วิสัยทัศน์ “สี จิ้นผิง” เปิดศักราชใหม่เอเชีย-แปซิฟิก ในเวที APEC CEO

วิสัยทัศน์ “สี จิ้นผิง” เปิดศักราชใหม่เอเชีย-แปซิฟิก ในเวที APEC CEO

ทางการจีนได้เผยแพร่เอกสารสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ซึ่งเตรียมจะแสดงวิสัยทัศน์ในเวทีสุดยอดผู้นำภาคธุรกิจเอเปค (APEC CEO SUMMIT) ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ในวันนี้ แต่ด้วยติดภารกิจทำให้ต้องยกเลิกกำหนดการกะทันหัน ด้วยเหตุผลสำคัญ

เอกสารสุนทรพจน์ของ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มีขึ้นในหัวข้อ “ยึดมั่นในความตั้งใจเดิม ร่วมกันส่งเสริมการพัฒนา เปิดศักราชใหม่ แห่งความร่วมมือในเอเชีย-แปซิฟิก” โดยระบุว่า โลกมาอยู่ที่ทางแยกอีกครั้ง

โลกจะไปทางไหน เอเชีย-แปซิฟิกจะทำอย่างไร พวกเราจำเป็นต้องหาคำตอบ ศตวรรษที่ 21 เป็นของเอเชีย-แปซิฟิก ประชากรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมี 1 ใน 3 ของทั่วโลก เศรษฐกิจคิดเป็น 60% และยอดมูลค่าการค้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจโลก เป็นเขตพื้นที่การเติบโตที่มีพลวัตที่สุดของเศรษฐกิจโลก จำเป็นต้องเปิดหน้าใหม่อันสดใสยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้นในอนาคต

ปัจจุบัน สถานการณ์เอเชีย-แปซิฟิกมีความมั่นคงโดยภาพรวม ความร่วมมือภูมิภาคมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอย่างสันติ ความร่วมมือแบบวิน-วินเป็นกระแสหลัก

ขณะเดียวกัน โลกกำลังเข้าสู่ระยะการแปรปรวน และเปลี่ยนแปลง ความตึงเครียดของภูมิรัฐศาสตร์ และการแปรผันของโครงสร้างเศรษฐกิจได้ซ้อนทับกัน ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมการพัฒนา และโครงสร้างความ ร่วมมือของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โรคโควิด-19 ยังแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง เศรษฐกิจโลกมีความกดกันในการชะลอตัว และมีความเสี่ยงเพิ่มมากยิ่งขึ้นในการถดถอย วิกฤติทางข้าว และธัญญาหาร พลังงาน และหนี้สิน ได้ปรากฏตัวพร้อมกัน

 

 

 

 

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ต่อยอดบทเรียนอนาคต

"เขตเศรษฐกิจจำนวนไม่น้อยกำลังเผชิญหน้าอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยความไม่มั่นคงและไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น แนวคิด สงครามเย็น ลัทธิครองความเป็นใหญ่ ลัทธิเอกภาคนิยม ลัทธิอนุรักษนิยมได้กลับมาฟื้นตัวอีก พฤติกรรมที่บ่อนทำลายกฎระเบียบ สากลและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ หนุนหลังการปะทะกันในภูมิภาค ขัดขวางความร่วมมือในการพัฒนาได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งไม่ หยุด เป็นความท้าทายต่อสันติภาพ และการพัฒนาของเอเชียแปซิฟิก"เอกสารสุนทรพจน์ปธน.สีระบุ 

‘เอเปค’ ปาฏิหาริย์แห่งเอเชีย-แปซิฟิก

ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่ใช่สวนดอกไม้ของใครสักคน ไม่ควรกลายเป็นพื้นที่ถ่วงดุลอำนาจของประเทศใหญ่ ความมุ่งหวังที่สร้าง “สงครามเย็นใหม่” ประชาชนจะไม่ยอมรับแน่นอน พวกเราต้องเดินอยู่บนเส้นทางแห่งการเปิดกว้าง และครอบคลุม การเปิดกว้างและครอบคลุมเป็นเงื่อนไขขั้นพื้นฐานแห่ง ความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เขตเศรษฐกิจต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิกได้ร่วมกันสร้างตลาดที่มีความ บูรณภาพกัน ส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจเหนียวแน่นมากขึ้น อ้าแขนกอดโลกไว้อย่างแข็งขัน 

การเปิดกว้างจะนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้า การปิดกั้นจะทำให้ล้าหลัง ขัดขวางจนทำลายห่วงโซ่อุตสาหกรรมและอุปทานที่มี มาตั้งนานแล้วของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้ล่มสลาย ย่อมจะส่งผลให้ความร่วมมือเศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิกเข้าสู่ “ทางตัน”

 

ปัจจุบันนี้ เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก กำลังเข้าสู่ระยะฟื้นฟูหลังเกิดโรคโควิด-19 ภายในสถานการณ์ใหม่ เรียนรู้บทเรียน และประสบการณ์จากประวัติศาสตร์ ร่วมกันสร้างประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกที่มีอนาคตร่วมกัน

ประการแรก ส่งเสริมรากฐานการพัฒนาที่สันติอย่างหนาแน่น พวกเราต้องยึดมั่นในวัตถุประสงค์ และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ สร้างวิสัยทัศน์แห่งความมั่นคงปลอดภัยที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีบูรณภาพ มีความร่วมมือและยั่งยืน ร่วมกันคัดค้าน แนวคิดสงครามเย็น และการปฏิปักษ์ระหว่างเครือข่าย และกลุ่มประเทศต่าง สร้างโครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยของเอเชีย-แปซิฟิก และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ และความมั่นคงปลอดภัยที่ยั่งยืนของเอเชีย-แปซิฟิก

ประการที่สอง ยึดมั่นในแนวคิดการพัฒนาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง พวกเราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ คำนึงถึงความต้องการของผู้ด้อยโอกาส แก้ไขปัญหาความห่างทางรายได้ สร้างสภาพแวดล้อมแห่งการพัฒนาที่ครอบคลุมและเปิดกว้าง เขตเศรษฐกิจต่างๆ ของเอเชีย-แปซิฟิกที่พัฒนาแล้วต้องแสดงบทบาทในเชิงบวก สนับสนุนเขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาอย่างแข็งขัน สร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนอันใหม่ที่สมัครสมานสามัคคี ภาคสมดุล และเอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่าย เสมอ

ประการที่สาม สร้างโครงสร้างอันเปิดกว้างที่มีระดับสูงขึ้น พวกเราต้องส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบขององค์การเอเปค ผลักดันกระบวนการของเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ต้องเข้าร่วมการปฏิรูปขององค์การการค้าโลกอย่างรอบด้าน และลึกซึ้ง ต้องผลักดันให้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ความตกลงที่ครอบคลุม และก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และข้อตกลงความสัมพันธ์หุ้นส่วนดิจิทัล (DEPA) เชื่อมต่อซึ่งกันและกัน สร้างเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง

ประการที่สี่ ส่งเสริมให้มีความเชื่อมโยงที่มีระดับสูงขึ้น พวกเราต้องใช้แผนสีเขียวความเชื่อมโยงขององค์การเอเปคเป็นการผลักดันให้มีการเชื่อมต่อทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ และการไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนอย่างมีระเบียบ ประเทศจีนจะผลักดันข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของทุกฝ่ายอย่างแข็งขัน ร่วมกันสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงของเอเชีย-แปซิฟิกที่มีคุณภาพสูง

ประการที่ห้า สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมและอุปทานที่มั่นคงและราบรื่น พวกเราต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของเศรษฐกิจ ยืนหยัด หลักการตลาด ส่งเสริมให้ปัจจัยการผลิตเคลื่อนไหวอย่างอิสระเสรี พิทักษ์รักษาระบอบของการบริการ การผลิตและอุปทานของ สินค้าต่างๆ สร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรม และอุปทานของเอเชีย-แปซิฟิกที่สะดวก มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย ต้องร่วมกันคัดค้านลัทธิ เอกภาคนิยม ลัทธิอนุรักษนิยม คัดค้านการกระทำที่ทำให้ความสัมพันธ์เศรษฐกิจการค้ากลายเป็นประเด็นการเมือง และประเด็นที่เกี่ยวกับอาวุธ

ประการที่หก ต้องผลักดันเศรษฐกิจให้อัปเกรดและยกระดับคุณภาพสูงขึ้น พวกเราต้องคล้อยตามการปฏิวัติทางเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมรอบใหม่ เร่งดำเนินนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และกฎกติกา บ่มเพาะเศรษฐกิจใหม่ ธุรกิจใหม่ และโมเดลพาณิชย์ใหม่ เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจพัฒนาแบบดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ต้องยืนหยัดการพัฒนาแบบสีเขียว และคาร์บอนต่ำ สร้างอุตสาหกรรมสีเขียว และการเงินสีเขียว เร่งก่อสร้างโครงสร้างความร่วมมือแบบสีเขียวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จนทำให้การพัฒนา เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเดินอยู่ในแถวหน้าของโลก สุภาพสตรี สุภาพบุรุษ และเพื่อนมิตรทั้งหลาย

จีนได้รับผลดีจากเอเชีย-แปซิฟิกพัฒนา

“จีนใช้การพัฒนาของตนเองตอบรับและนำ ความผาสุกให้แก่ภูมิภาคนี้ เศรษฐกิจของจีน และของเอเชีย-แปซิฟิกได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และผสมผสานกันอย่างลึก ซึ่ง ประเทศจีนได้กลายเป็นคู่ค้าหลักของเขตเศรษฐกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเป็นจุดสำคัญของห่วงโซ่ อุตสาหกรรม และห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคนี้ จีนจะยืนหยัดในการสร้างประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกที่มีอนาคตร่วมกันอย่างแน่นอน สร้างผลประโยชน์มากขึ้นให้กับความมั่นคง และความเจริญของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” เอกสารสุนทรพจน์ระบุ 

จนถึงปัจจุบันนี้ จำนวนของประเทศอุตสาหกรรมของโลกนี้มีไม่เกิน 30 ประเทศ โดยมีประชากร ไม่เกินหนึ่งพันล้าน ประเทศจีนซึ่งมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันสี่ร้อยล้านคน บรรลุความทันสมัยนั้น จะเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในคน ประวัติศาสตร์การพัฒนาของมนุษยชาติ การพัฒนาที่ดีของสังคม และเศรษฐกิจจีน ย่อมรณรงค์รวมพลังของประชากรจำนวนมากกว่า 1,400 ล้านคน เราจะยึดหมั่นแนวคิดที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ผู้ที่มีรายได้ปานกลางมีจำนวนเกิน 800 ล้านคนใน 15 ปีข้างหน้า ผลักดันให้ตลาดที่มีปริมาณอันยิ่งใหญ่ ไพศาลสามารถพัฒนาเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ผู้นำจีน ย้ำเป้าหมายลดคาร์บอน ก่อนปี 2030 

ประเทศจีนได้ตั้งเป้าหมายที่ว่าจะพยายามปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ถึงระดับสูงสุดก่อนปี ค.ศ. 2030 และบรรลุความ เป็นกลางของคาร์บอนก่อนปี ค.ศ. 2060 ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาที่รัฐบาลจีนให้ไว้กับประชาคมโลก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีน เป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ลดความเข้มข้นของพลังงานรวดเร็วที่สุดในโลก ได้บรรลุเป้าหมายที่ว่าลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอน 40% ถึง 45% ในปี ค.ศ. 2020 โดยเกินโควตา ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสะสมไว้เป็นจำนวน 5,800 ล้าน ต้น ประเทศจีนได้สร้างเสร็จตลาดคาร์บอน และระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก หวังว่าทุกฝ่ายจะกระชับความร่วมมือ เดินบนเส้นทางพัฒนาแบบสีเขียว และคาร์บอนต่ำอย่างแน่วแน่ ร่วมกันสร้างประชาคมมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่มีอนาคตร่วมกัน

ที่ผ่านมา วงการธุรกิจเอเชีย-แปซิฟิก เป็นพลังสำคัญในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค มีคนกล่าวว่า นักธุรกิจเป็นผู้มองโลกในแง่ร้ายในระยะสั้น ก็เป็นผู้มองโลกในแง่ดีในระยะยาว หากชอบอยู่สบายโดยไม่ระมัดระวังภัยที่จะเกิดขึ้น ธุรกิจก็ไม่สามารถทำได้ดี หากไม่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และความคิดหลักแหลม ธุรกิจก็ไม่สามารถเจริญก้าวหน้าได้ด้วยเหมือนกัน หวังว่าเพื่อนมิตรต่างๆ ในวงการธุรกิจจะประยุกต์ใช้จิตวิญญาณของนักธุรกิจให้ดี ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างแข็งขัน มีส่วนร่วมอยู่ในการปฏิรูปเปิดประเทศของจีน และการสร้างความทันสมัยแบบจีนอย่างแข็งขัน สร้างคุณูปการสำคัญต่อการพัฒนา และความเจริญรุ่งเรืองของเอเชีย-แปซิฟิก และทั่วโลก

มีรายงานว่า ประธานาธิบดีสี ได้ยกเลิกการขึ้นเวทีสุดยอดภาคธุรกิจเอเปค ซึ่งคาดว่า ผู้นำจีนได้พบกับนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ในการประชุมผู้นำญี่ปุ่น-จีน มีขึ้นวันที่ 17 พ.ย. มุ่งเน้นไปยังประเด็นที่สองประเทศที่ช่วยบรรเทาสถานการณ์ที่ขัดแย้งในระดับภูมิภาค รวมถึงไต้หวัน และถือเป็นการเจอหน้าค่าตาครั้งล่าสุดในเดือน ธ.ค. 2562 ตอนที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะไปเยือนกรุงปักกิ่ง ก่อนโควิด-19 ระบาด สีเคยมีแผนเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ แต่ความสัมพันธ์ร้าวฉานอย่างรวดเร็วเมื่อรัฐบาลปักกิ่งเสริมขีดความสามารถทางทหาร การยิงขีปนาวุธระหว่างซ้อมรบใหญ่รอบไต้หวันเมื่อเดือนส.ค. เชื่อว่าไปตกในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของญี่ปุ่นด้วย ซึ่งรัฐบาลโตเกียวประท้วงการละเมิดน่านฟ้า และน่านน้ำของจีนในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์