กทม. ชูแนวทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 

กทม. ชูแนวทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีปัญหาที่ใหญ่มาก โดยเฉพาะใน กทม. ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ฝุ่น PM 2.5 ความร้อนสะสมในเมืองการรับมือต่างๆ ต้องมีนโยบายรองรับจากทางภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้

นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร กล่าวในงาน NEXT STEP THAILAND 2024 : Next Eco-System Tech & Sustain จัดโดย สปริงนิวส์ ว่า กทม.ต้องรับมืออย่างหนักกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ      

1.การปรับตัว และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีปัญหาหนักขึ้น กับปัญหาใหม่ที่ต้องหันมารับมือปัญหาเดิมอย่างน้ำท่วม โดยแนวทางของผู้ว่าราชการคือ เดิมเน้นเมกะโปรเจกต์ทำอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ แต่มีปัญหาน้ำไม่ถึงอุโมงค์ระบายน้ำ เพราะคลอง และท่อมีไขมันอุดตัน รวมถึงมีเรื่องของขยะที่ติดอยู่ ก็ต้องไปเน้นทำเรื่องเส้นเลือดฝอยของลอกท่อมากขึ้น

2.ฝุ่น และจุดเผาที่เพิ่มขึ้นในสภาวะเอลนีโญ โดยจุดที่กระทบกรุงเทพฯ คือ กัมพูชาที่มีจุดฮอตสปอตวันละ 3,000-4000 จุด ซึ่งต้องประสานงานรัฐบาลในการเจรจาประเทศเพื่อนบ้าน ในการควบคุมจุดเผามากขึ้น โดยจะสังเกตจากตัวเลขพบว่าจุดเผาในประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเกือบ 100%

ทั้งนี้ กทม.มีปัญหาใหม่เรื่องความร้อนที่ตอนนี้ให้ความสำคัญ โดยได้ออกแผนมาตรการรับมือกับความร้อนไม่ว่าจะเป็นการป้องกันสุขภาพ เจ้าหน้าที่ กทม.ที่ทำงานในพื้นที่ข้างนอกเยอะ เช่น เจ้าหน้าที่ลอกคลอง พนักงานในสวน พนักงานกวาดถนนต่างๆ รวมถึงคนงานไซต์งานก่อสร้าง ซึ่งได้หารือหลายกลุ่มมูลนิธิที่ดูแลแรงงานก่อสร้างโดยเฉพาะคนต่างด้าว เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้ตระหนักสุขภาพ

รวมถึงการเพิ่มจุดที่ลดความร้อนในเมือง ไม่ว่าจะการปลูกต้นไม้ รวมถึงการทำสวนสาธารณะเพิ่มขึ้น หรือการทำห้องเรียนปลอดฝุ่น และเพิ่มคุณภาพการเรียนให้นักเรียนในกรุงเทพฯ โดยมีเป้าภายในปี 2030 ลดคาร์บอนลง 19% และตั้งใจลดให้ได้ Net zero ภายในปี 2050 

นอกจากนี้มีเป้าหมายระยะสั้น ภายในปี 2030 ต้องลดคาร์บอนลง 19% ซึ่งต้องเพิ่มการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และส่งเสริมอาคารอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้การมีประสิทธิภาพทางพลังงานรายปีชัดเจน

รวมทั้งการส่งเสริมเมืองสีเขียวแต่ละด้านเช่น การขนส่ง ซึ่งอาจจะไม่ได้เน้นการทำรถไฟฟ้าขนาดใหญ่แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทำระบบเส้นเลือดฝอยให้ประชาชนเข้าถึงระบบรถไฟฟ้าสะดวกที่สุด เพราะว่าถ้ามีเส้นเลือดใหญ่ที่ดีแต่เส้นเลือดฝอยเนี่ยยังไม่สะดวกคนยังเข้าถึงรถไฟฟ้าไม่ได้ ก็ไม่เลือกที่จะใช้ระบบขนส่งมวลชน ก็จะใช้รถยนต์ส่วนตัว

รวมถึงส่งเสริมเรื่องการทางเท้า และเลนจักรยานต่างๆ และเรื่องของการคัดแยกขยะอันนี้สำคัญ ที่ผ่านมาก็ได้มีการรณรงค์ชัดเจนแล้วก็ได้รถขยะเฉลี่ยประมาณ 500 ตันต่อวันการใช้ไฟส่องสว่าง เปลี่ยนเป็น LED ประหยัดพลังงานให้กับเมือง

นอกจากนี้เพิ่มพื้นที่สีเขียวต้นไม้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการปลูกต้นไม้ไปแล้ว 800,000 ต้น จากเป้าของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ 1 ล้านต้น ส่วนพื้นที่สีเขียวมีนโยบายให้เข้าถึงสวนได้ภายใน 15 นาที โดยมีระยะทางเดิน 800 เมตร 

"เรื่องความเท่าเทียมของสวนไม่ใช่แค่มีสวนใหญ่ๆ อยู่กลางเมืองแล้วคนต้องขับรถจากต่างเขตมา แต่ควรต้องมีสวนใกล้บ้าน นี่คือ สิ่งที่พยายามจะส่งเสริมมันจะเป็นสวนเล็กๆ น้อยๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่มากอย่างภาพที่เห็น แต่ก็เป็นที่คนก็สามารถเดินเข้าถึงได้สะดวก"

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์

กทม. ชูแนวทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ