เปิดท็อป 10 'ดาต้าเซ็นเตอร์’ โลก ‘อเมริกาเหนือ’ ใหญ่สุด ‘ปักกิ่ง’ อันดับ2

เปิดท็อป 10 'ดาต้าเซ็นเตอร์’ โลก ‘อเมริกาเหนือ’ ใหญ่สุด ‘ปักกิ่ง’ อันดับ2

เปิดโลเคชั่นท็อปเท็น ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’ โลก ‘อเมริกาเหนือ’ ใหญ่สุดรองรับมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณใช้งานออนไลน์ทั่วโลก ขณะที่ “ปักกิ่ง” คือฮับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสอง

Key Points : 

  • ปริมาณข้อมูลที่สร้างขึ้นในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 
  • มีการประมาณการว่า มีดาต้าเซ็นเตอร์มากกว่า 8,000 แห่งในโลกรองรับข้อมูลที่ไหลเวียนมหาศาลเหล่านี้
  • ‘อเมริกาเหนือ’ ใหญ่สุดรองรับมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณใช้งานออนไลน์ทั่วโลก 'ปักกิ่ง' ครองอันดับ 2 

เปิดโลเคชั่นท็อปเท็น ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’ โลก ‘อเมริกาเหนือ’ ใหญ่สุดรองรับมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณใช้งานออนไลน์ทั่วโลก ขณะที่ “ปักกิ่ง” คือฮับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสอง

เราอาศัยอยู่ในโลกดิจิทัลที่มีข้อมูลมากมายมหาศาล วันนี้ 'ข้อมูล‘ เปรียบได้เป็น ’เงินสกุลใหม่’ และดาต้าเซ็นเตอร์ก็คือห้องนิรภัยที่ปกป้องและขับเคลื่อนข้อมูล

ปริมาณข้อมูลที่สร้างขึ้นในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก ‘2 เซตตะไบต์’ ในปี 2010 เป็น 44 เซตตะไบต์ (44 ล้านล้านกิกะไบต์) ในปี 2020 สิ่งนี้ได้เพิ่มความต้องการในการจัดเก็บข้อมูล และการประมวลผล นำไปสู่การสร้างศูนย์ข้อมูล หรือ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ทั่วโลก

เปิดท็อป 10 \'ดาต้าเซ็นเตอร์’ โลก ‘อเมริกาเหนือ’ ใหญ่สุด ‘ปักกิ่ง’ อันดับ2

 

 

ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ไหน?

ข้อมูลเมื่อปีล่าสุด 2023 จาก Cushman & Wakefield ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งปัจจุบันประมาณการว่า มีดาต้าเซ็นเตอร์มากกว่า 8,000 แห่งในโลก

‘ดาต้าเซ็นเตอร์’ เหล่านี้หลายแห่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์และข้อกำหนดจากรัฐบาลท้องถิ่นและสาธารณูปโภค ขณะที่ดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ ยังต้องการ ‘พลังงาน’ จำนวนมาก อย่างน้อยต้อง 100 เมกกะวัตต์สำหรับแต่ละศูนย์ ทำให้การใช้พลังงานเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการวัดขนาดตลาดของดาต้าเซ็นเตอร์โดยรวม

แม้ ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’ เหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในสหรัฐอเมริกา แต่บางส่วนก็กระจัดกระจายไปทั่วเอเชียและยุโรป

ด้วยดาต้าเซ็นเตอร์ เกือบ 300 แห่ง รวมถึงเซิร์ฟเวอร์ของเอดับบลิวเอส (AWS) จำนวนมาก ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์แถบเวอร์จิเนียตอนเหนือในสหรัฐ จึงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคนี้คาดว่า จะรองรับ “มากกว่าหนึ่งในสามของปริมาณการใช้งานออนไลน์ทั่วโลก” เลยทีเดียว

ปี 2023 ดาต้าเซ็นเตอร์ในแถบ เวอร์จิเนียตอนเหนือ สามารถรองรับกำลังไฟฟ้ารวม 2,552 เมกะวัตต์ นั่นคือ 4 เท่าของกำลังการผลิตของตลาดอเมริกา ถัดไป คือ ดาต้าเซ็นเตอร์ใน ‘ดัลลัส’  654 เมกะวัตต์ และ ‘ซิลิคอนวัลเลย์’  615 เมกะวัตต์

ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ใหญ่อันดับสองอย่าง ‘ปักกิ่ง’ รองรับกำลังไฟได้ 1,799 เมกะวัตต์แม้ปัจจุบันจะเป็นตลาดเดียวที่มีรองรับกำลังไฟได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่ในโตเกียว (865 เมกะวัตต์) ก็ดูเหมือนว่าจะตามทันอย่างรวดเร็ว

กลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปอยู่ใน ‘ลอนดอน’ ใช้กำลังไฟ  1,053 เมกะวัตต์ และแฟรงก์เฟิร์ต 864 เมกะวัตต์ ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการจากองค์กร และองค์กรท้องถิ่นขนาดใหญ่ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่พวกเขาจะเป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับภาครัฐและการพาณิชย์ ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ใกล้กับเมืองหลวง เนื่องจากในอดีต รัฐบาลรวมถึงกองทัพ เป็นกลุ่มแรกที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ต

มองทิศทางอนาคตของข้อมูล

ดาต้าเซ็นเตอร์ จะยังคงเติบโตในส่วนของ “ขนาด” และการขยายไปสู่ตลาดใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

ขณะที่ การนำ ‘ปัญญาประดิษฐ์’ หรือ เอไอ มาใช้ในวงกว้าง ได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ข้อมูลอินเทอร์เน็ตไหลเวียน และด้วยความต้องการด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น “ปริมาณพลังงาน” ที่จำเป็นในการจ่ายพลังงานให้กับดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน

สิ่งนี้ถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่บริษัทและตลาดดาต้าเซ็นเตอร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงพลังงานที่พวกเขาใช้อีกด้วย ความต้องการใช้พลังงานจำนวนมาก ประสิทธิภาพและความยั่งยืนจึงมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น

มองแนวโน้มดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย

แหล่งข่าวในวงการดาต้าเซ็นเตอร์ ระบุว่า อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ไทย รวมถึงบริการคลาวด์ คึกคักมากขึ้น หลังจากยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง อเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส หรือ AWS เข้ามาลงทุนในไทย รวมถึงการเอ็มโอยูระหว่างไทยและไมโครซอฟท์ที่จะเข้ามาตั้งฐานดาต้าเซ็นเตอร์ในไทย

นั่นทำให้ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์เติบโตอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมา ยังไม่นับปัจจัยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่กำลังเพิ่มขึ้น

ขณะที่ สองปีที่ผ่านมานี้ผู้เล่นระดับโลกแห่เข้ามาสร้างดาต้าเซ็นเตอร์จำนวนมากในไทย สอดคล้องในทิศทางเดียวกับแนวโน้มของโลก เดิมทีข้อมูลหรือดาต้าจากต่างประเทศที่วิ่งมาจากทุกทิศทางจะวิ่งไปที่สิงคโปร์ ทำให้ศูนย์ข้อมูลระดับโลกส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตำแหน่งที่ตั้งของไทยถือเป็น จุดยุทธศาสตร์ใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน เป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาอุตสาหกรรมดาต้า เซ็นเตอร์ ทั่วโลกเติบโต 12.4% แต่ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตกว่าเป็นสองเท่าอยู่ที่ 24.6%

แหล่งข่าว ระบุว่า การสร้างศูนย์ข้อมูลแต่ละแห่ง ตามมาด้วยการลงทุนจำนวนมหาศาลตามมา ชนิดที่ว่าเพียงบริษัทเดียวจะเกิดการลงทุนสร้างกว่าหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 500 เมกะวัตต์และตามมาด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่าสองแสนล้านบาทภายใน 3-5 ปีนี้

ทั้งมีการคาดการณ์ว่า ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ของอาเซียนในปี 2567 จะมีมูลค่าสูงถึง 5.4 พันล้านดอลลาร์