เปลี่ยน ‘อากาศ’ ให้เป็น ‘น้ำดื่ม’ นวัตกรรมโซลาร์เซลล์สุดล้ำ ตอบโจทย์ภัยแล้ง

เปลี่ยน ‘อากาศ’ ให้เป็น ‘น้ำดื่ม’ นวัตกรรมโซลาร์เซลล์สุดล้ำ ตอบโจทย์ภัยแล้ง

เปิดนวัตกรรมสุดล้ำ เปลี่ยน “อากาศ” ให้เป็น “น้ำดื่ม” ด้วยแผงโซลาร์เซลล์ จุดความหวังผู้ขาดแคลนน้ำดื่ม และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่ห่างไกลให้ดีขึ้น

KEY

POINTS

  • โลกปกคลุมด้วยผืนน้ำมากถึง 70% และพื้นดินอีก 30%
  • เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ดูดอากาศเข้ามา อากาศจะสัมผัสสารดูดความชื้นภายในเครื่อง แผงโซลาร์ก็จะเพิ่มอุณหภูมิเพื่อเปลี่ยน “ความชื้น” ให้กลายเป็น “ไอน้ำ” และควบแน่นเป็น “น้ำดื่ม” ต่อไป
  • ราคาแผงโซลาร์เซลล์อยู่ที่ราว 2,000 ดอลลาร์ หรือราว 73,000 บาท และมีอายุใช้งานอย่างน้อย 15 ปี

เปิดนวัตกรรมสุดล้ำ เปลี่ยน “อากาศ” ให้เป็น “น้ำดื่ม” ด้วยแผงโซลาร์เซลล์ จุดความหวังผู้ขาดแคลนน้ำดื่ม และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่ห่างไกลให้ดีขึ้น

น้ำดื่ม” ถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายมากที่สุด มนุษย์สามารถทนอดอาหารได้เป็นเดือน แต่สำหรับน้ำนั้น “ไม่เกิน 1 สัปดาห์” แม้ว่าโลกจะปกคลุมด้วยผืนน้ำมากถึง 70% แต่หลายพื้นที่กลับขาดแคลนน้ำ การหาแหล่งน้ำจืดเป็นไปอย่างยากลำบาก โดยทางตอนใต้ของรัฐเนวาดา สหรัฐ เป็นหนึ่งในสถานที่ที่แห้งแล้งที่สุด จนกระทั่งผืนดินแตกระแหง

ส่วนในไทย แม้ได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ แต่กลับประสบปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำดื่มเกือบทุกปี โดยเฉพาะแถบภาคเหนือและอีสาน

ด้วยเหตุนี้ โคดี ฟรีเซน (Cody Friesen) รองศาสตราจารย์ด้านวัสดุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต เห็นโอกาสดังกล่าว จึงก่อตั้งบริษัท “SOURCE Global” ขึ้นมา ซึ่ง “ผลิตน้ำดื่มสะอาดจากอากาศ” ด้วยแผงโซลาร์เซลล์

เปลี่ยน ‘อากาศ’ ให้เป็น ‘น้ำดื่ม’ นวัตกรรมโซลาร์เซลล์สุดล้ำ ตอบโจทย์ภัยแล้ง - แผงโซลาร์เซลล์สกัดน้ำจากอากาศ (เครดิต: SOURCE Global) -

หลักการทำงาน คือ ปกติในอากาศจะมี “ความชื้น” ด้วย และตัวความชื้นนี้สามารถถูกเปลี่ยนเป็นน้ำดื่มต่อ ผู้คนในสมัยก่อนจึงใช้ต้นไม้หรือขึงตาข่ายกว้างเพื่อดักจับไอน้ำในอากาศ

แผงโซลาร์เซลล์นี้ก็มีหลักการคล้ายกัน เริ่มจากตัวแผงรับพลังงานแสงแดด เพื่อขับเคลื่อนพัดลมให้ดูดอากาศเข้ามา อากาศที่เข้ามานี้ก็จะสัมผัสสารดูดความชื้นภายในเครื่อง เมื่อได้ปริมาณความชื้นมากพอแล้ว แผงโซลาร์ก็จะเพิ่มระดับอุณหภูมิเพื่อเปลี่ยน “ความชื้น” ให้กลายเป็น “ไอน้ำ” และควบแน่นเป็น “น้ำดื่ม” ต่อไป

สำหรับเป้าหมายของฟรีเซน คือ การทำให้น้ำดื่มสามารถเข้าถึงผู้คนในชนบทที่ขาดแคลนไฟฟ้า ห่างไกลแหล่งน้ำ  และประสบภัยพิบัติธรรมชาติ โดยโรงเรียนในแถบทะเลทรายซาฮาร่า ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา นักเรียนต้องเดินทางร่วมหลายชั่วโมงต่อวันเพื่อแสวงหาน้ำดื่ม ดังนั้น การมีแผงโซลาร์เซลล์อาจช่วยประหยัดเวลาส่วนนี้ และทำให้มีเวลาเรียนรู้หนังสือมากขึ้น

เปลี่ยน ‘อากาศ’ ให้เป็น ‘น้ำดื่ม’ นวัตกรรมโซลาร์เซลล์สุดล้ำ ตอบโจทย์ภัยแล้ง - โคดี ฟรีเซน (เครดิต: SOURCE Global) -

ส่วนราคาแผงอยู่ที่ 2,000 ดอลลาร์ หรือราว 73,000 บาท และมีอายุใช้งานอย่างน้อย 15 ปี แต่ด้วยความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ช่วยติดตามข้อมูลอากาศ ไม่ว่าความชื้น อุณหภูมิ และแสงแดด จึงทำให้การสกัดน้ำดื่มจากอากาศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“โดยปกติแล้ว โซลาร์เซลล์ 1 แผง ผลิตน้ำดื่มได้ 4-5 ลิตรต่อวัน แต่ด้วยอัลกอลิทึมของ AI ปริมาณน้ำดื่มที่ได้สามารถเพิ่มขึ้นเป็น 7-9 ลิตร การผลิตน้ำจึงมีประสิทธิภาพและคุ้มทุนมากยิ่งขึ้น” อดัม ชาร์เควี (Adam Sharkawy) แห่ง Material Impact บริษัทลงทุนเวนเจอร์ แคปิตัลที่ลงทุนในบริษัท SOURCE Global ที่สร้างแผงโซลาร์เซลล์นี้กล่าว

นี่ถือเป็นนวัตกรรมสุดล้ำในการหาน้ำ จากแต่เดิมหุบเขา บ่อบาดาล น้ำฝน ห้วย หนอง บึงสู่สายน้ำบริสุทธิ์ที่หล่อเลี้ยงมนุษย์มาช้านาน แต่ในปัจจุบัน แหล่งน้ำเหล่านี้กลับหดหายลง ฝนฟ้าแปรปรวน และแหล่งน้ำจืดถูกรุกล้ำ เทคโนโลยีสกัดน้ำจากอากาศนี้จึงถือเป็นตัวช่วยใหม่ที่จุดความหวังมนุษยชาติ

อ้างอิง: bbcsourcesou