Productivity ฉบับไมโครซอฟต์ Doing More With Less | กฤชชัย อนรรฆมณี

Productivity ฉบับไมโครซอฟต์ Doing More With Less | กฤชชัย อนรรฆมณี

การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกกับการเปิดตัว ChatGPT จาก OpenAI โดยทุนสนับสนุนจากไมโครซอฟต์ ช่วงก่อนหน้าเข้าสู่ปี 2566

มีคลิปที่เผยแพร่โดย Satya Nadella ซีอีโอ กล่าวถึงผลงานของไมโครซอฟต์ในฐานะที่เป็นองค์กรพัฒนาเทคโนโลยี และเป็นส่วนหนึ่งของผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า ต้องคำนึงถึงผู้ใช้และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีเสมอ

คำหลักที่ Satya ใช้ในการสื่อสาร คือ Doing more with less ที่จะได้คุยกัน พร้อมกับเชื่อมโยงกับแนวคิดรากฐานของ Productivity Improvement ครับ

Productivity ฉบับไมโครซอฟต์ Doing More With Less | กฤชชัย อนรรฆมณี

ได้มากขึ้น ใช้น้อยลง

Satya กล่าวถึงปี 2565 ที่ผ่านไป ว่าเป็นปีที่มีนวัตกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ตัวเลขการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสูงกว่าตัวเลข GDP มาก

เกิดหลายกรณีศึกษาที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อ Do more สร้างสรรค์คุณค่าและประโยชน์ที่มากขึ้น With less ด้วยการใช้บุคลากร เวลา และทรัพยากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องน้อยลง 

ตัวอย่างเช่น More refugee aid/Less programming experience ชายหนุ่มที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในงานไอที แต่สามารถสร้าง Platform Version แรก ภายใน 2 วัน เพื่อระดมของบริจาคและความช่วยเหลือจากทั่วประเทศ ให้กับผู้อพยพหนีสงครามชาวยูเครนที่มีมากกว่า 20,000 คนในโปรตุเกส

More food/Less waste เทคโนโลยี Food cloud ถูกนำมาเชื่อมต่อกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยแจกจ่ายอาหารส่วนเกินให้กับผู้ยากไร้ในชุมชนท้องถิ่นของไอร์แลนด์ เป็นการลดขยะอาหารลงไปในคราวเดียวกัน โดยสามารถจัดอาหารไปได้แล้วมากกว่า 180 ล้านมื้อตั้งแต่ปี 2556

More employment/Less turnover เว็บไซต์เพื่อการจ้างงานบุคคลออทิสติกให้ผู้ใช้ระบุงานที่ต้องการ ระบบนำ AI มาช่วยวิเคราะห์ความสามารถของผู้ใช้ที่ถูกมองข้าม สร้างฐานข้อมูลที่ทำให้องค์กรที่ต้องการแรงงาน คัดเลือกได้ง่ายขึ้น เกิดการเข้าถึงการจ้างงานมากขึ้น

Productivity ฉบับไมโครซอฟต์ Doing More With Less | กฤชชัย อนรรฆมณี

More vaccines/Less time องค์กร UNICEF นำเทคโนโลยีมาช่วยในการแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ในช่วงที่เกิดการระบาดอย่างหนัก

More bridges/Less barrier โครงการ “Active Citizen” สร้างโอกาสให้กับผู้คนจากทั่วโลก ได้พบกับผู้ได้รับรางวัล Nobel สาขาสันติภาพบนโลก Metaverse เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองของสันติภาพโลก เป็นการสร้างทางเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้น

More learning/Less time โตโยต้านำเทคโนโลยี Mixed Reality มาใช้ในการฝึกอบรมพนักงาน ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น ผู้ฝึกสอนใช้เวลาน้อยลง จำนวนผู้เรียนมากขึ้น รองรับกระบวนการผลิตรถรุ่นใหม่ ที่หมุนเวียนเข้ามาโดยตลอด

More products/Less energy การออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ของโคคาโคลาด้วยวัสดุที่มีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดโลกร้อน ใช้พลังงานในการผลิตน้อยลง

More harvest/Less labor บริษัทสตาร์ตอัปของญี่ปุ่นนำ AI มาพัฒนาหุ่นยนต์ เพื่อให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรมีประสิทธิภาพขึ้น ควบคุมการทำงาน และรายงานข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ ทำให้ใช้แรงงานในการดำเนินการลดน้อยลง

More preserving/Less poaching มูลนิธิ Peace Parks นำเทคโนโลยีมาช่วยในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในแอฟริกาใต้ โดยรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ใช้ชีวิตของสัตว์น้อยลง

Productivity ฉบับไมโครซอฟต์ Doing More With Less | กฤชชัย อนรรฆมณี

หลักการผลิตภาพ Productivity

การอธิบายความหมายของ Productivity คือ ความพยายามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ด้วยทัศนคติว่ามนุษย์มีศักยภาพในการปรับปรุงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นได้เรื่อยๆ พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้

ผลประโยชน์จากสิ่งที่ดีขึ้นนี้ นำมาแบ่งปันอย่างเหมาะสม ไปยังผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งองค์กรเอง ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน ชุมชน สังคม รัฐบาลและโลกใบนี้

Productivity ที่จับต้องได้นั้น มองถึงทรัพยากรที่ต้องใส่เข้าไปในกระบวนการ เพื่อสร้างสินค้าและบริการ ส่งมอบให้กับลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่น Input => Process => Output

การวัดค่า Productivity ทำได้โดยวัดค่า Output เทียบกับ Input หรือกล่าวได้เป็นการวัด สัดส่วน ผลผลิตของสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นเทียบกับทรัพยากรที่ใช้ไป

การปรับปรุงให้สัดส่วน Output/Input หรือ Productivity สูงขึ้น ในทางทฤษฎีกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นได้ใน 5 ลักษณะคือ

  • Output มากขึ้น, Input เท่าเดิม
  • Output เท่าเดิม, Input น้อยลง
  • Output และ Input มากขึ้นทั้งคู่ โดย Output มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากกว่า Output และ Input ลดลงทั้งคู่ โดย Input มีสัดส่วนลดมากกว่า Output มากขึ้น พร้อมกับลดการใช้ Input ไปในขณะเดียวกัน

แนวคิดที่คุณ Satya กล่าวถึง Doing more with less คือ แนวทางที่ 5 ผลผลิตมากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง นั่นเอง

ในโลกเก่าที่เป็นโลกกายภาพอย่างเดียวนั้น การลด Input หรือทรัพยากรลงแต่กลับได้ Output สินค้าหรือบริการมากขึ้น เป็นวิธีที่ยากที่สุด

ลองนึกถึงฟาร์มเกษตรที่ต้องการลดจำนวนแรงงานที่เข้าไปเก็บเกี่ยว แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการผลผลิตเพิ่มขึ้นไปพร้อมๆ กันด้วย จะทำได้พนักงานคงต้องทำงานหนักขึ้นมาก การพัฒนาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือ การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านเครื่องจักร ที่ทำให้เกิดการปรับปรุงวิธีการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องมืออัตโนมัติ 

ในโลกปัจจุบันที่เป็นการบูรณาการระหว่างโลกกายภาพและโลกดิจิทัล การพัฒนาเทคโนโลยีกลายเป็นทรัพยากรสำคัญที่เข้ามาทำให้เกิดการปรับปรุง Productivity ได้อย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง ทำให้ได้สินค้าหรือบริการที่มากขึ้น และลดการใช้ทรัพยากรอื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน

การรู้เท่าทันเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม คือภารกิจสำคัญในปัจจุบัน เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงผลิตภาพ และทำให้สังคมโดยรวมดีขึ้นครับ