“ทูตสหรัฐ” ชำแหละความท้าทายการค้า ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์โลก

“ทูตสหรัฐ” ชำแหละความท้าทายการค้า ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์โลก

“เอกอัครราชทูตสหรัฐ” มองความท้าทายทางการค้าท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์ ต้องเคารพกฎกติการะหว่างประเทศ ชี้ไทยเป็นอนาคตแห่งภูมิภาคร่วมสร้างสันติภาพ และความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก พร้อมให้จับตา “แอนโทนี บลิงเคน” ไปจีน หวังพูดคุย ไม่ให้การแข่งขันกลายเป็นความขัดแย้ง

"โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค" เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย กล่าวในเวทีสัมมนา “Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม”หัวข้อ “ความท้าทายเศรษฐกิจ การค้าไทย ท่ามกลางโลกแบ่งขั้ว” จัดโดย“กรุงเทพธุรกิจ”ว่า สหรัฐมุ่งมั่นต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และสร้างความเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับไทยเป็นเวลาเกือบสองศตวรรษที่เรามีความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งให้เป็นแรงขับเคลื่อนเสาหลักสำคัญคือ “สันติภาพและความมั่งคั่ง” ในภูมิภาคนี้

สหรัฐตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายโลก ทั้งสร้างและแบ่งปันความมั่งคั่งเพิ่มความสามารถเข้าถึงการศึกษา สาธารณสุข ยกระดับความมั่นคง ตลอดจนช่วยให้ผู้คนตัดสินใจเลือก “ระบบการปกครองได้ด้วยตนเอง” ตลอดจนการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพโลกในอนาคตการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รับมือภัยคุกคาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภาค และสร้างอนาคตแห่งพลังงานสะอาดในราคาประหยัด

เคารพกติการะหว่างประเทศ ต่อต้านสงครามยูเครน

“หากมีประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกฎกติการะหว่างประเทศ เราจำเป็นต้องยืนหยัดร่วมกันอย่างที่ประชาคมโลกได้ยืนหยัดร่วมกับยูเครน  ต่อต้านสงครามที่ปราศจากการยั่วยุและไร้ซึ่งความชอบธรรมของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน” ทูตโกเดคกล่าว 

 

“ทูตสหรัฐ” ชำแหละความท้าทายการค้า ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์โลก

สหรัฐได้ทำงานร่วมกับหุ้นส่วนของเราเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมและความรับผิดชอบในเมียนมา เพื่อยุติการกระทำที่โหดร้ายและรุนแรงของรัฐบาลทหารเมียนมาต่อประชาชนและประเทศ  อนาคตของเราขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะร่วมมือและเคารพต่อกฎระเบียบและข้อตกลงระหว่างประเทศสิ่งเหล่านี้ จะสร้างเสถียรภาพและความสามารถที่คาดเดาทิศทางของธุรกิจได้ซึ่งจะเอื้อต่อการลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต

รมว.ต่างประเทศสหรัฐไปจีน ลดแข่งขันเป็นขัดแย้ง

เรื่องหนึ่งที่อยู่ในใจของหลายท่าน ณ ที่นี้ ผมขอกล่าวถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและผลกระทบที่สำคัญกับจีน ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือหลากหลายมิติตลอดจนการแข่งขันระหว่างกัน ในเร็วๆนี้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐแอนโทนี บลิงเคน จะเดินทางไปประเทศจีน เพื่อติดตามสิ่งที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้พูดกันไว้อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมาเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน  เรามุ่งมั่นจะเปิดช่องทางการสื่อสารให้กว้างอยู่เสมอและร่วมมือกันเท่าที่ทำได้ตลอดจนทำทุกวิถีทางป้องกันไม่ให้การแข่งขันกลายเป็นความขัดแย้ง  ผมขอให้ความมั่นใจว่าเรามุ่งมั่นจะบริหารจัดการความสัมพันธ์อย่างมีความรับผิดชอบ

กว่า 75 ปีที่สหรัฐและไทยสนับสนุนวิสัยทัศน์ของอินโด-แปซิฟิก เราส่งเสริมการพัฒนากฎกติกาโปร่งใส และนำไปใช้อย่างยุติธรรมแต่ละประเทศต่างมีเสรีภาพตัดสินใจเกี่ยวกับอธิปไตยของตนเอง รวมทั้งเราส่งเสริมให้สินค้าแนวคิดใหม่ใหม่และผู้คนเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดน ทางอากาศ ไซเบอร์สเปซ และน่านน้ำอย่างเสรี

 

“ทูตสหรัฐ” ชำแหละความท้าทายการค้า ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์โลก

 

IPEF ทางออกศตวรรษที่ 21

กรอบเศรษฐกิจอินโดแปซิฟิก หรือ IPEF เป็นข้อริเริ่มระดับภูมิภาคของสหรัฐ เรายินดีที่ไทยเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้ง ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 เราจำเป็นต้องมีทางออกใหม่ใหม่เพื่อรับมือความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่การค้า ไปจนถึงห่วงโซ่อุปทาน พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อว่า IPEF จะช่วยปลดล็อกคุณค่าทางเศรษฐกิจระดับมหาศาลให้กับภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อม

“ผมขอชื่นชมไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปคเมื่อปีที่ผ่านมา ได้อย่างประสบความสำเร็จและพยายามส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนผ่าน ”เป้าหมายกรุงเทพฯ“ ว่าด้วยเรื่องโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ  เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว” เอกอัครราชทูตสหรัฐกล่าวและว่า ในนี้ปีปี 2566 สหรัฐจะเป็นเจ้าภาพเอเปค และเราจะพยายามสานต่องานอันยอดเยี่ยมที่ไทยเคยทำไว้และเป้าหมายในภาพรวมของการส่งเสริมการค้าการลงทุนเสรี เป็นธรรมและเปิดกว้างตลอดจนสร้างเสริมการเติบโตทั่วถึงและยั่งยืน

 

"สหรัฐ" มองไทยศูนย์กลางแห่งอนาคตเอเชีย-แปซิฟิก

ความสัมพันธ์สหรัฐกับไทยต้นแบบความเป็นหุ้นส่วนระดับภูมิภาค ทูตโกเดคชี้ว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอนาคตแห่งภูมิภาคนี้  ความสัมพันธ์ของเราปัจจุบันมีความแข็งแกร่ง และพันธไมตรีระหว่างกัน เปรียบได้กับผ้าทอที่มีส่วนร่วมในการถักทอและเส้นด้ายที่ใช้ถักทอนั้นก็คือความร่วมมือในด้านต่างๆระหว่างภาครัฐภาคธุรกิจภาคการศึกษาและประชาชน

 

“ทูตสหรัฐ” ชำแหละความท้าทายการค้า ท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์โลก

 

สหรัฐเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย แล้วการค้าระดับทวิภาคีของเราได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 50% ในช่วงสองปีที่ผ่านมาสหรัฐเป็นผู้ลงทุนหลักโดยมีบริษัทต่างๆของสหรัฐสาเข้ามาดำเนินการในหลายภาคอุตสาหกรรมของไทยรวมถึงภาคยานยนต์ การดูแลสุขภาพ และเทคโนโลยีขั้นสูงดิจิทัลคาดว่าได้สร้างการสร้างงานให้คนไทยโดยตรงเกือบ 200,000 คนและช่วยสนับสนุนการสร้างตำแหน่งงานอีกด้วย

เรายังได้ร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมรวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มั่นคงและมีเสถียรภาพการยกระดับทักษะทางดิจิทัลให้กับแรงงานการพัฒนาเมืองอัจฉริยะส่งเสริมการค้าดิจิทัล ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีชั้นสูงที่สำคัญของสหรัฐไม่ว่าจะบริษัทซีเกท อเมซอน เทสล่า ฟอร์ด กูเกิลกำลังขยายการดำเนินงานในไทยคาดว่า จะก่อเม็ดเงินมหาศาลด้านการลงทุนในระยะใกล้หลายพันล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตามสหรัฐและไทยยังทำงานอย่างใกล้ชิดในการรับมือกับความท้าทายที่เป็นหัวใจคือการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศขอชื่นชมเป้าหมายอันมุ่งมั่นของไทยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 40% ภายในปี 2573 และสหรัฐสนับสนุนความพยายามของไทยที่จะบรรลุเป้าหมายนี้พร้อมให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและเสริมสร้างศักยภาพตลอดจนความร่วมมือทางการค้า

ผมคิดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าเราควรมีโครงการความร่วมมือเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันคุณแสวงหาวิธีการใหม่ใหม่เพื่อยกระดับการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศเราสามารถส่งเสริมความร่วมมือทางโลกดิจิทัลและอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ สหรัฐมุ่งมั่นที่จะยกระดับสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกตลอดจนความเป็นหุ้นส่วนกับไทยเพื่อรับมือกับความท้าทายและนำโอกาสที่มีร่วมกันได้ใช้ประโยชน์ เพื่อสนับสนุนระบบอันเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลกและสร้างอนาคตที่ดีกว่าเดิมให้กับชาวไทยอเมริกันและประชาชนทั่วโลก