แผงโซลาร์ ‘จีน’ ครองตลาดเมียนมา หลังเกิดวิกฤติพลังงานขาดแคลน

แผงโซลาร์ ‘จีน’ ครองตลาดเมียนมา หลังเกิดวิกฤติพลังงานขาดแคลน

แผงโซลาร์เซลล์แบรนด์ ‘จีน’ ครองตลาดเมียนมา คนเลือกใช้แทนเครื่องปั่นไฟ รับมือวิกฤติพลังงานขาดแคลนช่วงน่าแล้ง หลังเกิดปัญหาไฟฟ้าดับนาน 16 ชม.

สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า แผงโซลาร์เซลล์และระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ราคาถูกจาก “จีน” กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในเมียนมา  เนื่องจากปัญหาไฟฟ้าดับตามกำหนดภายใต้รัฐบาลทหารส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 ปัจจุบันนี้ สินค้าส่วนใหญ่ที่วางขายในตลาดเป็นสินค้าจากแบรนด์จีน ผู้จัดงานแสดงสินค้าเปิดเผยว่า ในงานนิทรรศการครั้งนี้ ผู้แสดงสินค้าส่วนใหญ่จากผู้เข้าร่วมกว่า 50 ราย มาจากประเทศจีน รองลงมาคือบริษัทในท้องถิ่น และบริษัทจากประเทศอินเดีย

เมื่อแล่นไปตามท้องถนน เครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันดีเซลส่งเสียงดังอยู่หน้าร้านค้าต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปแต่เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีเสียงดังรบกวนและไม่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่อยู่อาศัย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคจึงหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นทางเลือกแทน

 ครอบครัวนักวิศวกรชาวเมียนมาเผยว่าได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และระบบเก็บพลังงานแบตเตอรี่เมื่อเดือน ก.ย.67 ที่ผ่านมา โดยมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ที่ประมาณ 20 ล้านจ๊าด หรือราว 1.1 แสนบาท เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำหรับใช้เครื่องปรับอากาศ ให้แสงสว่างและเก็บรักษาอาหาร

เมียนมาร์พึ่งพาพลังงานน้ำในการผลิตไฟฟ้าหลัก ทำให้ช่วงฤดูแล้งตั้งแต่พฤศจิกายนเป็นต้นไป ปริมาณไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศ พัดลมราคาประหยัด ระบบกักเก็บพลังงาน และแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กขายดีเป็นเทน้ำเทท่าในปี พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนจัดเป็นพิเศษ

หลังจากที่รัฐบาลทหารเข้ายึดอำนาจในปี 2564 ทำการพัฒนาและดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานต้องหยุดชะงัก รวมทั้งกลุ่มต่อต้านได้โจมตีโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้อีกด้วย ส่งผลให้ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา เกิดปัญหาไฟฟ้าดับยาวนานถึง 16 ชั่วโมง และในหลายพื้นที่ ไฟฟ้าดับนานกว่า 12 ชั่วโมง

นอกจากนี้ การที่ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของจีนมีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในเมียนมาร์นั้นอาจเป็นเพราะประเทศจีนให้การสนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมาร์ในด้านพลังงานหมุนเวียนและการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ในขณะที่รัสเซียและอินเดียก็ให้การสนับสนุนในลักษณะเดียวกัน ในทางกลับกัน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป กำลังแยกตัวออกจากสัมพันธ์นี้

อ้างอิง Nikkei