วิเคราะห์บทบาท ’อีลอน มัสก์’ ในพิธีสาบานตนทรัมป์ สะท้อนสัมพันธ์แน่นแฟ้น

วิเคราะห์บทบาท ’อีลอน มัสก์’ ในพิธีสาบานตนทรัมป์ สะท้อนสัมพันธ์แน่นแฟ้น

วิเคราะห์บทบาท ’อีลอน มัส’ ในพิธีสาบานตนทรัมป์ พร้อมส่งนักบินติดธงสหรัฐบนดวงจันทร์ มัสก์นั่งใกล้ทรัมป์สะท้อนสัมพันธ์แน่นแฟ้น โพสต์ต้อนรับการกลับมาของ “ราชา”

ในการกล่าวสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดี “โดนัลด์ ทรัมป์” มีช่วงนึงสัญญาว่าเขาจะ "ทำตามโชคชะตาของเราให้เป็นจริง โดยส่งนักบินอวกาศชาวอเมริกันไปติดธงชาติสหรัฐอเมริกาบนดาวอังคาร"

ขณะที่ทรัมป์มัสก์กล่าวถึงการไปดาวอังคาร อีลอนมัสก์“ ซึ่งยืนห่างออกไปเพียงไม่กี่ฟุต ยิ้มกว้างและกำหมัดขึ้นไปในอากาศ

การส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคารเป็นความหลงใหลของมัสก์ ซีอีโอของ SpaceX มานานแล้ว การที่ทรัมป์พูดถึงสิ่นนี้ อาจหมายถึงโปรเจ็กต์ดังกล่าวได้รับการรับรองอย่างเต็มรูปแบบจากประธานาธิบดีคนใหม่ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่ง

สัมพันธ์ ‘ทรัมป์-มัสก์’

สำนักข่าวเอพีรายงานว่าเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างมหาเศรษฐีเทคโนโลยีรายใหญ่กับประธานาธิบดีคนใหม่ ที่ทั้งคู่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างทรัมป์และมัสก์เบ่งบานเต็มที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนตลอดพิธีสาบานตน โดยมัสก์กล่าวชื่นชมทรัมป์ระหว่างการชุมนุมไม่นานหลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง โดยย้ำคำสัญญาของทรัมป์ที่บอกว่า“ยุคทอง” ของประเทศกำลังจะมาถึง

บนเวที Capital One Arena มัสก์ได้กล่าวขอบคุณผู้ชมทุกท่านที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้โลกก้าวไปข้างหน้า รวมทั้งโพสต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X ของเขาว่า "การกลับมาของราชา" สะท้อนความพึงพอใจที่ทรัมป์กลับมามีอำนาจเป็นสมัยที่สอง

'มัสก์' ซีอีโอบิ้กเทคนั่งใกล้ทรัมป์ที่สุด

ในระหว่างพิธีเปิดงานภายใน Capitol Rotunda มัสก์ได้นั่งในแถวเดียวกับซีอีโอบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่รายอื่นๆ รวมถึง Sundar Pichai ซีอีโอของ Google และ Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Meta โดยทั้งหมดนั่งอยู่ด้านหลัง Melania ภรรยาของทรัมป์และลูกๆ ซึ่งมัสก์จะนั่งใกล้ทรัมป์มากที่สุด

หลังจากที่ทรัมป์โอบกอดมัสก์ ไม่นานหลังจากที่ลูกชายคนเล็กของทรัมป์ “บาร์รอน ทรัมป์” มาถึงที่นั่งในแถวที่สอง บาร์รอนก็ได้หันไปจับมือกับมัสก์

การที่คนร่ำรวยที่สุดในโลกจำนวนมากอยู่ใกล้ชิดกับรัฐบาลใหม่ของทรัมป์ ทำให้ “โจ ไบเดน” อดีตประธานาธิบดีออกมาเตือนว่า สหรัฐกำลังเผชิญกับกลุ่มมหาเศรษฐีด้านเทคโนโลยีที่ มีอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ ทรัมป์มอบหมายให้มักส์ทำหน้าเป็นเป็นผู้นำกระทรวงประสิทธิภาพร่วมกับ วิเวก รามาสวามี อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันเพื่อมีจุดมุ่งหมายคือการลดระเบียบราชการ กฎระเบียบ และการใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง ซึ่งมัสก์ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเท่ากับขนาดของการขาดดุล

การลดค่าใช้จ่ายในระดับนั้นอาจต้องกำหนดเป้าหมายโปรแกรมสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ประกันสังคมและประกันสุขภาพ รวมถึงเลิกจ้างพนักงานรัฐบาลหลายแสนคน แม้ว่ามัสก์จะยังคงมีมุมมองบวกต่อแนวโน้มการลดค่าใช้จ่ายอย่างหนัก แต่เขาก็กล่าวในการประชุมสาธารณะเมื่อต้นเดือนนี้ว่าเป้าหมาย 2 ล้านล้านดอลลาร์อาจบรรลุได้ยาก

“ผมคิดว่าถ้าคุณลองหาเงิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ ผมคิดว่าเราจะไปถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ได้” มัสก์กล่าว

ระหว่างการปราศรัยมัสก์แทบจะระงับความตื่นเต้นของเขาเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของทรัมป์ไม่ได้เลย เขากล่าวว่า

“ผมแทบจะรอไม่ไหวแล้ว มันจะต้องยอดเยี่ยมมากแน่ๆ”