"การทูตเชิงเศรษฐกิจ" พลิกบทบาท "ไทย" เจ้าภาพ APEC2022

"การทูตเชิงเศรษฐกิจ" พลิกบทบาท "ไทย" เจ้าภาพ APEC2022

ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจ และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ต้องได้รับการฟื้นฟู หลังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จะเป็นโจทย์ใหญ่ท้าทายประเทศไทย ในฐานะเจ้าภาพกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ปี 2565

ดอน ปรมัตถ์วินัย” รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กรุงเทพธุรกิจว่า ประเทศไทยวางบทบาททางการทูตไว้อย่างชัดเจน

โดยเฉพาะยุคนี้ที่ต้องให้ความสำคัญกับการทูตเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นศาสตร์ทางการทูต แขนงหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลาตลอดปี 2565 ไทยจะใช้โอกาสเป็นเจ้าภาพเอเปค สร้างโอกาสให้กับประชาชนไทยทุกคน รวมทั้งแสดงศัพยภาพของประเทศไปสู่สายตาชาวโลก 

การประชุมเอเปคปี2565 ภายใต้แนวคิด “Open. Connect. Balance.” หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” 

Open คือการเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ จะอำนวยความสะดวกการค้าการลงทุนเน้นขับเคลื่อน FTAAP

Connect มุ่งเกิดเชื่อมโยง ฟื้นฟูความเชื่อมโยง โดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว

Balance สู่สมดุล เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน และครอบคลุมเน้นแลกเปลี่ยนมุมมอง BCG
 

\"การทูตเชิงเศรษฐกิจ\" พลิกบทบาท \"ไทย\" เจ้าภาพ APEC2022

การดำเนินนโยบายทูตเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทย จะต้องพิจารณาตามบริทัศน์ของไทยในแต่ละตำแหน่ง

1.ระดับประเทศ เราจะต้องรู้ถึงความต้องการภายในประเทศเสียก่อน ซึ่งประเด็นสำคัญที่เน้นในเวทีเอเปค สอดคล้องกับโจทย์ของประเทศคือ ต้องการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 และการก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง 

2.ระดับภูมิภาค ระดับภูมิภาค ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศพร้อมจะส่งเสริมเศรษฐกิจไทย ผลักดันบทบาทในอนุภูมิภาคและอาเซียนให้มีความมั่นคง และเจริญรุ่งเรือง

3.ระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น เอเปค กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยแล้ว ต้องเตรียมพร้อมในการรับมือกับการแข่งขันในเชิงภูมิยุทธศาสตร์ และมีส่วนร่วมในธรรมาภิบาลทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ดอน กล่าวว่า ไทยต้องการพลิกโฉมเศรษฐกิจโดยนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) สู่การขับเคลื่อนความร่วมมือเอเปคในเรื่องที่สำคัญ เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจการค้าของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลังยุคโควิด-19 รวมถึงในบริบทการค้ายุคใหม่ และการผลักดันให้ผู้ประกอบการ และ SME ให้ความสำคัญกับหลักการ BCG ในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น

 

\"การทูตเชิงเศรษฐกิจ\" พลิกบทบาท \"ไทย\" เจ้าภาพ APEC2022

"หลังโควิด-19 เราจะได้เห็นภาพเศรษฐกิจโลกที่มุ่งไปสู่ความเป็นดิจิทัล และเกิดกระแสเมกะเทรนด์ด้านเทคโนโลยี นำมาใช้เพื่อการค้าและการเดินทางเชื่อมโยงระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เอเปคต้องปรับกระบวนทัศน์ และการทำงานให้รับกับประเด็นเหล่านี้ด้วย" ดอนกล่าว

และว่า ขณะเดียวกัน ยังมุ่งไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และสังคมคาร์บอนต่ำ

ส่วนสถานการณ์การเมืองโลก ที่มีความตึงเครียดในตอนนี้ ดอนมองว่า นับเป็นช่วงโอกาสสำคัญที่เราทำหน้าที่เจ้าภาพเอเปค สามารถหยิบเรื่องราวหรือกำหนดวาระตามที่เจ้าภาพเห็นสมควร

โดยเฉพาะ BCG Model  เป็นสิ่งที่ไทยเน้นมาตลอด รวมทั้งริเริ่มประเด็นใหม่ๆ ได้ด้วย แต่ต้องต้องแจ้งกับประเทศสมาชิกเพื่อแสดงฉันทามติร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของการใช้ประโยชน์เวทีเอเปค ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือพหุภาคีที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รวมกันเกินครึ่งหนึ่งของโลกเพื่อให้ไทยสามารถปรับตัวและทันกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมดิจิทัล (digitalization) ความยั่งยืน (sustainability) และมีความสามารถในการปรับตัว (resilience) โดยทุกภาคส่วนของไทยจำเป็นต้องร่วมกันปฏิบัติเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันแนวโน้มโลกข้างต้น

 

\"การทูตเชิงเศรษฐกิจ\" พลิกบทบาท \"ไทย\" เจ้าภาพ APEC2022

นานาประเทศจะไม่รู้จักไทยในเชิงการท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่เนื้อหาสาระที่จะถูกหยิบขึ้นพูดคุยในเวทีเอเปค ตามหัวข้อหลักการประชุมเอเปคนั้น ไม่ใช่มีเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ยังรวมถึงสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนการเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ เพื่อทำให้ประชาชนไทยและสมาชิกเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจได้รับประโยชน์ทั่วถึง

“ไทยเป็นประเทศที่เหลือเชื่อ ในวันนี้เกือบจะเป็นแชมเปี้ยนในเรื่องการใช้อำนาจละมุน (soft power) นับตั้งแต่เรื่องการท่องเที่ยว การสาธารณสุข ศิลปวัฒนธรรม อาหาร ที่สนับสนุนไทยให้เป็นที่รู้จัก แต่สุดท้ายก็เป็นเรื่องความสมดุลของกลไกการทำงานในด้านต่างๆร่วมกัน เพื่อร่วมพลิกฟื้นเศรษฐกิจจากโควิด” รองนายกฯดอน กล่าว

การประชุมเอเปคเป็นเวทีที่ผู้นำรัฐบาลและระดับประมุขประเทศ/ดินแดนมารวมตัวกันที่ประเทศไทย ซึ่งเวียนมาเป็นครั้งที่สอง ในรอบ 18 ปีให้ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ โดยครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อปี 2546

ขอเชิญชวนให้ประชาชนไทยทุกคนเป็นเจ้าภาพที่ดี และถือเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีรวมทั้งใช้โอกาสแสดงศักยภาพไทยสู่สายตาชาวโลก 

 

\"การทูตเชิงเศรษฐกิจ\" พลิกบทบาท \"ไทย\" เจ้าภาพ APEC2022