ชวน 'ทูตจีน' คุยซอฟต์พาวเวอร์ เส้นทางมหาอำนาจเศรษฐกิจ

ชวน 'ทูตจีน' คุยซอฟต์พาวเวอร์ เส้นทางมหาอำนาจเศรษฐกิจ

จีน มีคำกล่าวโบราณว่า “การคบหาต่างชาติขึ้นอยู่กับความสนิทสนมระหว่างประชาชนกับประชาชน ความสนิทสนมระหว่างประชาชนอยู่ที่ความเข้าใจในวัฒนธรรม” เหมือนกับที่ประเทศจีนและประเทศไทยมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และสายเลือด

ละครซีรีส์ และภาพยนตร์จีนกลับมาฮอตฮิตในไทย ตั้งแต่เรื่องปรมาจารย์ลัทธิมารไปจนถึงทาสปีศาจ และอื่นๆ ซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นอำนาจละมุน (Soft power) ที่ทรงอิทธิพลมากในการสร้างความนิยมจีน นำไปสู่ทัศนคติที่ดีและความสัมพันธ์ระดับประชาชน 

 กรุงเทพธุรกิจมีโอกาสสัมภาษณ์ “หาน  จื้อเฉียง” เอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย เกี่ยวกับบทบาทซอฟต์พาวเวอร์จีนในปัจจุบัน ซึ่งท่านทูตหานเล่าว่า จีนและไทยมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและความบันเทิงกันต่อเนื่อง จนพูดได้ว่า "อุตสาหกรรมบันเทิงจีน-ไทย" เติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมทางออนไลน์ สื่อภาพยนตร์ ละครทางโทรทัศน์ รวมถึงเกมออนไลน์จากจีน ก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากคนไทย โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาว 

จีน มีคำกล่าวโบราณว่า “การคบหาต่างชาติขึ้นอยู่กับความสนิทสนมระหว่างประชาชนกับประชาชน ความสนิทสนมระหว่างประชาชนอยู่ที่ความเข้าใจในวัฒนธรรม” เหมือนกับที่ประเทศจีนและประเทศไทยมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์และสายเลือด 

 วัฒนธรรมของจีนและไทยมีสเน่ห์ลุ่มลึกและผสมผสานกลมกลืน เพราะ“จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” หยั่งรากลึกในหัวใจของคนทั้งสองประเทศ ตลอดเวลา 47 ปี นับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเป็นต้นมา การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างสองประเทศในด้านต่าง ๆ ก็บรรลุผลงดงาม โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทยนับว่ามีความคึกคักอย่างมาก จนกลายเป็นไฮไลท์สำคัญของ “ความสัมพันธ์จีน-ไทย” 

 

ชวน \'ทูตจีน\' คุยซอฟต์พาวเวอร์ เส้นทางมหาอำนาจเศรษฐกิจ

ทูตหาน กล่าวว่า วัฒนธรรมและศิลปะไทยที่หลากหลายและมีสีสันมีเสน่ห์เฉพาะตัว ได้รับการต้อนรับและเป็นที่ชื่นชอบของคนจีน ผลงานวัฒนธรรมไทยคลาสสิกก็เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศจีน สิ่งที่ต้องพูดถึงคือ ท่านรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชาและศาสตราจารย์ เผิง ลี่หยวน ภริยาของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้ประสานงานให้สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาของประเทศไทยและวิทยาลัยศิลปกรรมศาสตร์นานกิงของจีนได้แลกเปลี่ยนและร่วมมือกันมากขึ้น  ดั่งที่แสดงในงานนิทรรศการ “เทศกาลสารคดีจีน” และกิจกรรมวัฒนธรรมจีนรอบพิเศษที่ศูนย์วัฒนธรรมจีน กรุงเทพฯ

ศิลปินจากสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้แสดงดนตรีคลาสสิกไทยในจีน และศิลปินจากวิทยาลัยศิลปกรรมศาสตร์นานกิงก็มาแสดงที่ไทยด้วย เชื่อว่าด้วยความเอาใจใส่และความพยายามร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศิลปะระหว่างจีนและไทยจะพัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง

 

ชวน \'ทูตจีน\' คุยซอฟต์พาวเวอร์ เส้นทางมหาอำนาจเศรษฐกิจ

ปัจจุบัน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทยขยายวงกว้าง และมีหลากหลายช่องทาง ซึ่งหน่วยงานรับผิดชอบที่ดูแลด้านแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของ 2 ประเทศ ได้แก่ สถาบันการศึกษา องค์การวรรณกรรมและศิลปะ วงการอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ต่างช่วยกันส่งเสริมความสัมพันธ์ ความเข้าใจ และมิตรภาพระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ 

ทูตหาน กล่าวว่า  ศูนย์วัฒนธรรมจีน ณ กรุงเทพมหานครเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดทิศทางความร่วมมือสองประเทศในอนาคต โดยก่อนหน้าจะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ศูนย์วัฒนธรรมจีนได้จัดกิจกรรมไม่น้อยกว่า 100 งานต่อปี มาถึงขณะนี้ศูนย์วัฒนธรรมจีนได้กลับมาจัดกิจกรรมเป็นปกติ โดยเปิดคอร์สเรียนภาษาจีน กู่เจิง ผีผา เขียนพู่กัน และทำอาหารจีนด้วย

ทูตหานยกตัวอย่างกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ประสบความสำเร็จในประเทศว่า จากมุมมองนี้ เราได้เห็นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างจีนและไทยที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมวัฒนธรรม “หรรษาตรุษจีน” ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 18 แล้วและได้กลายเป็นรายการทางวัฒนธรรมที่สำคัญและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศจีนและไทย ทั้งยังเป็นเวทีสำคัญในการส่งเสริมมิตรภาพและความผูกพันระหว่างประชาชน 2 ประเทศ 

ทูตหานกล่าวทิ้งท้ายว่า ปีนี้ศูนย์วัฒนธรรมจีนครบรอบการดำเนินงาน 10ปี เรามีความมุ่งมั่นเชื่อมสัมพันธ์จีน-ไทยให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น และขอให้คำมั่นว่า จะจัดกิจกรรมเสริมสร้างมิตรภาพให้ดีขึ้นต่อไป เพราะเชื่อว่า ในอนาคตสองประเทศจะมีความร่วมมือทางวัฒนธรรมที่ให้ผลลัพธ์ที่งดงามยิ่งขึ้น

 

ชวน \'ทูตจีน\' คุยซอฟต์พาวเวอร์ เส้นทางมหาอำนาจเศรษฐกิจ

แม้เป้าหมายหลักของการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมระหว่างจีน-ไทยของศูนย์วัฒนธรรมจีนจะมุ่งเน้นสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดับระดับประชาชน แต่รู้หรือไม่ว่าจีนประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอันดับสอง และกำลังกลับมาทวงคืนตำแหน่งประเทศที่ทรงอิทธิพลด้านซอฟพาวเวอร์ โดยในรายงานดัชนีซอฟต์พาวเวอร์โลก ปี2565 ได้จัดอันดับจีนอยู่ในอันดับที่4 ขยับขึ้นมาจากอันดับ 8 โดยอันดับหนึ่งได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส แคนาดา สวิซเซอร์แลนด์ รัสเซีย อิตาลี ตามลำดับ

รายงานยังระบุอีกว่า ซอฟต์พาวเวอร์จีนมีอิทธิพลในการถ่ายทอดวัฒนธรรมจีนที่ทรงคุณค่า ซึ่งได้ถูกส่งต่อรุ่นสู่รุ่นเป็นเวลานับพันปี ตลอดจนมีผลต่อทัศนคติระดับประชาชนที่นำไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านการค้า และสร้างความนิยมจีน นำไปสู่ความต้องการใช้สินค้าและเชื่อมั่นทางเทคโนโลยีของจีน สิ่งนี้จึงไม่น่าสงสัย ถ้าซอฟต์พาวเวอร์จีนจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจ หลังโควิด-19