NIA ทุ่ม 200 ล้าน หนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม ให้ทุนธุรกิจ EV ปีแรก

NIA ทุ่ม 200 ล้าน หนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม ให้ทุนธุรกิจ EV ปีแรก

NIA ทุ่มงบ 200 ล้านบาท สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมไทย ผ่านโครงการ Thematic Innovation ตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 40 โครงการ คาดเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 400 ล้านบาท โดยปีนี้ให้ทุนธุรกิจด้าน EV เป็นปีแรก

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สนับสนุนสตาร์ตอัป และผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมไทย ผ่าน “โครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation)” เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้งบประมาณกว่า 200 ล้านบาท โดยมุ่งสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรมใน 6 สาขา ได้แก่ 

  1. อาหารมูลค่าสูงสำหรับส่งออก 
  2. ความมั่นคงทางอาหาร 
  3. เศรษฐกิจการหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ 
  4. พลังงานสะอาด 
  5. ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีโลกเสมือน หรือ ARI Tech 
  6. กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง 

ทั้งนี้ ตั้งเป้าว่าจะมีผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือบริการที่ใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์ไม่น้อยกว่า 40 โครงการ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท และสามารถเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเป้าหมายหรือภาคการลงทุนไม่น้อยกว่า 40 ธุรกิจ 

NIA ทุ่ม 200 ล้าน หนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม ให้ทุนธุรกิจ EV ปีแรก

วิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม

วิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า ดำเนินมากว่า 5 ปี เกิดเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายมากกว่า 92 โครงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร ฯลฯ ด้วยเงินสนับสนุนกว่า 255 ล้านบาทและก่อให้เกิดมูลค่าประมาณ 530 ล้านบาท 

สำหรับในปีนี้ NIA มุ่งเน้นโครงการนวัตกรรมมุ่งเป้าใน 6 ธุรกิจนวัตกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อาหารมูลค่าสูงสำหรับส่งออก เพื่อเร่งพัฒนาการผลิตและการส่งออกอาหารและผลไม้ไทยคุณค่าและมูลค่าสูง และผลักดันไทยสู่ผู้นำของโลกทั้งอาหารเพื่อสุขภาพ 

อาหารพรีเมี่ยม โปรตีนทางเลือก และอาหารพื้นถิ่นมูลค่าใหม่ เช่น อาหารว่างสำหรับผู้ป่วยโรคไต ไอศกรีมผงกึ่งสำเร็จรูป เนื้ออกไก่จากพืช สเปรดไข่เค็มไชยาพร้อมทาน ฯลฯ 

ทั้งด้านการเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม การตรวจสอบย้อนกลับ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการผลิตอาหารอัจฉริยะ เป็นต้น เศรษฐกิจการหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยสร้างมูลค่าเพิ่มจากการนำขยะหรือของเสียจากภาคอุตสาหกรรมมาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นวัตถุดิบทดแทนหรือนำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น 

ผ่านโมเดลอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และโมเดลการจัดการพลาสติกและขยะ พลังงานสะอาด ที่พัฒนาและประยุกต์ใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทั้งการปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงชีวภาพ และระบบบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด 

NIA ทุ่ม 200 ล้าน หนุนผู้ประกอบการนวัตกรรม ให้ทุนธุรกิจ EV ปีแรก

ผ่านโมเดลอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และโมเดลการจัดการพลาสติกและขยะ พลังงานสะอาด ที่พัฒนาและประยุกต์ใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทั้งการปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงชีวภาพ และระบบบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด 

ธุรกิจดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีโลกเสมือน หรือ ARI Tech เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม การแพย์ ธุรกิจที่สอดรับกับการเชื่อมโยงโครงข่ายอินเทอร์เน็ต (IoT) และรับกระแสโลกเสมือนจริงหรือ เมตาเวิร์ส และกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่อง 

ทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและส่วนประกอบสำคัญ การบริการและแพลตฟอร์มสนับสนุน ตลอดจนการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขนส่งเชิงพาณิชย์ ธุรกิจนวัตกรรมผลิตยานยนต์ที่มีการสื่อสารและเชื่อมโยงถึงกัน ซอฟต์แวร์เพื่อใช้กับยานยนต์ไฟฟ้า การให้บริการสถานีชาร์จ การบริหารจัดการการจ่ายกระแสไฟฟ้าของแบตเตอรี่ ฯลฯ

โครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้าที่ NIA ดำเนินการนั้น เป็นการสนับสนุนเงินทุนให้เปล่าสำหรับสตาร์ตอัปหรือผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมใน 6 กลุ่มธุรกิจนวัตกรรมเป้าหมายในวงเงินสูงสุดไม่เกินโครงการละ 5,000,000 บาท 

ครอบคลุมทั้งการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมและทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานของนวัตกรรมในสภาพแวดล้อมจริง โดยต้นแบบดังกล่าวต้องมีความเป็นนวัตกรรมระดับประเทศขึ้นไปในด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ หรือกระบวนการ และสามารถสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำหนดได้ 

"ในปีนี้เราให้ทุนกับธุรกิจด้านยานยนต์ไฟฟ้าเป็นปีแรก แต่คงไม่ได้มีเงินทุนมากพอที่จะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ เพราะโครงการแต่ละโครงการจะได้ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่เราจะเป็นทุนในกระบวนการอื่น ๆ แทน ยกตัวอย่างเช่น มูฟมี (Muvmi) คือบริการเรียกรถตุ๊กตุ๊กผ่านแอป ที่ผลักดันให้เกิดเป็นโมเดลธุรกิจใช้งานเชิงพาณิชย์ได้จริง" รอง ผอ. NIA กล่าว 

ผู้ประกอบการหรือสตาร์ตอัปที่จะสมัครเข้าร่วมจะต้องมีคุณสมบัติคือ เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและมีผู้ถือหุ้นเป็นสัญชาติไทยอย่างน้อยร้อยละ 51 ต้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในเทคโนโลยีหลักที่ใช้ในโครงการ หรือเป็นการขอใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาได้ ต้องมีโมเดลธุรกิจและแผนการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจน เพื่อรองรับการขยายผลโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ 

สามารถสำรองเงินเพื่อเบิกจ่ายเงินอุดหนุนย้อนหลังได้ รวมถึงนิดิบุคคล หรือกรรมการบริหารของนิติบุคคล มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 3 ปี นอกจากนี้ ยังมีกลไกสนับสนุนอื่น ๆ 

เช่น การเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาธุรกิจเพื่อให้องค์ความรู้สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ - บริการเพื่อออกสู่ตลาด การจับคู่กับนักลงทุนสำหรับนวัตกรรมที่เป็นต้องการในสาขาอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงการช่วยสนับสนุนด้านแผนธุรกิจ การให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยสามารถลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน https://mis.nia.or.th/ ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565

“การสนับสนุนนวัตกรรมแบบมุ่งเป้าถือเป็นการเร่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงของประเทศ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคการลงทุน และหน่วยงานด้านการส่งเสริมนวัตกรรมของภาครัฐได้เห็นมุมมองใหม่ที่เป็นประโยชน์จากแผนธุรกิจและความแตกต่างในเชิงเทคนิค 

ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการตอกย้ำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีเป้าหมายในการฟื้นฟูและเดินหน้าเศรษฐกิจหลังจากนี้ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ งานวิจัย และกำลังคนที่มีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก ซึ่งจะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยสู่หมุดหมายประเทศแห่งนวัตกรรมต่อไป” รองผู้อำนวยการ NIA กล่าวสรุป