เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูดาว ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 ธ.ค.นี้

เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูดาว ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 ธ.ค.นี้

เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูปรากฏการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 - รุ่งเช้า 15 ธันวาคม 2566 ใครยังนึกไม่ออกว่าจะไปที่ไหน เตรียมปักหมุดตามนี้ได้เลย

เดินทางมาถึงเดือนสุดท้ายของปี 2566 กันแล้ว NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูปรากฏการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 - รุ่งเช้า 15 ธันวาคม 2566 เริ่มสังเกตได้เวลาประมาณ 20:00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า คาดมีอัตราการตกเฉลี่ยสูงสุดช่วงหลังเที่ยงคืน ประมาณ 120-150 ดวงต่อชั่วโมง ใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะไปที่ไหน เตรียมปักหมุดนอนนับดาวที่ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย รวมกว่า 30 แห่ง ทั่วประเทศดังนี้

สถานที่ท่องเที่ยว จุดสังเกตการณ์ชม ฝนดาวตกเจมินิดส์ ทั้ง 30 แห่ง

  • ภาคเหนือ

เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูดาว ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 ธ.ค.นี้

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูดาว ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 ธ.ค.นี้

  • ภาคกลางและภาคตะวันตก

เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูดาว ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 ธ.ค.นี้

  • ภาคใต้

เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูดาว ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 ธ.ค.นี้

 

 

สถานที่ดูดาว ทั้ง 30 แห่งทั่วประเทศ ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย นับเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมในการสังเกตการณ์ฝนดาวตก เนื่องจากมีความพร้อมในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น มีพื้นที่โล่งที่ไม่มีต้นไม้หรือวัตถุบดบังบริเวณขอบฟ้า มีการบริหารจัดการแสงสว่างที่ดี และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมาะกับการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ

ผู้สนใจสามารถค้นหาจุดสังเกตการณ์ชม ฝนดาวตกเจมินิดส์ ทั้ง 30 แห่ง ได้ที่นี่ (คลิก) และอัปเดตทุกกิจกรรมดูดาวจากพื้นที่ Dark Sky ทั่วประเทศไทย ได้ที่ facebook : Dark Sky (คลิก)

เปิดพิกัด สถานที่ท่องเที่ยว ดูดาว ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 14 ธ.ค.นี้

 

เทคนิค ถ่ายภาพฝนดาวตกแบบฉบับนักดาราศาสตร์

  • ฝนดาวตกเจมินิดส์

ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ จะเกิดในช่วงระหว่างวันที่ 4-20 ธันวาคม ของทุกปี มีศูนย์กลางการกระจายบริเวณกลุ่มดาวคนคู่ ปีนี้นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงหลังเที่ยงคืนวันที่ 14 ถึงรุ่งเช้า 15 ธันวาคม 2566 ประมาณ 120-150 ดวงต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม สามารถรอชมปรากฏการณ์ได้ตั้งแต่ช่วงที่กลุ่มดาวคนคู่ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 20:00 น. เป็นต้นไป ฝนดาวตกจะปรากฏให้เห็นเป็นลำแสงวาบพาดผ่านทั่วท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง ดูได้ด้วยตาเปล่า เป็นคืนที่ไร้แสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การรับชมและตั้งกล้องถ่ายภาพอย่างยิ่ง

  • การถ่ายภาพฝนดาวตก

ในอดีต นักถ่ายภาพดาราศาสตร์ไม่มีกล้องดิจิทัล และไม่มีโปรแกรมช่วยแต่งภาพอัจฉริยะ แต่ก็สามารถถ่ายภาพฝนดาวตกที่สวยงามได้ด้วยวิธีถ่ายภาพแบบเปิดหน้ากล้องทิ้งไว้ ปัจจุบัน เรามีทั้งเทคโนโลยีและโปรแกรมที่ทันสมัย การถ่ายภาพฝนดาวตกจึงทำได้อย่างสะดวกสบายและได้ภาพที่คมชัดมากยิ่งขึ้น โดยเทคนิคสำคัญที่ใช้คือการ Stack ภาพ เป็นการถ่ายภาพหลาย ๆ ภาพแล้วนำภาพเหล่านั้นมารวมกัน

  • อุปกรณ์ถ่ายภาพฝนดาวตก ฉบับนักดาราศาสตร์

1. กล้องดิจิตอลพร้อมสายลั่นชัตเตอร์

2. เลนส์ไวแสง มุมกว้าง- ข้อได้เปรียบของเลนส์ไวแสงคือ ทำให้ถ่ายติดแสงวาบของฝนดาวตกได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องดัน ISO สูงๆ และช่วงเลนส์มุมกว้างก็ยังทำให้เพิ่มโอกาสการได้ภาพฝนดาวตกที่ติดมาในภาพได้มากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น เลนส์คิตธรรมดาก็สามารถนำมาใช้ในการถ่ายภาพได้เช่นกัน

3. ขาตั้งกล้องและอุปกรณ์ตามดาว- อุปกรณ์ตามดาวถือเป็นอุปกรณ์ที่นักดาราศาสตร์จำเป็นต้องมีไว้เพื่อใช้ติดตามวัตถุท้องฟ้า ในการถ่ายภาพฝนดาวตกจะช่วยให้เราสามารถนำภาพฝนดาวตกที่มีศูนย์กลางการกระจายตัวเดียวกัน กลุ่มดาวเดียวกัน มาใช้ในการ Stack ภาพในภายหลังได้นั่นเอง หากเราไม่ถ่ายภาพแบบตามดาว ภาพฝนดาวตกที่ได้แต่ละภาพก็จะเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ตามการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าทำให้ยากแก่การนำภาพมา Stack ในภายหลัง

  • เทคนิคและวิธีถ่ายภาพ

1. ตั้งค่ากล้องก่อนการถ่ายภาพ ดังนี้- เวลาที่ใช้บันทึกภาพ เริ่มตั้งแต่ 30 วินาที หรือมากกว่า-ใช้ค่ารูรับแสงกว้างๆ เช่น f/1.4 f/2.8 เพื่อให้กล้องมีความไวแสงในการเก็บแสงวาบหรือลูกไฟของฝนดาวตก- ใช้ค่าความไวแสง (ISO) ที่สูงๆ เพื่อให้กล้องไวแสงมากที่สุดขณะเกิดดาวตก เช่น ISO 3200 หรือมากกว่า- ตั้งโหมดการถ่ายภาพแบบต่อเนื่อง (Continuous Mode) เพื่อให้กล้องถ่ายภาพต่อเนื่องตลอดช่วงการเกิดฝนดาวตก- ปิดระบบ Long Exposure Noise Reduction เพื่อให้กล้องถ่ายภาพต่อเนื่องไม่เว้นช่วงในการถ่าย Dark Frame- เปลี่ยนโหมด Color space ให้เป็น Adobe RGB เพื่อให้ขอบเขตสีที่มีช่วงสีที่กว้างกว่าแบบ sRGB- ปิดระบบกันสั่น และระบบออโตโฟกัสของเลนส์- โฟกัสที่ระยะอินฟินิตี้ ซึ่งควรเลือกโฟกัสที่ดาวดวงสว่างให้ได้ภาพดาวที่คมชัดที่สุดเล็กที่สุด โดยใช้ระบบ Live View ช่วยในการโฟกัส

2. ตั้งกล้องห่างจากฉากหน้า โดยให้อยู่ห่างตามค่าระยะไฮเปอร์โฟกัส ซึ่งอาจคำนวณได้จากเว็บไซต์ตามลิงก์นี้ www.dofmaster.com  หรือควรห่างไม่น้อยกว่า 3-4 เมตร โดยประมาณ

3. ตั้งกล้องบนขาตามดาว เพราะดาวตกจะพุ่งออกจากบริเวณจุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) ด้วยวิธีนี้จะทำให้เราได้ภาพฝนดาวตกออกมาจากจุดเรเดียนจริงๆ และที่สำคัญคือ เราจะได้ภาพฝนดาวตกมากกว่าการถ่ายภาพบนขาตั้งแบบนิ่งอยู่กับที่ เพราะตำแหน่งจุดศูนย์กลางการกระจาย จะเคลื่อนที่เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ

ทั้งนี้ การตั้งกล้องบนขาแบบตามดาว ถือเป็นเทคนิคสำคัญในการถ่ายภาพฝนดาวตกเพื่อให้ได้ภาพที่มีจำนวนดาวตกติดมากที่สุด และแสดงให้เห็นการกระจายตัวจากศูนย์กลางได้อย่างชัดเจน

4. หันหน้ากล้องไปที่จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) โดยให้จุดดังกล่าวอยู่กลางภาพ

5. ถ่ายแบบต่อเนื่อง อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง โดยใช้ค่าการเปิดหน้ากล้องประมาณ 30 วินาที ต่อ 1 ภาพ หรือมากกว่า

6. ช่วงเที่ยงคืน คือช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะเป็นเวลาที่ชีกโลกที่เราอยู่จะรับดาวตกที่พุ่งเข้ามาแบบตรงๆ

7. อยากได้ดาวตกยาวๆ ต้องหลังเที่ยงคืนไปแล้วหรือในเวลาใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก จึงทำให้เห็นดาวตกวิ่งช้า

8. นำภาพฝนดาวตกมารวมกัน จากหลายร้อยภาพก็เลือกเฉพาะที่ติดดาวตกมารวมกันใน Photoshop หรือ Star Stack ก็จะทำให้เห็นการกระจายตัวของฝนดาวตกได้อย่างชัดเจน

 

 

 

ที่มา NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ