มท. จับมือ หอการค้าไทย ยกระดับเมืองและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

มท. จับมือ หอการค้าไทย ยกระดับเมืองและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

กระทรวงมหาดไทย และ หอการค้าไทยเน้นย้ำ ความร่วมมือที่เข้มแข็งของ Partnership จะทำให้ได้รับการยกระดับเป็นเมืองหลักแห่งการท่องเที่ยว ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ยกระดับเมืองและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (นครพนมโมเดล)เป็นโมเดลเริ่มต้น

ทั้งนี้รัฐบาลความสำคัญในการขับเคลื่อนการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ ด้วยการพัฒนาเมืองรองให้เป็นเมืองหลักโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยกระทรวงมหาดไทยได้นำนโยบายดังกล่าว ขับเคลื่อนอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ได้แก่ 

ประการที่ 1 สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้ความสำคัญกับการเป็น Partner ที่ดีของหอการค้าและคณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) และทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยกำหนดเป็น KPIs ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องร่วมประชุม ร่วมปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อสรุปในการช่วยกันแก้ไขปัญหา ช่วยกันพัฒนา ช่วยกันดำเนินการเป็นประจำต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง

ประการที่ 2 ให้ทุกจังหวัด ทำงานบนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งในปีนี้ทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอจะทำให้เกิดการรวมกลุ่ม รวมตัว เพื่อดูแลหมู่บ้านทุกหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านที่สอดคล้องกับการเป็นเมืองท่องเที่ยว คือเป็น "หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)" ด้วยการขับเคลื่อน SDGs สอดคล้องกับความมุ่งมาดปรารถนา เพื่อหนุนเสริมทำให้จำนวนนักท่องเที่ยว จำนวนคน จำนวนเวลาให้นานขึ้น อันจะทำให้คนนครพนมมีโอกาสสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทำให้นครพนมเป็น Restination 

ประการที่ 3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพูดคุยหารือกับ 7 ภาคีเครือข่าย ทั้งภาคราชการ ภาคศาสนา ภาควิชาการ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน วิเคราะห์ค้นหาจุดแข็ง/จุดอ่อนในทุกพื้นที่ เพื่อกำหนดวิธีการพัฒนาต่อยอดตอบสนองการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในจังหวัด เพราะนครพนมมีจุดแข็งหลายประการ อาทิ มีเส้นทางขี่จักรยานชมแม่น้ำโขงที่ดีที่สุดในโลกอยู่ที่นครพนม และพุทธศาสนิกชนมีความเชื่อว่าหากใครได้เวียนเทียนรอบพระธาตุพนมครบ 7 ครั้ง จะรอดปลอดภัย อันสะท้อนว่า นครพนมมีเรื่องราว (Story) และมี Soft Power มากมาย ทั้งสุขภาพ อาหาร เสื้อผ้า เป็นต้น 

ประการ 4 หนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญของหมู่บ้านยั่งยืน คือ "ความปลอดภัย" โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด ซึ่งขณะนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ได้ร่วมกับทีมจังหวัด ค้นหาคนจิตเภทจากการใช้สารเสพติดและจากโรคทางจิตเวชเข้ารับการบำบัดรักษา เพื่อป้องกันคนกลุ่มนี้ไม่ให้สร้างความหวาดระแวงให้กับสังคม อันจะหนุนเสริมให้เกิดเมืองที่น่าอยู่ปลอดภัย 

ประการที่ 5 ในเรื่องการจัดการน้ำเสีย ในเชิงระบบ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2566) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับระบบการระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลตั้งแต่ครัวเรือน เพื่อให้ระบบการระบายน้ำทิ้งเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยในส่วนของระบบบำบัดน้ำเสียรวม องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) สามารถขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่การศึกษาเพื่อวางแผน และเมื่อมีผลการศึกษาจึงเข้าสู่กระบวนการจัดทำคำของบประมาณ 

ประการที่ 6 กระทรวงมหาดไทยได้ช่วยหนุนเสริมให้นครพนมมีช่องทางสื่อสารสิ่งที่เป็นเรื่องที่ดีเด่นสู่สังคมมากขึ้น ทั้ง Branding Packaging อย่าง "นาหว้าโมเดล" ของศูนย์ศิลปาชีพแห่งแรกในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ ในแง่เชิงระบบต้องใช้งบลงทุนจำนวนมากในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีนักธุรกิจเป็นผู้นำ รัฐหนุนเสริม

"จากการร่วมหารือกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม และท่านประธานหอการค้าจังหวัดนครพนม ทำให้เห็นว่า ภาคีเครือข่ายของจังหวัดนครพนมมีความ Smart คือ ทำการบ้านดี มีเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อทำให้นครพนมมีเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่งคั่งและยั่งยืน คือ การสร้างตัว สร้างภาพ สร้างเรื่อง สร้างชื่อ สร้างโลก อย่างมีเสน่ห์ 

ภายใต้การยกระดับเมืองและกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (นครพนมโมเดล) ได้กำหนดเป้าหมาย ระยะ 5 ปีจะมี GDP เติบโต 7% ทุกปี รายได้ประชากรเติบโต 5% ทุกปี ทั้งนี้ ปี 2566 มีรายได้จากการท่องเที่ยว 3,500 ล้านบาท เราจะทำให้ใน 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นเป็น 8,700 บาท ในด้านจำนวนนักท่องเที่ยว ปี 2566 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 2.5 ล้านคน ทำให้ใน 5 ปีข้างหน้า มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 3.6 ล้านคน

"นำหลัก 5 สร้าง คือ "สร้างตัว" โดยกำหนด Sustainable Goals เพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ "สร้างภาพ" ภาพลักษณ์ของนครพนมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว "สร้างเรื่อง" นำเสนอเรื่องราวเพื่อดึงดูดการท่องเที่ยว เพื่อทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนมากขึ้น "สร้างชื่อ" ทำให้เกิดนครพนมแฟชั่นวีค เริ่มจากนาหว้าโมเดล และ "สร้างโลก" ให้งานกิจกรรมประเพณีเป็นงานระดับโลก