'สภากาชาดไทย' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน

'สภากาชาดไทย' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน

การจัดสร้าง 'มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช' เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภ์สภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ และสมทบทุนสภากาชาดไทย

สภากาชาดไทย ร่วมกับ บริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด แถลงข่าว โครงการสืบสานมรดกทางพุทธศาสน์ ไทย ภูฏาน เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา จัดสร้าง มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภ์สภากาชาดไทย

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 และเพื่อสร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยและประเทศภูฏาน

 

รวมถึงเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภูฏาน และเพื่อนำรายได้หักค่าใช้จ่ายสมทบทุนโครงการเงินทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย และเพื่อจัดสร้างวิหาร ณ ประเทศภูฏาน

จัดงานแถลงข่าว จัดสร้าง มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ณ SCBX Next TECH พารากอน

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

โดยมี ขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย, ม.ร.ว. รุจยาภา อาภากร Chief Operating Officer บริษัทเฟรชแอร์เฟรชติวัล จํากัด, วินิจ เลิศรัตนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเฟรชแอร์เฟรชติวัล จํากัด, อาจารย์วันชัย รวยอารี ที่ปรึกษาโครงการ, Colonel Kuenzang Wangchuk, มยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายองค์กรสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, ฉัตรชัย แผ่นผา ผู้รังสรรค์ผลงานปฏิมากรรม

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ความบังเอิญในโลกนี้ ไม่มีอยู่จริง

วินิจ เลิศรัตนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเฟรชแอร์เฟสติวัล จํากัด กล่าวว่า เป็นเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์ เป็นแรงบันดาลใจอีกครั้งหนึ่งของชีวิต

"ด้วยบุญบารมี และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของ มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช ทุกอย่างในโลกไม่มีความบังเอิญ ทุกอย่างถูกกำหนดมาตั้งแต่เราเริ่มต้นชีวิตแล้ว

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

องค์พระ มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เป็นสัญลักษณ์ของความเลื่อมใส ความศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาของทั้งสองประเทศ คือไทยและภูฏาน

ที่สำคัญ จิตวิญญาณ ประเพณี วัฒนธรรม ผู้คน ภูฏานกับไทย เชื่อมติดกัน ยากที่จะแยก ทั้งสองแผ่นดินมีโอกาสจัดสร้างวิหาร ที่จะเปิดให้พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้เข้าไปนมัสการ และสมทบทุนสภากาชาดไทย

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

เปิดให้จอง และจะมีพิธีพุทธาภิเษก ซึ่งผู้ที่จององค์ใหญ่สุดและองค์กลางจะมีโอกาสได้เข้าร่วมในพิธี และเข้าเฝ้า รับพระราชทานใบเซอร์ทิฟิเคท(Certificate)ด้วย

องค์คุรุรินโปเช มีจำนวนน้อยมาก ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่สภากาชาดไทยและเฟรชแอร์เฟสติวัล"

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน

  • ถ้ามีเงินในกองทุนภัยพิบัติ จะช่วยเหลือคนที่ประสบภัยได้ทันที

ขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย กล่าวว่า สภากาชาด เป็นองค์กรสาธารณกุศล ดำเนินภารกิจด้านมนุษยธรรม มา131 ปีแล้ว

"ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน ผู้ยากไร้ ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ มาร่วมงานนี้เพื่อหาทุนให้กับกองทุนภัยพิบัติของสภากาชาดไทย

เวลามีอุทกภัย วาตภัย หรือภัยพิบัติเกิดขึ้นกับคนไทยทั่วประเทศ เราสามารถใช้เงินจากกองทุนนี้เข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที โดยที่ไม่ต้องไปหาทุนหรือเรี่ยไรเมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น จะสามารถช่วยคนไทยได้อย่างรวดเร็ว

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

มีการจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครราชูปถัมภก สภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

มวลสารที่ได้มาจากวัดทั่วประเทศในภูฏาน สำนักพระราชวังภูฏานรวบรวม โอกาสที่จะออกมานอกประเทศยากมาก เป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ผ่านพิธีจากแต่ละวัด ๆ ที่มีอายุพันกว่าปี มาบรรจุในองค์พระทุกองค์

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

ในการนี้ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีพุทธาภิเษก

พร้อมด้วย สมเด็จพระพันปี เชอริง เพม วังชุก แห่งราชวงศ์ภูฏาน Her Majesty Queen Tshering Pem Wangchuk ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567"

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ศาสนาพุทธ เป็นหนึ่งเดียวกัน

วันชัย รวยอารี ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่สงบและสวยงาม

"พุทธศาสนา เปรียบประดุจสายน้ำที่มาจากต้นน้ำเดียวกัน นั่นคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้แตกแยกลำธารออกมาหลายสายธาร ไม่ว่า มหายาน วัชรยาน เซ็น เถรวาท

ทุกสายน้ำที่แตกแยกออกไป ไปตามสาวกที่มีจิตเจตนาจะถ่ายทอดออกไปตามความเชื่อ

หลักการพุทธศาสนา แยกออกมาได้สองลักษณะคือ หลักของเหตุผล และหลักของความเป็นจริง ตามพระไตรปิฎก

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

แต่อีกสายธารหนึ่งจะเป็นสายธารแห่งจิตวิญญาณ ใช้พลังจิตวิญญาณของตัวเองดำเนินการให้บรรลุในหลักธรรมคำสั่งสอน และบรรลุนิพพาน นั่นคือ วัชรยาน / ตันตระ หมายถึงการร้อยเรียง การเชื่อมโยง ความผูกพัน

องค์พระ มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช ที่จัดสร้าง มี 2 รูปแบบ ได้แก่ องค์ตั้งบูชาหน้าตัก 4 นิ้ว ความสูงรวมฐานหินอ่อน 19 นิ้ว บูชาองค์ละ 299,999 บาท (จัดสร้างจำนวน 108 องค์)

เหรียญมหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เนื้อเงินชุบนาค ผลิตจากทองคำบริสุทธิ์ 96.5 หนัก 1 บาท บูชาองค์ละ 199,999 บาท (จัดสร้างจำนวน 593 องค์)"

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน

ฉัตรชัย แผ่นผา ผู้รังสรรค์ผลงานประติมากรรม กล่าวว่า องค์พระ มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เป็นตัวแทนศรัทธาผ่านศิลปะของภูฏาน ความอ่อนช้อยสง่างามของลายกนกไทย เชื่อมโยงสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

ภาพจำลองจากองค์จริง ที่ประดิษฐานอยู่ในโถงถ้ำ ซึ่งสมเด็จพระพันปีหลวง เชอริง เพม วังชุก ทรงสุบินนิมิตเห็นมังกร 9 ตัว บินออกมาจากภูเขา จึงได้มีการสร้างวิหารขึ้นในตำแหน่งนั้น

มังกร 9 ตัว คือสัญลักษณ์แสดงถึงอำนาจจักรพรรดิ วางองค์พระลงบนบัลลังก์ดอกบัว วางฉัพพรรณรังสีไว้ด้านหลังพระเศียร ล้อมด้วยช่อดอกไม้ลายศิลป์ของภูฏาน

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

ผสมผสานกับลายกนกที่เลื้อยสอดรับ กำหนดเส้นโค้งล้อมรอบ แทนความรู้สึกถึงการรวมศูนย์และการแผ่ขยาย สร้างฐานรองรับด้วยก้อนเมฆพันมังกร

มังกรตัวสุดท้ายด้านบนใช้มือทั้งสองข้างกุมก้านดอกบัว 2 ดอก เป็นสัญลักษณ์แทนพุทธะทั้งสองดินแดน และพระนามขององค์ปัทมสัมภวะ

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

วางตำแหน่งของวิหารไว้ด้านหลัง ตั้งรับด้วยก้านกนกเป็นแกนกลางขับเคลื่อนเมฆมังกร โดยมีตราสัญลักษณ์ราชวงศ์ภูฎาน ประดับไว้ส่วนบนด้านหลังวิหาร

องค์มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เป็นศูนย์รวมความมหัศจรรย์ ความงดงามแห่งจิตวิญญาณ และความศักดิ์สิทธิ์แห่งพร 3 ประการ อายุวัฒนะ วรรณะเรืองรุ่ง พร้อมซึ่งปัญญา"

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ผู้เกิดจากดอกบัว

จิระนันท์ พิตรปรีชา ผู้จัดทำเนื้อหาในโครงการฯนี้กล่าวว่า มหาสิทธาคุรุปัทมสัมภว คุรุรินโปเช พระนามท่านแปลว่า ผู้เกิดจากดอกบัว เป็นวัชราจารย์ผู้เผยแผ่พุทธศาสนาสายวัชรยาน นิกายญิงมาปะ

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 คุรุรินโปเช เป็นคำเรียกขานท่านในฐานะ รัตนาจารย์ ตามคติพุทธมหายาน ถือว่า คุรุทางจิตวิญญาณคือดวงแก้วลำดับที่ 4 รองจากพระรัตนตรัย 

ยกย่องท่านเป็นครูอาจารย์ผู้ประเสริฐสุด เป็นอริยบุคคลผู้ได้รับความเคารพบูชา จากพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน ทั้งในทิเบต เนปาล ภูฏาน และประเทศใกล้เคียง มีรูปเคารพอยู่ทั่วไปให้กราบไหว้บูชา ขอพร มากว่าหนึ่งพันปี  

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน

Cr. Kanok Shokjaratkul

คาถาบูชา มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช

โอม อา หุม วัชร คุรุ ปัทเม สิทธิ หุม

ความหมาย: ด้วย กาย วาจา ใจ น้อมรับ วัชร (สายฟ้า/เพชร สัญลักษณ์ของความแกร่งกล้า ฝ่าฟันบรรลุ จรัสกระจ่าง พ้นจากความมืดบอดในวัฏสงสาร ที่มาของชื่อนิกายวัชรยาน) คุรุ (ครูอาจารย์ผู้มีความสำคัญรองจากพระรัตนตรัย) ปัทมะ (ดอกบัว สัญลักษณ์แทนปัญญาบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสมลทิน และเป็นพระนามของท่านปัทมสัมภวะ) สิทธิ (สำเร็จ/บรรลุ) หุม (คำลงท้ายบทคาถา)

ปราชญ์สายวัชรยานท่านหนึ่งได้อธิบายว่า มนตรา 12 พยางค์นี้ แต่ละพยางค์คือคำศักดิ์สิทธิ์ เสมือนพรอันประเสริฐที่กลั่นกรองจากธรรมะ 12 หมวด (แบ่งย่อย 84000 พระธรรมขันธ์) ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน Cr. Kanok Shokjaratkul

หนึ่งในศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของประเทศภูฏาน คือ วิหารถ้ำ โกเอน เชอปู เน เป็นจุดหมายของผู้แสวงบุญมานานนับร้อยปี เพื่อบูชาขอพรเรื่องมีอายุยืนยาว เป็นที่ประดิษฐานของ องค์คุรุรินโปเช ปางประทานพร” เชื่อกันว่า การมาบูชา สวดมนต์ภาวนาที่นี่ จะทำให้ได้พรอันวิเศษสุด ทั้งทางโลก และทางธรรม"

ข้อมูลเพิ่มเติม : บริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด โทร. 02 117 9634

สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย โทร. 02 256 4623, 02 256 4440-3

รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบกองทุนฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย และเพื่อบูรณะจัดสร้างวิหาร โกเอน เชอปู เน ณ ประเทศภูฏาน

\'สภากาชาดไทย\' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน