'ค่าจ้างแรงงานญี่ปุ่น'ตัวการสกัดแรงงานข้ามชาติ

'ค่าจ้างแรงงานญี่ปุ่น'ตัวการสกัดแรงงานข้ามชาติ

'ค่าจ้างแรงงานญี่ปุ่น'ตัวการสกัดแรงงานข้ามชาติ โดยในญี่ปุ่นมีแรงงานชาวเวียดนามมากที่สุดรองลงมาเป็นแรงงานชาวจีน และชาวเวียดนามยังมีสัดส่วนมากที่สุดในบรรดาพนักงานฝึกหัดงานในญี่ปุ่น

สำนักข่าวนิกเคอิเอเชีย นำเสนอราบงานที่เป็นผลการวิจัยล่าสุดของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจญี่ปุ่น (เจซีอีอาร์) ซึ่งบ่งชี้ว่า ความเสี่ยงด้านค่าจ้างแรงงานในญี่ปุ่นที่ขยายตัวช้า ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถดึงดูดแรงงานจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนได้อีกต่อไป ภายในปี 2575

เจซีอีอาร์ ได้ทำการเปรียบเทียบค่าจ้างของแรงงานในประเทศจีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และประเทศไทยกับค่าจ้างในรูปสกุลเงินเยนในญี่ปุ่น ผ่านโครงการฝึกอบรมแรงงานต่างชาติของรัฐบาลญี่ปุ่น พบว่า ภายในปี 2575 ค่าจ้างของโรงงานทุกประเทศ ยกเว้นฟิลิปปินส์ จะเพิ่มขึ้นมากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าจ้างแรงงานในกลุ่มผู้ฝึกงานในญี่ปุ่น 

หากค่าจ้างในประเทศอาเซียนสูงกว่า 50% ของค่าจ้างในญี่ปุ่นเมื่อใด แรงงานจะไม่อยากย้ายไปทำงานในญี่ปุ่นมากขึ้น บวกกับเงินเยนอ่อนค่ามาก ทำให้แรงงานข้ามชาติบางส่วนเลือกที่จะออกจากญี่ปุ่น เพราะเมื่อเทียบกันแล้ว ประเทศอื่นๆในเอเชียต่างแข่งขันเพื่อดึงดูดแรงงานข้ามชาติเข้าไปทำงานในประเทศได้ดีกว่า

รายงานชิ้นนี้ ตรวจสอบค่าจ้างของโรงงานผลิตในกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ นครโฮจิมินห์ กรุงมะนิลา  กรุงจาการ์ตา และกรุงเทพมหานาคร โดยใช้ข้อมูลจากการคาดการณ์ขององค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(เจโทร) และเจซีอีอาร์  ทั้งยังดูการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินเยนกับอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นช่วงเดือน เม.ย.และเดือนก.ย. ปีนี้ 

ข้อมูลค่าจ้างแรงงานของพนักงานฝึกหัด จัดทำโดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการของญี่ปุ่น ซึ่งสังเกตการณ์ค่าแรงมานานกว่า 10 ปี พบว่า ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.6% ต่อปี เจซีอีอาร์จึงสันนิษฐานว่า ในปี 2564 และในอนาคต ค่าจ้างของพนักงานฝึกหัดในญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปถึงช่วงปี 2575
 

ข้อมูลจากกระทรวงฯยังระบุว่า ในญี่ปุ่นมีแรงงานชาวเวียดนามมากที่สุด รองลงมาเป็นแรงงานชาวจีน อีกทั้งชาวเวียดนามยังมีสัดส่วนมากที่สุดในบรรดาพนักงานฝึกหัด โดยในช่วง10ปีมานี้ มีจำนวนเพิ่มขึ้น 12 เท่าทำให้ตอนนี้มีแรงงานฝึกหัดชาวเวียดนามในญี่ปุ่นมากถึง 160,000 คน

เจซีอีอาร์ ระบุว่า ในปี 2564 พนักงานโรงงานในเวียดนามมีรายได้เมื่อเทียบเป็นเงินเยนประมาณ 30,000 เยน/เดือน หรือ 215 ดอลลาร์/เดือน ซึ่งน้อยกว่าค่าจ้างแรงงานของพนักงานฝึกหัดด้านเทคนิคในญี่ปุ่นประมาณ 20% ซึ่งอยู่ที่ 164,000 เยน/เดือน

ส่วนคนงานโรงงานในอินโดนีเซียและประเทศไทยได้ค่าจ้าง 26% และ 29% ของค่าจ้างพนักงานฝึกหัดในญี่ปุ่นในปี 2564 ตามลำดับ และคนงานโรงงานในจีนได้ค่าแรงใกล้เคียงกับแรงงานฝึกหัดญี่ปุ่นมากที่สุดที่ 59% ซึ่งในญี่ปุ่นเคยมีแรงงานชาวจีนมากที่สุดในปี 2555 และเริ่มลดลงตั้งแต่นั้นมา สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายสนับสนุนการทำงานในประเทศของรัฐบาลจีน 

แรงงานจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นแรงงานหลักที่เข้าร่วมโครงการฝึกหัดงานที่ญี่ปุ่นในปัจจุบัน
 

แม้ค่าจ้างในหลายประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วจากภาวะเงินเฟ้อ แต่ค่าจ้างในญี่ปุ่นกลับขยายตัวช้ามานานหลายปี ทำให้ช่องว่างระหว่างค่าจ้างในญี่ปุ่นกับประเทศอื่นๆในเอเชียลดลงเรื่อย ๆ 

รายงานชิ้นนี้ ระบุว่า ในปี 2569 ค่าแรงคนงานโรงงานในจีนจะเพิ่มขึ้นสูสีกับค่าแรงพนักงานฝึกหัดในญี่ปุ่น และคาดว่ากลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้น 20% ในปี 2568 และเพิ่มขึ้นว่า 30% ภายในปี 2578  ขณะที่การขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในจีน ทำให้แรงงานจีนเคลื่อนย้ายไปญี่ปุ่นน้อยลง

ชาวเวียดนามที่ได้ค่าจ้างประมาณ 50% ของค่าจ้างพนักงานฝึกหัดที่ 276,000 เยนเมื่อปีก่อน ส่วนใหญ่ทำงานในภาคบริการที่ต้องมีทักษะด้านภาษาญี่ปุ่นเป็นอย่างดี เช่น พนักงานดูแลผู้สูงอายุ พนักงานร้านสะดวกซื้อและร้านอาหาร แต่การทำงานส่วนใหญ่อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าแรงงานเวียดนามจะต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ทั้งยังมีรายงานเรื่องการทารุณกรรมแรงงานต่างด้าวและเบี้ยวค่าจ้างปรากฏให้เห็นบ่อยครั้ง

นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของญี่ปุ่นระบุว่า แรงงานต่างชาติที่เป็นพนักงานฝึกหัดกว่า 54.7% ต้องกู้หนี้ยืมสินก่อนมาทำงานในญี่ปุ่น  โดยแรงงานบางกลุ่มที่กู้ยืมเงินมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น แรงงานกัมพูชากู้ยืม 83.5% และแรงงานเวียดนามกู้ยืม 80% 

หากค่าแรงในประเทศเหล่านี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 50% ของค่าแรงญี่ปุ่น อาจเป็นแรงจูงใจให้แรงงานยอมทำงานในประเทศมากกว่าจะเสียค่าใช้จ่ายไปค้าแรงงานในญี่ปุ่น 

ตัวแทนหน่วยงานจัดหางานในกรุงฮานอยรายหนึ่ง บอกว่า "แรงงานหลายคนเห็นว่าค่าจ้างในญี่ปุ่นเมื่อแปลงเป็นเงินดองจะลดลง 15%-20% จึงมองว่าโครงการฝึกงานชาวต่างชาติของญี่ปุ่นไม่ค่อยน่าสนใจเท่าที่ควร"