บุก ‘TNO Open House’ สัมผัส ‘กล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์’ ดูดาวบนดอยอินทนนท์

บุก ‘TNO Open House’ สัมผัส ‘กล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์’ ดูดาวบนดอยอินทนนท์

ดูดาวอย่างไรให้เป็นที่สุด KT Review พาบุกงาน “TNO Open House : เปิดบ้านหอดูดาวแห่งชาติ” ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ บนดอยอินทนนท์ สัมผัสเทคโนโลยี "กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ" กล้องโทรทรรศน์ใหญ่สุดในอาเซียน

หลังจากสร้างปรากฏการณ์เรียกคนเมืองมารวมตัวกันดูดาวที่ใจกลางกรุงได้ในงานดูดาวกลางกรุง Starry Night over Bangkok เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อต้นเดือนมกราคม 2567 NARIT หรือ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ก็จัดอีกหนึ่งงานใหญ่สำหรับคนรักดวงดาว TNO Open House : เปิดบ้านหอดูดาวแห่งชาติ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือ หอดูดาวแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เปิดบ้านให้ผู้สนใจกว่า 120 คน เยี่ยมชมห้องควบคุมกล้องโทรทรรศน์ และใกล้ชิดการทำงานของนักดาราศาสตร์ตัวจริง

และที่เป็นไฮไลท์คือการได้สัมผัสเทคโนโลยี กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร และ 1 เมตร ซึ่งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร คือ กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

บุก ‘TNO Open House’ สัมผัส ‘กล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์’ ดูดาวบนดอยอินทนนท์

รู้จักกล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์

"กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร" เป็นกล้องโทรทรรศน์ระบบอัลตะซิมุท (Alt-azimuth system) ควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ ติดตามวัตถุท้องฟ้าด้วยความแม่นยำสูง ระบบทัศนศาสตร์ของกล้องเป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบริชชี-เครเทียน (Ritchey-Chretien) มีช่องต่ออุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์ได้มากถึง 4 ช่อง

กระจกทำจากวัสดุ Lithium-aluminosilicate glass-ceramics ที่มีการขยายตัวต่ำเมื่ออุณหภูมิโดยรอบมีการเปลี่ยนแปลง ผิวกระจกเคลือบด้วยอลูมิเนียม

บุก ‘TNO Open House’ สัมผัส ‘กล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์’ ดูดาวบนดอยอินทนนท์ บุก ‘TNO Open House’ สัมผัส ‘กล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์’ ดูดาวบนดอยอินทนนท์ กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร

ซึ่ง "กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ" ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร นี้เคยได้ใช้สังเกตการณ์พบปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์สำคัญๆ หลายครั้ง อาทิ ในการปะทุของซากดาวฤกษ์ AT2022tsd แบบที่ไม่เคยพบมาก่อน โดยการปะทุมีช่วงระยะเวลาประมาณ 30 วินาที นับเป็นการปะทุระยะสั้นที่สุดที่พบได้จากการสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ในช่วงความยาวคลื่นแสงเป็นครั้งแรก งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature ซึ่งเป็นวารสารวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้น

ในการเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ครั้งนั้นต้องใช้อุปกรณ์กล้องถ่ายภาพความเร็วสูง จึงจำเป็นต้องใช้ "กล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ" ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ถึง 2.4 เมตร ร่วมกับอุปกรณ์ ULTRASPEC ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิจัยที่ติดตั้งภายใต้ความร่วมมือกับ University of Sheffield และ University of Warwich สหราชอาณาจักร

บุก ‘TNO Open House’ สัมผัส ‘กล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์’ ดูดาวบนดอยอินทนนท์ บุก ‘TNO Open House’ สัมผัส ‘กล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์’ ดูดาวบนดอยอินทนนท์

เห็นอะไร?

ในค่ำคืนของงาน "TNO Open House : เปิดบ้านหอดูดาวแห่งชาติ" เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2567 ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ชมวัตถุท้องฟ้าหลากหลายชนิดผ่านกล้องโทรทรรศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้องขนาด 2.4 เมตร ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน, กล้องโทรทรรศน์ขนาด 1 เมตร และกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กอีกหลายตัว

สำหรับวัตถุที่สังเกตได้ในคืนดังกล่าว ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ กระจุกดาวลูกไก่ เนบิวลานายพราน ดาวบีเทลจุส ดาวซีรีอุส เป็นต้น รวมถึงฟังการบรรยายท้องฟ้าและเรียนรู้วิธีการดูดาวเบื้องต้น ท่ามกลางอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส

บุก ‘TNO Open House’ สัมผัส ‘กล้องโทรทรรศน์แห่งอุษาคเนย์’ ดูดาวบนดอยอินทนนท์

ทั้งนี้ กิจกรรมเปิดบ้านหอดูดาวแห่งชาติ มีกำหนดจัด 2 ครั้งต่อปีเท่านั้น ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ในคืนที่ไร้แสงจันทร์รบกวน จำกัดเพียงครั้งละ 120 คน เท่านั้น

โดยในปีนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมครบแล้วทั้งสองรอบ ผู้สนใจโปรดติดตามข่าวสารการรับสมัครรอบปี 2568 ได้ทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

(การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สนับสนุนการเดินทาง)