดยบริษัท BioNTech/Pfizer มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีอาการโดยรวม ร้อยละ 95 มีคำแนะนำให้ฉีดกลุ่มอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยเว้นระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน 3 สัปดาห์

วัคซีนโมเดอร์นา 

ประเทศผู้ผลิต คือ สหรัฐอเมริกา โดยบริษัท Moderna มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีอาการโดยรวม ร้อยละ 94.1 ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงโดยรวม ร้อยละ 100 โดยมีคำแนะนำให้ฉีดกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยเว้นระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน

 

ทำความรู้จักวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลกระทบวัคซีนโควิด อัปเดตโควิดวันนี้

อัปเดตโควิดวันนี้ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19)

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงาน โควิดวันนี้ ระบุ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 21 - 27 เมษายน 2567 โดยมี

  • ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 1,672 ราย : เฉลี่ยรายวัน 239 ราย/วัน
  • ผู้เสียชีวิต (รายสัปดาห์ 9 ราย : เฉลี่ยรายวัน 1 ราย/วัน
  • ผู้ป่วยสะสม 11,265 ราย (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2567)
  • เสียชีวิตสะสม 81 ราย (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2567)
  • ผู้ป่วยปอดอักเสบ 390 ราย
  • ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 148 ราย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม อัปเดตโควิดวันนี้ (คลิก)

 
ด้าน นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยพยากรณ์คาดการณ์ปี 2567 สถานการณ์โรคระบาด และโรคที่ต้องเฝ้าระวังจากข้อมูลการระบาดและปัจจัยแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยในปีนี้จะมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2567 นี้ อาจพบการระบาดของโรคของ 3 โรค ดังนี้

โรคโควิด-19 

ถือเป็นโรคที่ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง แม้ประชาชนส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกัน สามารถลดความรุนแรงเมื่อติดเชื้อ แต่ต้องเฝ้าระวังในกลุ่มเปราะบาง 608 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน มะเร็ง และหญิงตั้งครรภ์ ที่ต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย  ปีละ 1 ครั้ง หากไปในสถานที่เสี่ยงให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ 

โดยปี 2566 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยทั้งหมด 652,868 ราย เสียชีวิต 848 ราย จึงได้มีการคาดการณ์ว่าปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 649,520 ราย 

โรคไข้หวัดใหญ่ 

เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกันกับโรคโควิด 19 มีความรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ซึ่งประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนโควิดได้พร้อมกันปีละ 1 ครั้ง ข้อมูลสถานการณ์ในปี 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 460,325 ราย เสียชีวิต 29 ราย และคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 346,110 ราย

 

ทำความรู้จักวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลกระทบวัคซีนโควิด อัปเดตโควิดวันนี้

 

โรคไข้เลือดออก 

มียุงลายเป็นพาหะ โดยในปี 2566 พบผู้ป่วยทั้งหมด 156,097 ราย เสียชีวิต 187 ราย

และคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะพบผู้ป่วยประมาณ 276,945 ราย เสียชีวิต 280 ราย ดังนั้นประชาชนทุกคนต้องช่วยกันเก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บภาชนะให้สะอาดเรียบร้อย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย

 

ทำความรู้จักวัคซีนโควิดชนิด mRNA ผลกระทบวัคซีนโควิด อัปเดตโควิดวันนี้

 

อ้างอิง-ภาพ : ศ. พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล , ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ,โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม