'จีน' ลุยควบรวมแบงก์ท้องถิ่นขนาดเล็กต่อเนื่อง หลังหนี้เสียพุ่ง 3.48%

'จีน' ลุยควบรวมแบงก์ท้องถิ่นขนาดเล็กต่อเนื่อง หลังหนี้เสียพุ่ง 3.48%

“จีน” เดินหน้าควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมธนาคารครั้งใหญ่ โดยเน้นไปที่ธนาคารขนาดเล็กในท้องถิ่นท่ามกลางสัญญาณความเครียดทางการเงินที่เพิ่มขึ้น

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานว่า ทางการจีนอยู่ในช่วงควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมธนาคารครั้งใหญ่ที่สุดโดยรวมผู้ให้กู้ในชนบทหลายร้อยรายเข้าด้วยกันท่ามกลางสัญญาณความเครียดทางการเงินที่เพิ่มขึ้น


ทั้งนี้ หลังจากความพยายามควบรวมกิจการของสหกรณ์ท้องถิ่น (Rural Cooperatives) และธนาคารพาณิชย์ในชนบทในอย่างน้อย 7 จังหวัดตั้งแต่ปี 2565 ผู้กําหนดนโยบายระบุว่าการจัดการกับความเสี่ยงที่ภาคธุรกิจมูลค่า 6.7 ล้านล้านดอลลาร์ เป็นหนึ่งในความสําคัญสูงสุดสําหรับปีนี้ นั่นหมายความว่าการควบรวมกิจการอีกระลอกกําลังจะเกิดขึ้นทั่วประเทศ


ด้านบทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก เผยว่า อุตสาหกรรมการธนาคารของจีนได้รับผลกระทบจากปัญหามากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เช่น การตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์และเศรษฐกิจที่เปราะบาง โดยธนาคาร 2,100 แห่งในระบบสหกรณ์ชนบทมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Bad-loan Ratio) อยู่ที่ 3.48% ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งสูงกว่าอัตราส่วนของอัตราสินเชื่อด้อยคุณภาพ
 

"จีนผลักดันการปฏิรูปให้เร็วขึ้นเพราะสถาบันการเงินขนาดเล็กนับเป็นจุดเสี่ยงของเศรษฐกิจจีน " หลิว เสี่ยวชุน (Liu Xiaochun) รองผู้อํานวยการ Think-Tank Shanghai Finance Institute กล่าว พร้อมเสริมว่า

 "และทางออกสําคัญอย่างหนึ่งในการแก้ไขความเสี่ยงคือ การควบรวมกิจการและการปรับโครงสร้างองค์กร"

 

 

 

วิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของจีนกำลังกลายเป็นปัญหาด้านการเมืองเช่นกัน โดยประชาชนหลายร้อยคนในมณฑลเหอหนานได้ออกมาประท้วงเมื่อปี 2565 หลังจากธนาคารท้องถิ่นหลายรายได้ยักยอกเงินลูกค้าหลายพันล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้ประชาชนเหล่านี้ออกมาเรียกร้องให้ธนาคารคืนเงินฝากให้กับพวกเขา

ที่ผ่านมาความปั่นป่วนในภาคธนาคารพาณิชย์กลับกลายไปเป็นปัญหาทางด้านการเมืองเช่นกัน เพราะเมื่อปี 2565 ประชาชนหลายร้อยคนในมณฑลเหอหนานออกมาประท้วง หลังจากธนาคารท้องถิ่นจำนวนมากยักยอกเงินลูกค้าหลายพันล้านดอลลาร์

อ้างอิง

Bloomberg 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์