ฝ่าทางตัน ‘อิสราเอล - ปาเลสไตน์’ ทำแผน The Day After สิ้นสุดสงครามฉนวนกาซา

ฝ่าทางตัน ‘อิสราเอล - ปาเลสไตน์’ ทำแผน The Day After สิ้นสุดสงครามฉนวนกาซา

The Day After อาจเหมือนชื่อภาพยนตร์หรือนวนิยาย แต่สำหรับนักการทูตและผู้นำรัฐบาล เห็นว่าคำนี้มีความหมายเดียว นั่นคือ วันสิ้นสุดการสู้รบในฉนวนกาซา

สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงระหว่างอิสราเอล และฮามาส แทบไร้ความหวังจะยุติลงในเร็ววัน หากแต่ตอนนี้หลายประเทศให้ความสนใจและแสดงท่าทีต่อเหตุการณ์ชัดเจนขึ้น เปรียบเหมือนความหวังจะทำให้เสียงปืนในฉนวนกาซาสงบลง

รัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปจะหารือสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ที่กรุงบรัสเซลส์ในวันจันทร์นี้ (27 พ.ค.) โดยจะจัดการพูดคุยกับประเทศคู่เจรจาอย่าง จอร์แดน อียิปต์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมด้วยเลขาธิการเลขาธิการสันนิบาตอาหรับ

ตอนนี้ทั่วทั้งตะวันออกกลาง และในกลุ่มประเทศตะวันตก มีการพูดคุยเรื่องนี้ และเตรียมจัดทำแผนการยุติความขัดแย้ง ก่อนจะรู้ผลการเลือกตั้งสหรัฐ ที่มีขึ้นในเดือน พ.ย. 2567

ขณะที่ 3 ประเทศในยุโรปได้แก่ นอร์เวย์ สเปน และไอร์แลนด์ จะรับรองรัฐปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้ โดยมุ่งรื้อฟื้นการหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาสองรัฐที่พูดคุยมานานหลายปี ให้ทำได้มาก ดีกว่าปากพูดอย่างที่ผ่านมา

"เทาว์ไอแซค ไซมอน แฮร์ริส" รัฐมนตรีต่างประเทศไอร์แลนด์ เผยจะมีการพูดคุยทางการเมืองเกี่ยวกับแผน After the Day เพื่อเปิดทางไปสู่การหยุดยิงและปล่อยตัวตัวประกัน เพราะหนทางเดียวสู่สันติภาพคือการเมือง

ด้านเดวิด คาเมรอน รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษมองว่า หนทางที่ดีที่สุดในการสนับสนุนองค์การการบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PA) ให้สามารถเข้าจัดการพื้นที่ในฉนวนกาซาหลังสงครามได้นั่นคือ อังกฤษต้องพยายามกดดันให้อิสราเอลหยุดดำเนินการระงับทางการเงินของ PA 

หากแต่ผู้ใหญ่บางคนในรัฐบาลอังกฤษ พยายามผลักดันให้อังกฤษแสดงท่าทีที่ชัดเจนขึ้น ต่อความเห็นเกี่ยวกับแนวทางสร้างรัฐปาเลสไตน์

"สิ่งนี้ ยังขาดไทม์ไลน์ ในเมื่ออังกฤษเห็นด้วยกับการเริ่มต้นการยุติสงคราม และแนวทางการสร้างรัฐปาเลสไตน์ แต่ตอนนี้ยังไม่มีคำจำกัดความของเส้นทางสู่สันติภาพที่มุ่งไปข้างหน้า โดยไม่อาจหวนกลับได้" บุคคลระดับสูงในรัฐบาลอังกฤษกล่าว 

นอกจากนี้ มีเสียงคัดค้านจากภายในประเทศอิสราเอลเอง โดยยูอาฟ แกลลันต์ รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลได้ออกมาประณามการที่เบนจามิน เนทันยาฮู  ปฏิเสธการจัดทำแผน The Day After

ขณะที่เบนนี แกนต์ซ หนึ่งในคณะรัฐมนตรีของเนทันยาฮู ได้ขู่ลาออกจากรัฐบาล เว้นแต่เนทันยาฮูให้การตกลงแผนการ 6 ข้อในวันที่ 8 มิ.ย.นี้ ซึ่งรวมถึงฉนวนกาซาต้องปลอดทหาร และสถาปนารัฐบาลร่วมของสหรัฐ ยุโรป อาหรับ และปาเลสไตน์ 

เหตุเพราะทั้งแกลลันต์ และแกนซ์ สองนายพลอิสราเอลให้ความสำคัญกับการรับมือทางการทหารมากกว่าเรื่องการเมือง เนื่องจากกลัว และต้องการหลีกเลี่ยงการที่กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) ต้องเข้าไปควบคุมฉนวนกาซาในระยะยาว โดยรัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอลชี้ว่า นั้นเป็นเส้นทางอันตรายที่อิสราเอลต้องชดใช้อย่างสาสมให้กับ "การนองเลือกและเหยื่อสงคราม"

"ขณะที่สหรัฐมีความเห็นว่า มีความจำเป็นที่ไม่เพียงแต่สถานการณ์ความขัดแย้งในฉนวนกาซาจะต้องสิ้นสุดโดยเร็ว แต่อิสราเอลต้องมาพร้อมกับแผนการที่ชัดเจนว่า ฉนวนกาซาจะมีการปกครอง ความมั่นคง และแนวทางการพัฒนาหลังสงครามอย่างไร" แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ กล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการวุฒิสภาสหรัฐในสัปดาห์นี้ 

บลิงเคนย้ำว่า หากไม่มีสิ่งเหล่านี้ อิสราเอลจะเผชิญกับทางเลือกที่ยอมรับไม่ได้ นั่นคือ การเข้ายึดครอง และการสู้รบทางทหารเป็นเวลานาน รวมถึงการกลับมาของกลุ่มฮามาส หรืออนาธิปไตย และความไร้ซึ่งกฎหมาย 

นอกจากนี้ สหรัฐยังกดดันให้รัฐอาหรับยอมรับกองกำลังระหว่างประเทศที่สามารถสร้างความมั่นคงในฉนวนกาซาได้ในระยะสั้น โดยสหรัฐจะไม่ส่งกองกำลังลงพื้นที่ แต่ต้องการให้ประเทศต่างๆ เช่น อียิปต์ จอร์แดน โมร็อกโก บาห์เรน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตน์ดำเนินการแทน 

"แผนการ The Day After ไม่อาจแยกออกจากการเมืองได้ และต้องเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานที่ครอบคลุม" นักการทูตอาหรับคนหนึ่งกล่าวกับบีบีซี

ถึงอย่างไร อุปสรรคสำคัญที่สุดของข้อตกลงใดๆ ก็คือ เนทันยาฮู ได้ปฏิเสธจะหารือในเรื่องนี้ นอกเหนือจากการต่อต้านบทบาทใดๆ ของ PA เพราะเนทันยาฮู กลัวว่าจะทำให้ฝ่ายขวาจัดของรัฐบาลเขา แสดงความไม่พอใจและหันมากดดันตัวเค้าเองเพิ่มสูง และวันหนึ่งเนทันยาฮูต้องเจอทางเลือกทางการเมือง

ที่มา : BBC