คุยกับ ‘แคทเธอรีน เลียน’ วันที่ ผู้หญิงสวมบทบาท ผู้นำโลก ‘Generative AI’

คุยกับ ‘แคทเธอรีน เลียน’ วันที่ ผู้หญิงสวมบทบาท ผู้นำโลก ‘Generative AI’

กรุงเทพธุรกิจ สัมภาษณ์พิเศษ “แคทเธอรีน เลียน” กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารส่วนงานเทคโนโลยี ไอบีเอ็ม อาเซียน “แคทเธอรีน” คือ 1 ใน 5 ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลแห่งโลกเทคโนโลยี จัดอันดับโดย Tech Wire Asia เมื่อปี 2023

KEY

POINTS

  • ความพร้อมการนำ Generative AI มาใช้ในธุรกิจ ดันผู้หญิงขยับบทบาทประตูสู่การเติบโต
  • เทคไม่ได้มาแทนคน แต่เทคจะมาเป็นผู้ช่วย และแน่นอนว่า Generative AI หนุนผู้หญิงสู่ผู้นำที่แข็งแกร่งได้
  • วันนี้ผู้หญิงมีแนวโน้มมากกว่าผู้ชายในการนำ เอไอ มาช่วยสร้าง แก้ไข และสรุปเนื้อหา
  • สิ่งสำคัญคือผู้หญิงต้องสามารถสร้างความโดดเด่นในฐานะตัวแทนการเปลี่ยนแปลง และเร่งอัพสกิล-รีสกิลในชุดทักษะที่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็น

 

กรุงเทพธุรกิจ สัมภาษณ์พิเศษ “แคทเธอรีน เลียน” กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารส่วนงานเทคโนโลยี ไอบีเอ็ม อาเซียน “แคทเธอรีน” คือ 1 ใน 5 ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลแห่งโลกเทคโนโลยี จัดอันดับโดย Tech Wire Asia เมื่อปี 2023

ความเท่าเทียมทางเพศในองค์กรเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงมาอย่างยาวนาน แม้จะมีการพูดถึงหลายแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ที่ผ่านมาอาจยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรมนัก

กรุงเทพธุรกิจ สัมภาษณ์พิเศษ “แคทเธอรีน เลียน” กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารส่วนงานเทคโนโลยี ไอบีเอ็ม อาเซียน “แคทเธอรีน” คือ 1 ใน 5 ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลแห่งโลกเทคโนโลยี จัดอันดับโดย Tech Wire Asia เมื่อปี 2023 และเป็นผู้ชนะรางวัลหญิงเก่งในสายเทคโนโลยีของภูมิภาคเอเชียโดย Channel Asia

ไอบีเอ็ม ยกโจทย์ความเฟื่องฟูของ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ “เอไอ” ที่กำลังส่งผลกระทบในหลายมิติ เป็นเรื่องใหญ่ที่ ผู้นำองค์กรกำลังให้ความสำคัญ วันนี้ทั่วโลกมีซีอีโอหญิงแกร่งจำนวนมาก แน่นอนว่า พวกเธอต้องถูกท้าทายจากการมาของเอไอด้วยเช่นกัน

คุยกับ ‘แคทเธอรีน เลียน’ วันที่ ผู้หญิงสวมบทบาท ผู้นำโลก ‘Generative AI’

แคทเธอรีน เผยผลการศึกษา Forging the Future of AI: Women Can Take the Lead ล่าสุดของสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) สะท้อนให้เห็นถึงจำนวนทาเลนท์ผู้หญิงในองค์กรที่ลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงในไปป์ไลน์ของการสืบทอดตำแหน่งผู้นำ

ผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งผู้นำระดับกลางถึงระดับสูงในปี 2565 นั้นต่ำกว่าในปี 2562 และแม้ว่าผู้หญิงจำนวนมากขึ้น (12%) จะขึ้นสู่ตำแหน่ง C-suite ในปีที่ผ่านมา แต่มีจำนวนผู้หญิงเพียง 14% ที่อยู่ในระดับรองประธานอาวุโส 16% ในระดับรองประธานหรือผู้อำนวยการ และเพียง 19% ที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการอาวุโส

แต่วันนี้ ความพร้อมของการนำ Generative AI มาใช้ในธุรกิจ อาจเป็นกลไกสำคัญช่วยให้ผู้หญิงขยับบทบาทเป็นผู้นำการสร้างความเปลี่ยนแปลง และเป็นประตูสู่การเติบโตในสายงานของผู้หญิงได้

“Generative AI"โอกาสใหญ่ผู้หญิง

ก่อนที่ “แคทเธอรีน" จะอธิบายเพิ่มเติมถึงผลศึกษาข้างต้น เธอ บอกว่า วันนี้ (วันที่ “กรุงเทพธุรกิจ” ไปสัมภาษณ์) เธอสวมชุดสีม่วง เพราะนี่คือหนึ่งในสีที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิงในโลกของเทคโนโลยี รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของวันสตรีสากล (International Women Day) ด้วย สีม่วง หมายถึง ศักดิ์ศรี ความยุติธรรม และความมุ่งมั่นในจุดยืน ที่ปัจจุบันใช้เป็นสีสัญลักษณ์ของผู้หญิง ,สีเขียว คือ ความหวัง ,สีขาว คือ ความบริสุทธิ์

แคทเธอรีน ย้ำว่า เมื่อพูดถึง “เทคโนโลยี” เธอเชื่อว่า เทคไม่ได้มาแทนที่คน แต่เทคจะมาเป็นผู้ช่วย และแน่นอนว่า Generative AI จะเข้ามาสนับสนุนผู้หญิงให้ก้าวไปสู่บทบาทผู้นำที่แข็งแกร่งได้

ผลศึกษาไอบีเอ็ม สะท้อนว่า “Generative AI นำมาซึ่งโอกาสของผู้หญิงในการรับหน้าที่ และเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ยูสเคสเบื้องต้นส่วนใหญ่ของ Generative AI มุ่งเน้นไปที่งานมาร์เก็ตติ้งและการบริการลูกค้า เป็นงานที่ส่วนใหญ่รับผิดชอบโดยผู้หญิง สิ่งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงขยับเป็นผู้มีบทบาทในการนำเทคโนโลยี Generative AI เข้ามาใช้ทรานส์ฟอร์มส่วนงานของตนได้”

“สิ่งสำคัญคือผู้หญิงต้องสามารถสร้างความโดดเด่นในฐานะตัวแทนการเปลี่ยนแปลง และเร่งอัพสกิล-รีสกิลในชุดทักษะที่จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยกำหนดบทบาทความเป็นผู้นำในอนาคตใหม่ด้วย ในทางกลับกัน หากผู้หญิงไม่ใช้ประโยชน์จาก Generative AI ในวันนี้เพื่อสร้างจุดแข็ง เส้นทางการสืบทอดตำแหน่งผู้นำในวันพรุ่งนี้ก็อาจจะน้อยลงไปอีก”  แคทเธอรีน เสริม

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นเส้นทางที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือก ผู้หญิงเกือบครึ่งหนึ่งที่สำรวจ (46%) กังวลว่าระบบออโตเมชันที่ขับเคลื่อนด้วย เอไอ จะมาแทนที่พวกเธอในงานปัจจุบัน ขณะที่ผู้ชายเพียง 37% เท่านั้นที่กังวลในเรื่องนี้

แคทเธอรีน อธิบายว่า จริงๆ แล้วผู้หญิงไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน เอไอ วันนี้ผู้หญิงมีแนวโน้มมากกว่าผู้ชายในการนำ เอไอ มาช่วยสร้าง แก้ไข และสรุปเนื้อหา และเกือบ 40% ได้นำเทคโนโลยีมาใช้แล้วกับงานออกแบบกราฟิค รวมถึงการสร้างรูปภาพและวิดีโอ โดยหนึ่งในสี่ของผู้หญิงที่สำรวจระบุว่าส่งผลให้พวกเธอมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นมากกว่า 10%

“สิ่งสำคัญคือผู้หญิงต้องสามารถเข้าใจและคาดการณ์ได้ว่าจะนำ เอไอ เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการ รวมถึงเสริมศักยภาพของทีมได้ดีที่สุดได้อย่างไร จากนั้นพวกเธอสามารถทำงานร่วมกับฝ่ายไอที เพื่อผลักดันให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ สิ่งสำคัญคือผู้หญิงไม่สามารถนิ่งเฉยได้ ต้องเริ่มนำเครื่องมือเอไอ มาทดลองใช้”

เปิด 3 แนวทางฝ่าความไม่เท่าเทียม

แคทเธอรีน แนะนำว่า 3 แนวทางสำคัญที่จะทำให้ผู้หญิงสามารถฝ่าฟัน ปัญหาความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน และขับเคลื่อนตัวเองขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในยุคของ Generative AI ได้ ประกอบด้วยเรื่องแรก คือ

การเดินหน้าบังคับทิศทางเรือลำใหม่นี้อย่างมั่นใจ โดย “Generative AI เป็นเครื่องมือใหม่ ที่ไม่ได้มีคู่มือการใช้งานที่ชัดเจนมาให้ สิ่งนี้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานกลุ่มแรกๆ สามารถสร้างความโดดเด่นในฐานะผู้นำ Generative AI มาช่วยสร้างมูลค่าทางธุรกิจและสร้างรายได้ใหม่ วันนี้ผู้หญิงอยู่ในบทบาทสำคัญที่จะกำหนดยูสเคสใหม่ๆ รวมถึงวิธีทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาศัยความสามารถของ Generative AI ฉะนั้น ผู้หญิงต้องยืนหยัดและแสดงให้ผู้นำเห็นสิ่งเหล่านี้”

อย่างไรก็ดี ผลศึกษากลับสะท้อนทิศทางที่ต่างกัน พบว่า ผู้ชายเป็นฝ่ายที่มองเห็นศักยภาพการนำ Generative AI เข้ามาช่วยสร้างคุณค่าแก่ธุรกิจ และกำลังรีบคว้าโอกาสนี้ ขณะที่ผู้หญิงยังคงตามหลังอยู่ โดย 71% ของผู้ที่สำรวจมองว่าผู้ชายกำลังแซงหน้าผู้หญิงในด้านการนำ เอไอ มาใช้ และ 68% ระบุว่าผู้ชายเห็นประโยชน์ของ Generative AI มากกว่า และมีแนวโน้มมากกว่าที่จะนำ Generative AI มาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร

เรื่องที่สอง คือการยอมเสี่ยงเพื่อสร้างความได้เปรียบ แคทเธอรีน มองว่า “หนึ่งในทัศนคติที่คนชอบเหมารวมคือผู้หญิงไม่ชอบที่จะเสี่ยง" แต่ผลการศึกษากลับขัดแย้งกับเรื่องนี้ โดยพบว่า ผู้ชายและผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะรับและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงพอๆ กันหากการเดิมพันนั้นไม่ได้ผล”

“กระนั้น ผู้ชายกระตือรือร้นที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มากกว่า ขณะที่ผู้หญิงก้าวย่างอย่างระมัดระวัง โดยผู้ชาย (47% เทียบกับผู้หญิง 40%) มอง Generative AI ว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดงานและเพิ่มค่าจ้าง (38% เทียบกับผู้หญิง 28%) ขณะที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ (56%) มอง Generative AI ในฐานะเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการทำงาน”

ผู้หญิงต้องพร้อมเล่นเกมรุก

การเตรียมพร้อมรับมือเป็นสิ่งสำคัญในโลก เอไอ ที่กำลังพัฒนา แต่ผู้หญิงก็ต้องพร้อมที่จะเล่นเกมรุกด้วยเช่นกัน โดยเมื่อมองไปถึงอนาคต 77% ของคนทำงานระดับพนักงานมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับบทบาทหน้าที่ของตนภายในปี 2568 เช่นเดียวกับหนึ่งในสี่ของผู้บริหารระดับสูง

สถานการณ์เช่นนี้ "แคทเธอรีน" มองว่า “ผู้หญิงที่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับ เอไอ และเข้าใจว่า เอไอ สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กรอย่างไร สามารถสื่อสารได้ว่าควรใช้ เอไอ อย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สร้างคุณค่า จะกลายเป็นผู้ที่มีข้อได้เปรียบชนิดไม่มีใครเทียบได้”

แนวทางที่สาม ผู้หญิงต้องอย่ามัวแต่รอโอกาส ยกตัวอย่าง การปฏิบัติตามเฟรมเวิร์คของ เอไอ ที่เป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ดี วันนี้ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิงว่ากฎระเบียบเหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไร และผู้หญิงส่วนใหญ่มองว่าความไม่แน่นอนนี้เป็นเหตุผลที่ควรหยุดรอ

จากผลสำรวจ ผู้หญิงมองว่า ปัจจัยที่จะสนับสนุนให้พวกเธอใช้ Generative AI ได้ คือนโยบายของบริษัท (59%) ตามมาด้วยความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น (58%) และการเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัย (51%) ขณะที่ผู้ชายก็ให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้เหมือนกัน แต่ให้ความสำคัญกับความมั่นใจด้านความปลอดภัย (70%) มาเป็นอันดับแรก และนโยบายของบริษัท (47%) เป็นอันดับสุดท้าย

แม้ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องการนโยบายบริษัทที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ เอไอ ในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักความเสี่ยงของการไม่เริ่มทำอะไรเลยกับความเสี่ยงในการทำผิดพลาด และอาจพบว่าควรเปิดรับโอกาสที่จะลองสิ่งใหม่ๆ แทนที่จะรอทิศทางที่ชัดเจนจากเบื้องบน ซึ่งอาจไม่มาในเวลาที่เหมาะสม.....