4 เรื่องน่ารู้  ‘สถาปัตยกรรมแห่งความยั่งยืน’ Phuket Expo 2028

สถาปัตยกรรมที่ดีจะสามารถเปลี่ยนเมืองได้อย่างไร ผู้เขียนมีมิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของสถานที่จัดงาน Phuket Expo 2028 หากไทยรับเลือกให้เป็นเจ้าภาพมาฝาก

สถาปัตยกรรมแห่งความยั่งยืนเป็นจุดเริ่มต้นบทบาทใหม่ของภูเก็ต ในฐานะเมืองท่องเที่ยวยอดนิยม 

1. Phuket Expo 2028 ย้ำแนวคิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน จ. ภูเก็ต

การคัดเลือกภูเก็ตให้เป็นสถานที่จัดPhuket Expo 2028 เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีทำเลที่สะดวก มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดดเด่น ยิ่งไปกว่านั้น ภูเก็ตเป็นหนึ่งจังหวัดในประเทศไทยที่มีพัฒนาการแนวทางกำจัดขยะ (waste management) ที่โดดเด่น

การจัด Expo มุ่งเน้นมิติด้านความยั่งยืน จึงเปรียบเสมือนการย้ำความมุ่งมั่นของภูเก็ตจะสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน ซึ่งงานดังกล่าว จะจัดขึ้นบนพื้นที่ 141 ไร่ บริเวณต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 20 มี.ค. – 17 มิ.ย. 2571 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 3 เดือน โดยเปิดให้เข้าร่วมงานในช่วงเวลา 8.30 –  20.00 น. นี่เป็นช่วงฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุด  

 

 

2. แนวคิดและการออกแบบเน้น “ความสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ” 

“ธีม” หลักในการหาเสียงของไทยในการเสนอเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2028 ภายใต้ชื่องาน Expo 2028 – Phuket, Thailand คือ “Future of Life: Living in Harmony, Sharing Prosperity” หรือ “ชีวิตแห่งอนาคต แบ่งปันความรุ่งเรือง อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว” 

แน่นอน สถาปัตยกรรมของอาคารจัดแสดงนิทรรศการและพื้นที่โดยรอบจะต้องได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อสะท้อนแนวคิดดังกล่าว

สถาปัตยกรรมของพื้นที่Phuket Expo 2028 จึงมีเอกลักษณ์การออกแบบในแนวคิด “Flow of Nature” และมีพื้นที่จัดแสดงหรือพาวิลเลี่ยนรับการออกแบบอย่างโดดเด่น แบ่งเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 และ2  จะจัดเป็นนิทรรศการตามหัวข้อย่อยคือ “ชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี ธรรมชาติของมนุษย์ และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน” 

และส่วนที่3 เรียกว่า Best Practice Area ซึ่งเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดี จะเน้นการนำเสนอนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับแนวคิด “ความสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ” ผู้เยี่ยมชมนิทรรศการทั้ง ๓ ส่วนนี้ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทรนด์และแนวคิดเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ

นอกจากนี้ Phuket Expo 2028เปิดให้ผู้ที่สนใจร่วมจัดแสดงนิทรรศการ โดยปรับแต่งพื้นที่ตามต้องการได้ในบริเวณ Participant Pavilions ซึ่งแบ่งออกเป็น International Pavilions และ Corporate Pavilions 

ที่สะท้อนแนวคิดหลักของการอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวและแบ่งปันความเจริญรุ่งเรือง เรียกได้ว่า จะย่อองค์ความรู้และเทรนด์ด้านความสมดุลและยั่งยืนจากทั่วโลกมาไว้ที่ภูเก็ตเลยก็ว่าได้ค่ะ 

 3. สถาปัตยกรรมสร้างใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 

Phuket Expo 2028ใส่ใจเกี่ยวกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ (carbon footprint) หรือกระบวนการผลิตสิ่งของต่าง ๆ อย่างยิ่ง โดยการออกแบบที่มุ่งเน้น “Flow of Nature” จะเน้นการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้พลังงานและน้ำ เช่น การออกแบบผังที่เอื้อต่อการเดิน โดยภายในงานจะแบ่งทั้งหมดเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1.ป่า 2.บึง 3.ป่าอนุรักษ์ริมหาด และ 4.ทะเล ทั้งสี่โซนเชื่อมต่อกันและอยู่ในระยะถึงกันได้ ถือเป็นการออกแบบเพื่อลดการใช้พลังงานจากยานพาหนะอย่างแท้จริง 

4. การออกแบบที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนและ “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ในปี 2571 เมื่อ Phuket Expo 2028สิ้นสุดลง พื้นที่จัดงานจะถูกเปลี่ยนเป็นสถานพยาบาลและศูนย์วิจัยของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข และสวนเชิงนิเวศวิทยา เพื่อให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ระดับโลก ซึ่งจะสร้างประโยชน์ระยะยาวแก่คนในพื้นที่รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ในภูมิภาคต่อไป