วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ กนง.ขึ้นดอกเบี้ยก็ลบ ไม่ขึ้นก็บาทอ่อนแรง

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ กนง.ขึ้นดอกเบี้ยก็ลบ ไม่ขึ้นก็บาทอ่อนแรง

ส่งออกส.ค.เริ่มมีสัญญาณบวกแต่ยังน่ากังวลจากนำเข้าที่หดตัวแรง ตัวเลขส่งออก ส.ค. กลับมาเติบโต +2.6% YoY ขณะที่นำเข้า -12.8% โดยสินค้าเกษตรขยายตัว +4.2% / อุตสาหกรรมเกษตร -7.6% / สินค้าอุตสาหกรรม +2.5%

โดยภาพรวมถือว่าภาพการส่งออกของไทยในเดือนส.ค. ดีกว่าประเทศอื่นๆที่ส่วนใหญ่การส่งออกยังติดลบ (อินเดีย -6.9%, ไต้หวัน -7.3%, เกาหลีใต้ -8.3%, จีน -8.8%, สิงคโปร์ -12.6%, มาเลเซีย -21.2%, อินโดนีเซีย -21.2%) // สินค้าอุตสาหกรรมที่โตดี ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ (+5.2%), แผงวงจรไฟฟ้า (+39.8%), เครื่องจักรกล (+6.4%), โทรศัพท์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (+74.5%) // สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่โตดี ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง (+99.8%), ข้าว (+10.8%), สิ่งปรุงรสอาหาร (+28.6%), ผักกระป๋องและแปรรูป (+26.5%), นมและผลิตภัณฑ์นม (+13.2%) สำหรับสินค้าเกษตรที่ชะลอตัวลง ได้แก่ ยางพารา (-32.9%), มันสำปะหลัง (-12.8%), อาหารทะเลประป๋องและแปรรูป (-9.7%), น้ำตาลทราย (-23.1%) และไก่แปรรูป (-12.8%) // สำหรับอาหารสุนัขและแมว ส.ค. -13.6% (จาก ก.ค.ที่ -15.4%)
 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรในระดับสูง ยังเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อหุ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ผลประกอบการไม่แน่นอน ความน่าสนใจของการลงทุนในหุ้น (Earnings yield gap: EYG) ที่ลดลงอย่างรวดเร็วจากการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงนี้ สร้างแรงกดดันต่อภาพการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก และทำให้เกิดความเสี่ยงการปรับฐานแรงในหุ้นที่แนวโน้มกำไรอ่อนแอหรืออาจจะปรับลดลงในอนาคต ซึ่งเรามองภาพการปรับประมาณการจะนิ่งมากขึ้นหลังการประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/66 ในช่วง ต.ค.-ต้นพ.ย. อย่างไรก็ตามในระยะสั้น ตลาดอาจถูกถ่วงจากแรงทำกำไร ทำให้ในเชิงกลยุทธ์ต้องเน้นหุ้นที่มีความเสี่ยงปรับประมาณการกำไรต่ำ หรือมีแนวโน้มกำไรช่วงครึ่งปีหลัง หรือในระยะยาวที่แข็งแรง รวมถึงอาจมองหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทที่มีโอกาสอ่อนค่าในระยะกลาง-ยาว อาทิ การแพทย์ สื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร/เกษตร 

ภาพรวมกลยุทธ์: ยังเน้นเก็งกำไรแบบกำหนดจุดตัดขาดทุน ช่วงสั้นอาจผันผวนจากการประชุมกนง. ซึ่งเรามองตลาดจะตอบรับเป็นลบไม่ว่าขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ขึ้น (เราคาดขึ้น 0.25%) ส่วนต่างดอกเบี้ยนโยบายไทย-สหรัฐฯ ที่กว้าง จะยังเป็นปัจจัยกดดันเงินทุนไหลออกที่กระทบหุ้นใหญ่ ทำให้การลงทุนจะอยู่ในรูปของการเก็งกำไรจนกว่าจะเห็นประมาณการกำไรบจ.ปรับขึ้นอย่างชัดเจน // หุ้นเด่นที่เราชอบในช่วง ก.ย.-ธ.ค. ได้แก่ PTTEP, TOP, PTG, OR / CPAXT, TIDLOR / AOT, AWC, SPA / CPN, AP

หุ้นแนะนำ: BDMS*, BCH*, TU*, SVI*

แนวรับ: 1,485-1,490 / แนวต้าน : 1,520 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

เจพีมอร์แกนเตือนทั่วโลกไม่พร้อมรับมืออัตราดอกเบี้ยเฟด – โดยสถานการณ์เลวร้ายที่สุด เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 7% ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงันในเวลาเดียวกับที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับสูง (Stagflation) 

พาณิชย์ชี้แม้ภัยแล้งกระทบเงินเฟ้อไม่มาก แต่ยังต้องจับตา - ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ โดยสินค้ากลุ่มอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ ซึ่งมีสัดส่วนค่อนข้างมากประมาณ 41.34% ของตระกร้าเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต ปริมาณ และราคาในตลาดโลก ที่จะผลักให้ราคาสินค้าในประเทศขึ้น

 


 

WHA ขยับเป้าขายที่ดินขึ้น - เป็น 2,750 ไร่ จากเป้าล่าสุดที่ปรับขึ้นมาที่ 2,500 ไร่ เนื่องจากความต้องการของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนชาวจีนที่มีการขยายฐานการผลิตออกมานอกประเทศ ทำให้ความต้องการซื้อที่ดินกลับมาสูงขึ้น โดยเฉพาะนิคมอุตสลหกรรม WHA ในเวียดนามที่ทำยอดขายได้ดีกว่าที่คาดไว้ 

ส่งออกดีเกินคาด ASIAN มาร์จิ้นดีด – ส่งออกเหนือคาด พลิกบวก 2.6% ครั้งแรกรอบ 11 เดือน สินค้าเกษตรกลับมาดี เงินบาทอ่อนค่าหนุน อาหารสัตว์เลี้ยงฟื้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ด้าน ASIAN ยอมรับปัญหาสต๊อกคลี่คลาย คาด 4Q23 กลับมาสั่งฉลุยรับเทศกาล ส่วนธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งมาแรงสุด ออเดอร์สินค้าไฮแวลูสูง ดันมาร์จิ้น 

 

ประเด็นติดตาม: 27 ก.ย. - ประชุม กนง. ซึ่งธปท.จะมีการปรับลดคาดการณ์ GDP ลง, US Core Durable Goods Orders/ 28 ก.ย. – US GDP, Pending Home Sales, Fed Chair Powell Speaks

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)